Wednesday, September 29, 2010

Kriengsak Chareonwongsak : sukk.araya good attitude from pass it on




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


Good attitude from pass it on
































บ้านไร้สุข กับแบบบ้านที่ทันสมัย




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

บ้านไร้สุข กับแบบบ้านที่ทันสมัย


    หากมีคำโฆษณานี้ติดประกาศไว้จริงๆ หมู่บ้านนี้คงเป็นหมู่บ้านร้างที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่ เพราะคงไม่มีใครอยากเผชิญกับสิ่งที่บรรยายไว้ ในทางตรงกันข้าม ทุกครอบครัวทั้งสามีและภรรยา ต่างก็ต้องการสร้างชีวิตครอบครัวที่มีความสุข มีความรัก ความอบอุ่น มีสัมพันธภาพที่ดี และสามารถครองรักครองเรือนได้ตลอดชีวิต

    ทว่าน่าเศร้ายิ่งนัก เมื่อสำรวจหมู่บ้านครอบครัวจากชีวิตจริงพบว่า บ้านจำนวนไม่น้อย ที่สามีภรรยาได้สร้างขึ้นกลับมีสภาพเหมือนกับที่บรรยายไว้ในคำโฆษณาของหมู่บ้านไร้สุข โดยมีแบบบ้านไร้สุขที่ทันสมัยให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ

    แบบที่ 1 บ้านรังหนู

    หนูมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งก็คือมันชอบคาบอาหารกลับมาไว้ที่รัง เมื่อมันกินก็จะเหลือเศษเล็กๆ น้อยๆ เต็มรังที่แสนจะสกปรกอยู่แล้วก็ยิ่งแลดูสกปรกมากยิ่งขึ้นไปอีก คำเปรียบนี้จึงเหมือนกับบ้าน ที่มีแต่ความสับสน วุ่นวาย รกรุงรัง และยุ่งเหยิง อันเนื่องมาจากสามีและภรรยาเป็นคนขาดระเบียบวินัย ในการดำเนินชีวิตขาดการบริหารจัดการครอบครัวในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก

    เช่น ไม่มีการเก็บของให้เป็นระเบียบ… ใครอยากวางอะไรตรงไหนก็วาง เมื่อหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ก็โวยวาย ไม่มีการวางแผนเวลา…ใครอยากทำอะไรตอนไหนก็ทำ เมื่อพลาดโอกาสที่ดีๆ ไปก็ต่อว่า และโทษกันและกัน และไม่มีการวางแผนบริหารการเงิน…ใครอยากซื้ออะไรก็ซื้อ เมื่อชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็เกิดความเครียด ต้องไปกู้หนี้ยืมสินผู้อื่น ในบ้านหลังนี้ทั้งสามีภรรยาจึงต้องเผชิญแต่ปัญหาเฉพาะหน้า จนทำให้ชีวิตสมรสปราศจากความสุข

    บ้านรังหนูเป็นบ้านที่สามีภรรยาไม่รู้จักวางแผน ไม่มีระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต แต่มักจะชอบใช้ชีวิตตามสบายๆ อยู่ไปวันๆ ไม่ค่อยคิดและเตรียมการสำหรับอนาคต ดังนั้นจึงต้องเผชิญแต่ปัญหาที่ตนเองได้สร้างไว้ และต้องตามแก้ไขกันตลอดทั้งชีวิต มีปัญหาใหม่ๆ ทับโถมเข้ามาตลอดเวลา กลายเป็นบ้านที่มีแต่ความวุ่นวายไม่น่าอยู่อาศัย นำไปสู่ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกันได้ตลอดเวลา

    แบบที่ 2 บ้านหน้าจอ

    บ้านหน้าจอ หมายถึง บ้านที่สมาชิกในครอบครัวขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อันเนื่องจากต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของตน เช่น พ่อนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเตรียมส่งงานให้หัวหน้า แม่นั่งหน้าจอ โต้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีทั่วโลก ลูกนั่งหน้าจอเล่มเกมคอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ล่าสุด ส่วนคุณยายนั่งหน้าจอโทรทัศน์ชมรายการละครชีวิตเรื่องที่คนทั้งประเทศติดกันงอมแงม เป็นต้น คนในครอบครัวใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับสิ่งที่ตนเองพอใจ

    เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันทำให้คนอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บ้านหน้าจอจึงมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในประเทศไทย ทุกคนต่างไม่มีใครสนใจใคร เมื่อกลับถึงบ้านรับประทานอาหาร อาบน้ำเสร็จ ทุกคนก็จะเข้าสู่โลกส่วนตัวของตนเอง คนในครอบครัวก็จะห่างเหินกันเพราะต่างคนต่างก็มีกิจกรรมเป็นของตนเอง คนในครอบครัวจะรู้จักและให้ความสนใจกันและกันน้อยลง ความลับระหว่างกันจะมีมากขึ้น เนื่องจากไม่รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังทำอะไรอยู่ ต่างมีข้อมูลที่สมาชิกคนอื่นในครอบครัวไม่รู้ และไม่สามารถพูดคุยได้ เพราะต่างคนต่างสนใจกันคนละเรื่อง

    และในที่สุดก็จะพบว่าพวกเขาไม่มีความสุขที่แท้จริงในการดำเนินชีวิต ความรู้สึกเปลี่ยวเหงา และขาดความรักจากคนในครอบครัวจะเกิดขึ้นตามมา

    แบบที่ 3 บ้านสนามรบ

    บ้านหลังนี้จำลองมาจากสนามรบจริง เพียงแต่ย่อขนาดและจำนวนคู่ต่อสู้ให้เหลือเพียงบ้านหนึ่งหลัง กับคนสองคน คือสามีและภรรยา บ้านหลังนี้จะอบอวลไปด้วยเสียงทะเลาะวิวาท ด่าทอบ่อยครั้งที่คู่ต่อสู้ ใช้อาวุธทั้งหนักและเบาเข้าโจมตีปะทะกัน ข้าวของหลายอย่างที่ปกติไม่เคยบินได้ก็จะบินว่อนเต็มไปหมด อาทิ มีดบิน ตะหลิวบิน กะทะบิน จานบิน หรือแม้กระทั่งเก้าอี้บิน

    การรบจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งหรือไม่พอใจอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ภรรยาไปทำธุระกลับบ้านดึก สามีรู้สึกหงุดหงิดเพราะไม่ไว้วางใจ เมื่อกลับมาแทนที่จะถามภรรยาดีๆ ว่า ไปไหนมา กลับต่อว่าหรือกล่าวหาอย่างเสียๆ หายๆ แทนที่จะใช้วิธีเจรจากันอย่างสันติ กลับไม่สามารถระงับอารมณ์ของตนเองได้ จึงเกรี้ยวกราดใส่อีกฝ่ายหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นการยั่วยุอีกฝ่าย ให้เกิดความโมโหเช่นกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างโมโหก็เหมือนเอาน้ำมันราดลงบนไฟเมื่อไฟลุกโชติช่วง แล้วก็ยากที่จะดับลงได้ สามีภรรยาหลายคู่จึงจำเป็นต้องขายบ้านทิ้ง เลิกรากันไปอย่างสะบักสะบอม ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

    แบบที่ 4 บ้านหอพัก

    หากใครเคยอยู่หอพักคงเข้าใจสภาพบ้านหลังนี้ดี สามีภรรยาอาศัยอยู่ในบ้าน เหมือนเป็นเพื่อนร่วมห้อง (room mate) เท่านั้น ไม่มีความรู้สึกผูกพันลึกซึ้งไม่มีความห่วงใยเอาใจใส่กัน ใครจะไปไหนจะกลับเมื่อไร กินอยู่อย่างไร ต่างคนก็ต่างรับผิดชอบดูแลตัวเอง รับประทานอาหารคนละเวลา กลับมาอาบน้ำดำเนินกิจวัตรส่วนตัวและต่างฝ่ายต่างก็นอนหลับไป โดยไม่มีความสนใจกัน บางคู่อาจถึงกับเช่าสองห้อง คือแยกห้องนอนกันอยู่

    บ้านหอพักนี้เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายเบื่อกันและกันจนถึงที่สุดหรือไม่มีความรักให้แก่กัน เพราะแต่งงานด้วยความจำเป็น หรือมีปัญหาระหว่างกันมากเสียจนไม่อาจเป็นสามีภรรยา ทางพฤติกรรมได้อีกต่อไป แต่ต้องทนอยู่ด้วยกันเพราะอับอายเกรงว่าสังคมจะล่วงรู้ว่า ชีวิตคู่ของคนนั้นล้มเหลว บ้านหลังนี้สภาพภายนอกจึงได้รับตกแต่งให้ดูดีอยู่เสมอ แต่ไร้แก่นสารของความเป็นครอบครัว

    แบบที่ 5 บ้านเรือนจำ

    เรือนจำกักขังเสรีภาพนักโทษอย่างไร บ้านหลังนี้ก็กักขังเสรีภาพของคู่สมรสฉันนั้น ภายในบ้านสามีหรือภรรยาจะปฏิบัติต่ออีกฝ่ายหนึ่งราวกับเป็นนักโทษ เต็มไปด้วยความรู้สึกหึงหวง ไม่ให้เกียรติ ไม่ไว้วางใจ สามีภรรยาบางคู่จะมีฝ่ายหนึ่งที่โทรศัพท์ไปหาอีกฝ่ายหนึ่งแทบทั้งวัน เพื่อเช็คว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร จนกระทั่งอีกฝ่ายหนึ่งแปรสภาพจากความรักเป็นความรำคาญและความรู้สึกอึดอัด อยากจะมีอิสรภาพออกจากคุกแห่งนี้ไป ในแต่ละวันที่ผ่านไปจึงเก็บกดความรู้สึกเลวร้ายทับถมไว้ เหมือนภูเขาไฟที่ภายในค่อยๆ ระอุและพร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ

    ความรักของคู่สมรสที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานของความไว้วางใจ ความเชื่อใจ และการให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมนำมาซึ่งการรุกเร้าเพื่อแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของ ดังนั้นแทนที่ทั้งสองฝ่ายจะเล่นบทบาทสามีภรรยา อย่างที่ควรจะเป็น คนหนึ่งกลับเล่นบทบาท "พัศดี" ผู้คุมนักโทษ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจึงกลายเป็นนักโทษไปโดยปริยาย ในที่สุดเมื่อนักโทษทนไม่ได้ เขาก็จะดิ้นรนหาทางแหกคุกเพื่อสูดกลิ่นอายแห่งอิสรภาพที่เคยได้รับ เมื่อครั้งก่อนแต่งงาน

    แบบที่ 6 บ้านเดี่ยว

    บ้านเดี่ยวในที่นี้ไม่ได้หมายถึงบ้านที่มีบริเวณ แต่เป็นบ้านที่มีสามีหรือภรรยาอยู่เพียงฝ่ายเดียว เพราะเหตุแยกทางกันเดิน จึงส่งผลให้บ้านที่เคยอยู่กันอย่างพร้อมหน้าเหลือเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกับลูกๆ เท่านั้น สภาพบ้านเดี่ยวนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ดูได้จากอัตราการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันอัตราการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอัตราการหย่าร้าง โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 50 และในบางมลรัฐสูงถึงร้อยละ 60-70 ของจำนวนคู่แต่งงานทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 15.72 ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.8 ในปี 2541 จากจำนวนคู่แต่งงานในปีนั้น

    บ้านเดี่ยวนี้นับวันขายดีขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งจากลักษณะนิสัยที่เข้ากันไม่ได้ ความไม่ซื่อสัตย์ของคู่สมรสการที่ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาตนเองได้ และสามีสำคัญที่อาจจะเกิดมากขึ้นในอนาคตก็คือ ค่านิยมการดำเนินชีวิตคู่ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปความรู้สึกที่ว่าจะอยู่กันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรเริ่มลดลง

    แนวคิดของชาวอเมริกันช่วงอายุ 40-50 ปี ซึ่งแต่งงานตั้งแต่อายุ 20-30 ปี เริ่มตระหนักว่า การมีคู่สมรสเพียงคนเดียวตลอดชีวิตอาจเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พวกเขาเห็นว่าคู่สมรสอาจจะเหมาะ ที่จะอยู่ด้วยกันสัก 20 ปีพอได้ แต่หลังจากนั้นต่างคนก็ต่างเปลี่ยนแปลงไป ทั้งทิศทางการดำเนินชีวิต ค่านิยม ความคาดหวัง ความสนใจในเรื่องแตกต่างกัน ความแตกต่างกันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่เหมาะสม ที่จะอยู่ด้วยกันตลอดชีวิต ค่านิยมเช่นนี้อาจจะไหลบ่ามาถึงประเทศไทยในเร็ววันนี้

    ในปัจจุบันนี้ บ้านแบบต่างๆ ของหมู่บ้านไร้สุข ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าโดยไม่ต้องใช้การโฆษณาเลย แม้แต่น้อย และยิ่งบ้านเหล่านี้ขายดีมากเท่าใด ภาวะครอบครัวล่มสลายก็ยิ่งเกิดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ทางที่ดีกว่านั้นก็คือ สามีภรรยาควรเริ่มต้นช่วยกันสร้าง "บ้านแห่งความสุข" โดยวางแบบแปลนของบ้าน ไว้อย่างดีล่วงหน้าว่าจะสร้างบ้านอย่างไรให้เป็นบ้านที่มีความสุข ความรัก มีความอบอุ่น มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในเส้นทางเดินของชีวิตร่วมกัน จากนั้นจึงช่วยกันลงหลักปักฐานสร้างให้เป็นบ้านที่แข็งแกร่งทนทานและอยู่ได้นานตลอดชีวิต

    ลักษณะบ้านที่มีความสุขนั้นจะวางรากฐานด้วยความรัก ลงเสาหลักด้วยความผูกพัน ก่ออิฐแห่งความไว้วางใจ ติดประตูและหน้าต่างด้วยการให้อภัย ทาสีแห่งความสุภาพอ่อนโยน มุงหลังคาด้วยความซื่อสัตย์และความอดทน ปูทางเท้าด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูล ใส่กลอนประตูแห่งความรับผิดชอบ ใช้เฟอร์นิเจอร์แห่งความสัมพันธ์กลมเกลียว และประดับประดาสิ่งต่างๆ ด้วยใจที่ปรารถนาให้ความรักนั้นยิ่งยืนนาน

    บ้านหลังนี้ที่สร้างขึ้นเป็น "บ้านต้นแบบ" ของ "หมู่บ้านแห่งความสุข" ที่แตกต่างจากหมู่บ้านไร้สุข ตรงที่บ้านหลังนี้สามีภรรยาต้องเป็นผู้ลงแรงปลูกสร้างและระวังรักษาเป็นอย่างดีด้วยตนเอง จะให้คนอื่นสร้างและดูแลรักษาให้ไม่ได้

    ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Tuesday, September 28, 2010

คำพูดเปรียบเสมือน "อาญาสิทธิ์




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)


      คำพูดเปรียบเสมือน "อาญาสิทธิ์" ที่มีอิทธิพลในการ กำหนดชีวิตเรา ความสุขหรือความทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับทุกคำพูดที่เรา กล่าวออกไปและทุกคำพูดที่เรารับเข้ามาในชีวิต

    คำกล่าวข้างต้นเป็นข้อความตอนหนึ่ง ที่ผมเขียนไว้ใน หนังสือ "สุขวาทะ วาทะสร้างสุขในชีวิต" สะท้อนให้เห็นถึง ความสำคัญของคำ

พูดที่ดีและความร้ายแรงของคำพูดที่ไม่ดี ผมสังเกตว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชีวิตครอบครัวในปัจจุบันต้องล่มสลาย หรืออยู่ด้วยกันอย่างไร้ความสุข มาจากการใช้คำพูด "ทุกขวาทะ" ของสามีหรือภรรยา

    เมื่อลองสำรวจคำพูดที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวทั่วๆ ไปของสังคมเรา ผมก็พบว่า "ปาก" หรือคำพูดที่สามีภรรยากล่าวออกมานั้นเป็นเหมือน "ศัตรูร้าย" ที่ลักลอบเข้ามาบั่นทอนสัมพันธภาพ และบางครั้งถึงขนาดทำลายครอบครัวได้สำเร็จไปเป็นจำนวนไม่น้อย

    ครอบครัว…จู้จี้ขี้บ่น

    …เมื่อภรรยากลับจากไปธุระนอกบ้าน เปิดประตูบ้านเข้ามาเห็นบ้านรกมาก ข้าวของวางเกลื่อนพื้นห้องรับแขก ลูกๆ เล่นของเล่นเสร็จก็ไม่เก็บเข้าที่ โต๊ะเก้าอี้กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซ้ำร้าย…สามีสุดที่รักก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมีความสุข ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    ด้วยความอดรนทนไม่ได้ ภรรยาจึงเริ่ม บ่น บ่น บ่น และบ่นมากขึ้น อีกทั้งพยายามจัดแจง และสั่งการสมาชิกภายในบ้านว่าคนนั้นจะต้องทำสิ่งนั้น คนนี้ต้องทำอย่างนี้ แม้ว่าทุกคนจะทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสียงบ่นก็ยังไม่ได้ยุติลงแต่เริ่มลามไปสู่เรื่องใหม่ในทันทีที่สายตาของเธอกวาดไปเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่ไม่อยู่ในร่องในรอย

    สำหรับสามีแล้ว เสียงบ่นของภรรยาเป็นเหมือนเสียงของผึ้งเป็นฝูงๆ ที่บินมารุมตอมดัง "หึ่ง หึ่ง หึ่ง" และทุกครั้งที่ได้ยิน ก็จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเหมือนถูกผึ้งต่อย เขาเองไม่ชอบอยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้เลย และคิดเสมอว่าสักวันจะต้องทนไม่ได้ อาจเกิดการตอบโต้รุนแรงหรือไม่ก็ต่างคนต่างอยู่ไปเสียเลย ในยามว่างเขามักจะหวนคิดถึงภาพภรรยาคนเดิมที่แต่ก่อนไม่จู้จี้ขี้บ่นและอยากให้เธอคนนั้นกลับคืนมา

    ครอบครัว…บั่นทอนกำลังใจ

    …เมื่อสามีคิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ ภรรยาก็พูดอย่างดูถูกดูแคลนว่า
    "ยังไม่เข็ดอีกหรือ ทำธุรกิจทีไรขาดทุนทุกที ยังคิดจะเริ่มต้นใหม่อีก ฉันว่าน่าจะไปสมัครทำงานเป็นลูกจ้างเขาจะดีกว่านะ"

    คำพูดของภรรยาทำให้สามีรู้สึกเสียใจ หมดกำลังใจและสูญเสียความมั่นใจที่จะเริ่มต้น สร้างฐานะใหม่ ดังนั้นแม้ว่าเขาจะยังคงตัดสินใจเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป แต่ก็ทำด้วยความหดหู่ หมดกำลังใจ เพราะเขาต้องทนกับคำเยาะเย้ยของภรรยาแทนคำสนับสนุนและให้กำลังใจ

    คำพูดของภรรยาทำให้สามีตกอยู่ในสภาพเหมือนคนที่ขับรถในความมืด ซึ่งนอกจากไม่รู้ หนทางข้างหน้าจะเป็นเช่นไรแล้ว ยังมีคนที่นั่งข้างๆ คอยพูดกรอกหูตลอดเวลาว่ามีเหวลึกอยู่เบื้องหน้า ขับต่อไปรังแต่จะตกเหวตายเท่านั้น เขาจึงขับไปกลัวไป และในที่สุดก็ต้องจอดไม่กล้าขับไป จนถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

    สามีภรรยานั้นเมื่ออยู่ด้วยกันไปนานวันเข้าย่อมรู้จักนิสัยใจคอกันดีขึ้นสิ่งไม่ดีซึ่งเคยมองข้าม หรือมองไม่เห็นก่อนแต่งงาน กลับค่อยๆ ผุดขึ้นตามวันเวลาที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นเหตุให้เกิดความไม่ชอบ ไม่พอใจ ความรู้สึกไม่ดีเหล่านี้ถูกสะสมพอกพูนจนกลั่นกรองกลายเป็นคำพูดที่มุ่งส่อเสียด ดูถูกดูแคลน และตอกย้ำข้อบกพร่องผิดพลาดของอีกฝ่ายหนึ่งอยู่เสมอ

    คำพูดที่คอยบั่นทอนกำลังใจเหล่านี้นอกจากจะทำให้คนในครอบครัวสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองแล้ว ยังเป็นคำพูดที่ดูถูกศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคน ซึ่งไม่มีใครที่รับฟังแล้วจะสามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีกำลังใจและมีความสุขต่อไป

    ครอบครัว…ถามคำ-ตอบคำ

    …สามีและภรรยาเมื่อกลับมาถึงบ้าน ต่างคนก็ต่างทำภารกิจประจำวันของตนตามหน้าที่ ไม่ได้มีเรื่องขัดเคืองใจกัน เพียงแต่ไม่มีเรื่องอะไรจะคุยกันเท่านั้น เรียกได้ว่าบ้านหลังนี้ "จิ้งจก" คุยเก่งที่สุดในบ้านเพราะสามีภรรยาแทบจะไม่ได้พูดคุยหรือสื่อสารอะไรกันเลย

    สามีภรรยาที่แต่งงานกันไปนานๆ จะพบปัญหาหนึ่งก็คือไม่รู้จะพูดอะไรกันไม่มีเรื่องจะคุยกัน เพราะพบเห็นหน้ากันทุกวัน แต่กิจวัตรประจำวันทั้งในที่ทำงานและที่บ้านต่างคนต่างทำ ไม่เกี่ยวข้องกันและไม่อยากให้เกี่ยวข้องกันด้วย ดังนั้นเรื่องที่จะสนทนากันจึงตื้นเขิน และไม่มีสาระเมื่อพูดคุยเพียงไม่กี่ประโยคก็จบแล้ว ความเงียบจึงเข้าครอบครองเป็นเจ้าของบ้านนี้อยู่เสมอ ในที่สุดก็อาจกลายเป็นความเบื่อหน่ายที่ต้องพบกับความรู้สึกห่างเหิน ซ้ำซากจำเจ ชีวิตครอบครัวไม่ได้นำมาซึ่งความสุขอย่างที่ทั้งสองคนเคยคิด

    ครอบครัว…ต่อว่าด่าทอ

    …เมื่อภรรยารู้ว่าสามีพูดปดหรือทำงานบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สมควรหรือทำบางสิ่งให้ภรรยาโกรธอย่างมาก ภรรยาจึงตรงรี่เข้าไปต่อว่าสามีอย่างเสียๆ หายๆ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงด้วยอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เหมือนข้าศึกเข้าจู่โจมศัตรูอย่างไม่มันตั้งตัว โดยใช้ปากเป็นอาวุธสาดกระสุนชุดใหญ่เข้าใส่อีกฝ่ายหนึ่ง

    กระสุนแห่งคำผรุสวาท คำหยาบคายที่ออกมาจากปากที่ครั้งหนึ่งเคยโปรยดอกไม้หอมให้แก่กัน เป็นกระสุนที่ทำให้ความรักในชีวิตสมรสถูกทำลาย หัวใจตายด้าน และรุกเร้าอารมณ์โกรธที่รุนแรงให้เกิดขึ้น สามีที่เคยนิ่งสงบอาจจะไม่สามารถทนนิ่งเงียบได้อีกต่อไป และยิ่งกระสุนนั้นรุนแรงและหยาบคายมากเท่าไร การตอบโต้จะยุ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น อาจถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันเรียกได้ว่าการต่อว่าด่าทอนี้ เป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงของครอบครัวที่น่ากลัวมากที่สุดอันหนึ่ง

    ตัวอย่างครอบครัวข้างต้นเป็นเพียงบางตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวล่มสลายได้ เพราะคำพูดที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น หากเราต้องการธำรงครอบครัวแห่งความสุขไว้ให้นานๆ จงจำไว้ว่า "อย่าทำลายครอบครัวด้วยปาก

    ผมมีข้อแนะนำง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องคำพูด สำหรับสามีภรรยาที่ปรารถนาครอบครัวที่มีความสุข อาทิ

    คำพูดที่ดีเริ่มต้นจากใจที่ดีที่เต็มด้วยความรัก

    คำพูดที่เรากล่าวออกมาจากปากนั้นสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเรา เราจะสามารถมีคำพูดที่ดี และเสริมสร้างครอบครัวได้ต้องเริ่มจากหัวใจที่มีความรักต่อคนในครอบครัว รักคู่สมรสของเรา รักลูกๆ ของเรา รักสมาชิกภายในบ้านและที่สำคัญก็คือมีความปรารถนาให้ชีวิตครอบครัวมีความสุขและยิ่งยืนนาน ความรักที่เรามีจะช่วยทำให้เราแก้ไขนิสัยของตัวเองได้ง่ายขึ้น เช่น จากคนที่พูดจาโผงผาง ไม่คำนึงถึงจิตใจผู้อื่นความรักก็จะช่วยให้คำนึงถึงจิตใจของผู้ที่เรารัก ทำให้คำพูดนั้นอ่อนหวาน และเสริมสร้างมากกว่าที่จะบั่นทอนกัน

    คำพูดที่กลั่นกรองด้วยเหตุผลและความรัก

    น้ำที่เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองจะบริสุทธิ์กว่าน้ำที่ตักจากแม่น้ำลำคลองฉันใด คำพูดที่กลั่นกรองด้วยเหตุผล และความรักย่อมบริสุทธิ์กว่าคำพูดที่ออกมาโดยไม่ผ่านความคิด แต่หากเป็นคำพูดที่ออกมาจากอารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจที่โกรธและมุ่งร้าย ก็จะเป็นดั่งสายน้ำขุ่นข้นที่ไหลเชี่ยวกรากพัดทำลายสิ่งที่อยู่บนเส้นทางให้จมหรือเสียหายไป

    ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่เราจะพูดสิ่งใด ในขณะที่มีอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจ เรายิ่งต้องพยายามคิดทบทวนให้รอบคอบก่อนจะพูด พิจารณาว่าจริงเท็จเพียงใด ควรกล่าวออกไปหรือไม่ กล่าวออกไปแล้วคนรับจะรู้สึกอย่างไร ควรกล่าวเวลาใดจึงดีที่สุด เมื่อกลั่นกรองแล้วเห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อครอบครัวและคนที่เรารักจึงพูดออกไป

    เราควรเรียนรู้ที่จะควบคุมคำพูด ควบคุมลิ้นของเรา ไม่ให้พูดในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ตามใจปาก โดยปล่อยให้พูดไปตามความปรารถนาของอารมณ์

    ฝึกใช้คำพูดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพครอบครัว

    ในโลกแห่งความเป็นจริงทุกคนชอบและปรารถนาจะได้ยินคำพูดที่สะท้อนว่าผู้พูดคำนึงถึงจิตใจของผู้รับ เช่น คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน คำพูดที่ให้กำลังใจ คำพูดที่แสดงความเข้าใจ คำพูดที่สะท้อนความห่วงใย คำพูดที่มีเหตุผล คำพูดที่ให้อภัย ฯลฯ เพราะจะทำให้คนฟังมีหัวใจแช่มชื่น มีความสุขและมีกำลังใจ เปรียบดั่งต้นไม้ที่ได้รับน้ำบริสุทธิ์จากสายฝนที่ฉ่ำเย็นมาหล่อเลี้ยงรากให้เจริญเติบโต ออกดอกผลงดงาม

    ดังนั้นสามีภรรยาจึงควรที่จะฝึกกล่าวคำพูดเหล่านี้ต่อกันโดยปฏิเสธคำพูดที่เป็น "ทุกขวาทะ" ทุกประเภท เพราะนั่นเปรียบเหมือนน้ำร้อนๆ ที่ราดรดลงมาและไม่มีต้นไม้ใดยืนต้นทนทานอยู่ได้ ในที่สุดต้นไม้นั้นย่อมเหี่ยวเฉาและตายลง

    หากเราต้องการสร้างครอบครัวที่มีความสุขตลอดไป เราต้องควบคุมปากของเรา ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของความไม่มีเหตุผล หรือเป็นอาวุธที่ใช้ประหัตประหารสมาชิกในครอบครัวที่เรารัก แต่เราต้องมีคำพูดทุกครั้งที่พูดนั้นนำมาซึ่งความชื่นใจ กำลังใจและสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว แล้วครอบครัวของเราจะมั่นคงและยั่งยืนได้ด้วยคำพูดของเรานั่นเอง

    kriengsak@kriengsak.com,http://www.ifd.of.th/

Kriengsak Chareonwogsak : inspiration vdo for sukk.araya




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
Inspiration youtube












Sunday, September 26, 2010

Kriengsak Chareonwongsak Sukk.araya : โรคไต




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


รวมบทความ สื่อ ข้อมูลโรคไต



Link
ชมรมเพื่อนโรคไต
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
คำถามโรคไต
มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
siamkidney
ชมรมพยาบาลโรคไต
yourhealthgiude
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

---------------------------------------------------------------
อาหารสำหรับคนโรคไต
แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร กองโภชนาการ

อาหารสำหรับคนเป็นโรคไต ควรเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยด้วยโรคไตนอกเหนือจากการปฏิบัติตัวด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว ก็ควรรู้จักการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ในระยะแรกของผู้ป่วยโรคไตประเภทที่มีการรั่วของไข่ขาวออกมาทางปัสสาวะมากๆ จะมีระดับไข่ขาวในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอเพื่อชดเชยไข่ขาวที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังระยะหลังๆเมื่อมีสารพิษต่างๆคั่งอยู่ในร่างกายมากขึ้น ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีนเพราะการทานอาหารโปรตีนมากๆจะทำให้มีของเสียคั่งค้างมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายพิการระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีความดันโลหิตสูงและยังไม่มีอาการบวม ระยะนี้ผู้ป่วยมักจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละวันเท่าเทียมกับคนปกติ ดังนั้นระยะนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องจำกัดหรือลดน้ำดื่มและเกลือโซเดียมในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่เป็นไตวายในระยะหลังๆ เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นจนไม่สามารถขับน้ำและเกลือโซเดียมได้เท่าคนปกติ ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีปัสสาวะน้อย บวมและความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการดังกล่าวจำเป็นต้องลดน้ำและเกลือโซเดียมลง โดยทั่วไป ควรจำกัดอาหารเค็ม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณปัสสาวะน้อย อยู่ในระยะที่มีอาการบวม มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีความดันโลหิตสูง แต่ในบางรายเป็นโรคไตที่มีการสูญเสียเกลือทางปัสสาวะมากกลับ จำเป็นต้องให้อาหารเค็มหรือให้เกลือทดแทน ในรายที่มีอาการไตวายเรื้อรัง มีปัสสาวะน้อย ควรจำกัดอาหารโปรตีน ไขมัน จำกัดผลไม้ ส่วนอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมีผลดีในขณะที่เป็นไตวาย แต่ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรงอาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้ายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงควรชะลอการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหาร
อาหารจำกัดโซเดียม
ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง เมื่อสั่งให้ "กินอาหารจำกัดโซเดียม" หมายความว่าจะต้องงดอาหารที่มีโซเดียมมาก
อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่
􀂙 อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือ) มาก เช่น เกลือป่น เกลือเม็ด น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อซอสถั่ว ซีอิ๊ว ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแผง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น
􀂙 อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม
􀂙 อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกอดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น
􀂙 อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาติโปแตสเซียมมีใน
อาหารทั่วไปทั้งสัตว์ และพืชต่างจากโซเดียม ซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ (เช่น เนื้อ นม ไข่) อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก คือ
􀂙 พวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ และนม
􀂙 พวกผัก ได้แก่ หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่วดำ และถั่วปากอ้า มีมากเป็นพิเศษ
􀂙 พวกผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้ม และน้ำส้มคั้น แตงโม แตงหอม มะละกอ ลูกท้อ ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เบ็ดเตล็ด กากน้ำตาล ช็อกโกแล็ต มะพร้าวขูด ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องกินอาหารจำกัดโปแตสเซียม จึงต้องจำกัดอาหารทั้งพวกเนื้อสัตว์ พวกผัก และผลไม้ประเภทที่มีโปแตสเซียมสูง ๆ
อาหารจำกัดโปรตีน มีประโยชน์อย่างไร
อาหารจำกัดโปรตีนจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการบางอย่างของโรคไตวายลดลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก เป็นต้น
อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา) เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และถั่ว
คำว่า "จำกัด" ในที่นี้หมายถึง ให้รับประทานแต่น้อย แต่ไม่ได้ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด คือให้รับประทานได้ วันละ 20-25 กรัม นั่นคือ เนื้อสัตว์ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ หรือหมูย่างประมาณ 4 ไม้
การจำกัดปริมาณน้ำ
หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม ตามวิธีการ
คำนวณง่าย ๆ คือ
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต้องการ คือ
- อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน ร่วมกับเสริมกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด หรืออาหารโปรตีนสูง 60-75 กรัมโปรตีนต่อวัน
- พยายามใช้ไข่ขาว และปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
- หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์
- หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และกะทิ
- งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ
- งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด
- งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง
- รับประทานวิตามินบีรวม, ซี และกรดโฟลิก
- รับประทาน อาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงวิตามินเอการรักษาโรคไตนั้นนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตราย

------------------------------------------------------


การป้องกันโรคไต (รศ. นพ. ทวี ศิริวงศ์)

http://www.tnnanurse.org/th/index.php?option=com_content&view=article&id=49:curabitur-convallis&catid=35:demo-category
 ผู้ที่จะเกิดโรคไตวาย แบ่งง่ายๆ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว กลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคนิ่ว เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคซ่อนอยู่แต่ไม่รู้ตัว บางท่านรู้สึกว่าตนมีสุขภาพแข็งแรง ในขณะที่บางท่านกินยาที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้เป็นประจำ

ในกลุ่มแรก ท่านคงต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ เป้าหมายของการรักษาที่แพทย์แจ้งให้ท่านทราบมีความสำคัญอย่างยิ่ง  สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูง จะต้องดูแลตนเองให้ระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวาน ท่านจะต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าอยู่ในระดับ 90-130 มก.%  การดูแลตนเองและใช้ยาให้ได้ผลตามเป้าที่แพทย์และพยาบาลแนะนำจะมีผลช่วยป้องกันการเกิดโรคไตวายได้
ในกลุ่มที่ 2 ท่านที่รู้สึกว่า ตนเองสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล  บางท่านเป็นนักกีฬา  เหล่านี้ไม่ได้รับประกันว่าท่านจะไม่เป็นโรคไต   แม้ท่านจะไม่มีอาการใดๆเลยก็ตาม ท่านก็อาจจะมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็เป็นได้  ทางที่ดีท่านลองพิจารณาคำแนะนำดังต่อไปนี้ ได้แก่
1. วิธีที่ดีที่สุด คือ ท่านควรจะไปรับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรวมการตรวจสุขภาพไตขั้นต้น 3 ประการได้แก่ วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดหาระดับ “ครีอะตินีน”  ผลการตรวจจะบอกได้ขั้นต้นว่าท่านมีโรคไตซ่อนอยู่หรือไม่  ถ้ามีความผิดปกติแม้เล็กน้อยก็ตาม แพทย์ก็จะแนะนำให้ท่านรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อวินิจฉัย
2. สนใจสุขภาพตนเอง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้พอเพียง  ถ้าท่านมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อโรคไต ท่านควรจะหลีกเลี่ยง ซึ่งที่สำคัญๆ ได้แก่ การงดบุหรี่ หลีกเลี่ยงสุรา ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียง เป็นต้น
3. ถ้าร่างกายท่านแสดงสัญญาณอันตรายบอกโรคไตอันใดอันหนึ่ง (ดูตารางที่ 1) ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ซึ่งอาจพบว่า ท่านไม่มีโรคใดๆเลยก็ได้ หรือบางท่านอาจมีความผิดปกติของไตเล็กน้อย การรักษาก็แค่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็เพียงพอ  ซึ่งในกลุ่มหลังนี้ ถ้าทิ้งไว้นานโดยไม่ทำอะไร ก็อาจเกิดโรคไตเรื้อรังได้
สัญญาณอันตรายบอกโรคไต 6 ประการ
  1. • ปัสสาวะขัด
  2. • ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ
  3. • ปัสสาวะบ่อย
  4. • บวมหน้า บวมเท้า
  5. • ปวดหลัง ปวดเอว
  6. • ความดันโลหิตสูง
4. ระวังอย่าให้เกิดท้องเสีย โดยกินเฉพาะอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ถ้าเกิดท้องเสียท่านจะต้องได้รับน้ำทดแทนอย่างพอเพียง   ถ้าท่านมีโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว การที่เกิดท้องเสียจนทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงและเกิดไตวายเฉียบพลันได้ และบ่อยครั้งไตที่วายแล้วไม่ฟื้นกลับอีกเลย  
5. หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเองเป็นประจำ  ปัจจุบัน การแพทย์ยุคใหม่ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง การซื้อยาง่ายๆรักษาตนเอง อาทิ โรคหวัด ปวดหัว ท่านซื้อยากินเองได้ แต่ต้องทราบว่า กิน 1 ชุดแล้วไม่หาย ท่านต้องไปพบแพทย์ เพราะโรคที่ท่านคิดว่าตนเองเป็น อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่แพทย์ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม
นอกจากนี้ บ่อยครั้งที่พบว่า ท่านที่เป็นโรคเรื้อรังบางโรคที่ไม่น่าจะเป็นโรคไต อาทิ โรคผิวหนัง โรคปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน  ท่านที่ซื้อยากินเอง กินยาที่ไม่ทราบสรรพคุณ เชื่อตามคำโฆษณา เมื่อกินเข้าไปมากๆ แล้ว ทำให้เกิดไตอักเสบ จนเป็นไตวายเรื้อรัง  สุดท้ายโรคที่มีอยู่ก็ไม่หาย แถมเกิดโรคไตวายเพิ่ม
6. การกินยาซ้ำซ้อน
มียาหลายอย่างที่แพทย์จ่ายให้ผู้ป่วย ได้แก่ โรคปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ  ยาที่จ่ายอาจมียากลุ่มหนึ่งที่ท่านควรจะรู้จัก ได้แก่ “ยาเอ็นเสด” ซึ่งเป็นยาลดอักเสบฤทธิ์แรงมาก กินแล้วอาการปวดมักจะทุเลาลง แต่การทุเลาจะเป็นเพียงชั่วคราว เพราะไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ หลังหมดฤทธิ์ยา ผู้ป่วยจะกลับมาปวดได้อีก โดยทั่วไป แพทย์จะพยายามแก้ไขต้นเหตุอยู่แล้ว
ท่านที่เป็นผู้ป่วยโรคปวดต่างๆ ท่านควรจะถามแพทย์ว่า ยาที่ท่านได้มี “ยาเอ็นเสด” หรือไม่ และถ้ามีท่านต้องทำตัวอย่างไร  ท่านที่ไปหาแพทย์หลายคลินิก บางครั้งท่านอาจจะได้รับยาแก้ปวดคล้ายๆกันแต่คนละยี่ห้อ และถ้ากินเข้าไปพร้อมกันจะมีผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพไต ซึ่งหลักอันหนึ่งที่แพทย์มักจะต้องเตือนท่าน คือยาเก่าอย่าเก็บไว้ ยกเว้นแต่ได้นำไปให้แพทย์ตรวจดูและบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ท่านต้องทราบว่า คนธรรมดาทั่วไปจะไม่ต้องกินยาเป็นประจำ นอกจากมีโรคที่ต้องรักษา  ดังนั้น การที่ท่านต้องกินยาโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคใด ท่านควรจะถามแพทย์ที่ดูแลท่านว่าท่านเป็นโรคใด และจะต้องกินนานเพียงไร แน่นอน โรคบางโรคอาจต้องกินยาประจำตลอดชีวิต แต่บางโรคพออาการหายแล้วต้องหยุดยา
ปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยบางรายพอกินยาหมด อาการยังไม่หาย กลับนำซองยาเปล่าที่ได้จากแพทย์ไปซื้อกินเอง ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังจากยา ที่น่ากลัวคือ โรคไตจากยานี้เป็นโรคแบบเงียบๆผู้ป่วยเองไม่มีทางทราบได้ว่าเกิดโรคในระยะแรกเริ่มถ้าไม่ได้รับการตรวจ  ผู้ป่วยจะมาหาแพทย์อีกทีก็เกิดโรคไตวายแล้ว  ทั้งที่ผู้ป่วยเดิมเป็นโรคที่รักษาได้ดังเช่นโรคปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน ซึ่งปรับวิธีการทำงานใหม่ก็จะทุเลาไปได้เอง
7. หลีกเลี่ยงยาเสพติดต่างๆ โดยเฉพาะต้องงดการสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและทำให้ไตเสื่อมเร็ว
8. อย่าหลงคำโฆษณา  ในท้องตลาดมีการขายสารอาหารต่างๆมากมายเพื่อบำรุงร่างกาย อาหารเสริมเหล่านี้ ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา ดังนั้น สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ก่อนซื้อ ในส่วนอาหารเสริมเหล่านี้ อย. ได้รับรองแล้วว่าท่านสามารถซื้อกินได้โดยไม่เกิดโทษ แต่ทางที่ดีก่อนท่านจะซื้อ ท่านควรจะอ่านฉลากอาหารที่แนบไว้ด้วยว่า อาหารเสริมมีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังประการใดบ้าง ต้องระวังในผู้ที่โรคบางโรคหรือไม่ อาหารเสริมบางอย่างมีเกลือผสมอยู่มาก ทำให้เกิดโทษได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ พบว่า มีการโฆษณาเกินจริงของอาหารหรือสารบางอย่างว่าสามารถรักษาโรคไตอ่อนแอได้  คำโฆษณาเหล่านี้ ฟังดูน่าสนใจ เชื่อว่าผู้ป่วยที่มีโรคภัยไข้เจ็บอยู่แล้วโดยเฉพาะท่านที่มีโรคที่แพทย์บอกว่ารักษาไม่มีทางหาย  ท่านต้องอยากหายแน่นอน ทุกท่านอยากได้พบกับยาวิเศษ  แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า สารหรืออาหารวิเศษที่ประกาศขายตามหนังสือรายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์นั้น ไม่มีใครรับรองสรรพคุณ ถ้าเป็นยาดีจริง ทำไมไม่มีขายในโรงพยาบาล  และถ้ายาเหล่านี้ดีจริง แพทย์จะต้องรีบจ่ายยาเหล่านี้ให้กับท่าน ทำไมต้องขายทางไปรษณีย์ที่ท่านไม่มีทางรู้จักผู้ขายเลย ท่านต้องส่งเงินหรือโอนเงินไปให้  ผลจากการหลงเชื่อเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคไตวายเรื้อรังมาแล้วนับไม่ถ้วน
โดยสรุป การดูแลไตให้มีสุขภาพดีทำได้ไม่ยาก ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเคล็ดลับสำหรับท่านที่ไม่ต้องการเป็นโรคไตวาย หรืออย่างน้อยถ้าทำได้ ก็จะช่วยยืดอายุไตของท่านออกไปอีกยาวนาน

------------------------------------

โรคไตวาย
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-16-26/1055-2009-01-22-04-12-38
โรคไตวาย คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ ปกติไตจะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ภาวะไตวายก็คือ ภาวะที่ไตจะไม่สามารถขับของเสียรวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะได้ ของเสียเหล่านั้นก็จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือด ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มีสองข้าง ลักษณะเป็นรูปถั่ว ขนาดในผู้ใหญ่ประมาณ 10-13 ซ.ม. ตำแหน่งอยู่ทางด้านหลังตรงบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง ไตจะทำหน้าที่กรองเลือดที่มาเลี้ยงไตและนำของเสียและน้ำส่วนเกิน กรองและขับออกมาเป็นปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยจะรับเลือดจากหัวใจในปริมาณถึงร้อยละ 20 หรือเท่ากับหนึ่งในห้าของเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจแต่ละครั้ง รวมปริมาณเลือดถึงประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1,400 ลิตร และนำมากรองขับออกมาเป็นปัสสาวะประมาณวันละ 1-2 ลิตรเท่านั้น
ภาวะไตวายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น คนไข้มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่ในภาวะช็อกนานๆ หรือคนไข้ที่เสียเลือดมากๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้ ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่มีการทำลายของเนื้อไตอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
สาเหตุ
สาเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคดังกล่าวถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งสองโรคนี้ในระยะยาวจะส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ส่วนภาวะที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคนิ่วในไต หรือการใช้ยาบางชนิดที่มีพิษต่อไต โดยเฉพาะยาแก้ปวดหากซื้อยากินเองเป็นระยะเวลานาน
อาการ
  1. อาการของโรคไตวายเรื้อรังในระยะแรกนั้น ของเสียในเลือดอาจจะไม่อยู่ในระดับที่สูง เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด อาจจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจาะเลือดพบว่าของเสียในเลือดขึ้นสูง บางรายอาจจะมีอาการผิดปกติ เช่น บวมบริเวณใบหน้า บริเวณหน้าตาหรือบริเวณขา ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ลุกมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน เมื่ออาการไตวายเรื้อรังเป็นมากขึ้นจะทำให้มีอาการที่เด่นชัดเจนขึ้น
  2. เมื่อเกิดภาวะไตวาย การทำงานของไตจะลดน้อยลง จนเกิดมีการคั่งของของเสียประเภทยูเรียไนโตรเจน และของเสียอื่นๆ เกิดขึ้น เราจะรู้ได้ด้วยการวัดค่าของเสียเหล่านี้คือค่า บียูเอ็นและค่าครีอะตีนีน ค่า BUN ปกติ มีค่าประมาณ 12-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนค่า Cr มีค่าประมาณ 0.6-1.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าทั้งสองตัวมีค่าสูงกว่านี้โดยไม่ใช่เกิดจากยาหรือภาวะบางอย่าง โดยทั่วไปจะถือว่า มีภาวะไตวายเกิดขึ้น
    ไตวายอาจจะเป็นแบบที่มีปัสสาวะมาก คือมากกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน หรือแบบมีปัสสาวะน้อย คือน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวันก็ได้
  3. ถ้ามีปัสสาวะน้อย ผู้ป่วยมักจะบวมเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ จากการมีสารน้ำคั่งจนหัวใจวาย แต่ถ้าเป็นไตวายแบบมีปัสสาวะมากผู้ป่วยจะไม่เหนื่อยหอบเร็วนัก อาจจะไม่มีอาการจนกระทั่งค่า BUN ในเลือดถึงประมาณ 80-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเกิดภาวะของเสียคั่งที่เรียกว่า ยูรีเมีย ซึ่งมักจะมีอาการ สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผิวแห้ง อาจมีหัวใจวายหรือเจ็บหน้าอก จากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และถ้าไม่รักษาจะซึม ชักหมดสติและเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะประวัติอาการการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของไต การวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ไตวายจะช่วยในการวางแผนการรักษาระยะยาวได้เป็นอย่างดี
การรักษา
ถ้าผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้วการตรวจพบในระยะแรกและให้การรักษาอย่างถูกต้องนั้น จะทำให้สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ข้อควรปฏิบัติคือ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดที่พบบ่อยๆ คือ คนไข้มักจะซื้อยารับประทานเอง หรือไปรักษาด้วยยาจีน ยาสมุนไพร ซึ่งปัจจัยอย่างนี้ ยาบางชนิดพบว่าส่วนผสมบางอย่างทำให้ไตนั้นเสื่อมสมรรถภาพอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการพบแพทย์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลโรคไตวายเรื้อรังโรคไตวายเรื้อรังจะทำให้เนื้อไตนั้นเสื่อมไปแล้วแต่ก็ไม่ได้เป็นทั้งหมดจะยังมีบางส่วนที่ทำหน้าที่อยู่ได้ การรักษาโรคไตวายเรื้อรังซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ไตที่เสื่อมสภาพไปอย่างเรื้อรังและถาวรแล้วก็จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีก การรักษาต่างๆล้วนแต่เป็นการนำเอาของเสียในเลือดออกนอกร่างกายเพื่อให้อาการของ
ผู้ป่วยดีขึ้น
การรักษาในระยะแรก
ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา จุดประสงค์ด้วยการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การรักษาให้เนื้อไตที่เสียไปแล้วกลับสภาพทำงานได้ แต่เพื่อรักษาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ไตนั้นเสื่อมสภาพลง เช่น ควบคุมความดันโลหิต ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าคนไข้มีความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ จะสามารถชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว การให้ยาอื่นๆ นั้นต้องดูความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เพราะฉะนั้นควรจะติดตามการรักษากับแพทย์และไม่ซื้อยารับประทานเองหรือเอายาของคนอื่นมารับประทาน อาหารที่ควรจะหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็ม อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง ซึ่งจะทำให้ของเสียในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว
การล้างไต
เป็นการขจัดของเสียในเลือดออก โดยใช้น้ำยาใส่ลงไปในช่องท้อง หลักการก็คือ จะใส่น้ำยาล้างไตลงไปในช่องท้องของผู้ป่วย และของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย บริเวณเยื่อบุช่องท้องออกมาในน้ำยา แล้วจะเปลี่ยนน้ำยาที่มีของเสียนั้นออกและใส่ถุงใหม่กลับเข้าไป วันหนึ่งก็จะทำ 3- 4 ครั้ง ของเสียก็จะสามารถขจัดออกไปได้ การรักษาด้วยวิธีนี้ คนไข้อาจไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล ในช่วงแรกที่ทำใหม่ๆ อาจจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลหรือแพทย์ว่าจะสามารถปฏิบัติเองได้ หรือผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็จะเป็นญาติที่คอยเปลี่ยนน้ำยาให้ ที่สำคัญวิธีนี้จะต้องใช้ความสะอาดมาก เพราะถ้ามีเชื้อโรค หรือล้างมือไม่สะอาดก็จะมีการติดเชื้อในช่องท้องได้ อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตการล้างไตโดยวิธีฟอกล้างของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีที่แพทย์สามารถฝึกให้ผู้ป่วยทำเองที่บ้านได้ นับว่าสะดวก แต่ต้องทำการเปลี่ยนถุงน้ำยาวันละ 3-4 ครั้งทุกๆวันตลอดไป และแพทย์จะนัดมาเปลี่ยนสายน้ำยาที่ใช้ฟอกล้างของเสียทุกหนึ่งเดือน ผู้ป่วยสามารถทำงานและปฏิบัติภารกิจได้เหมือนคนปกติ
การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม
การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เป็นการนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผ่านเข้าเครื่องไตเทียม แล้วให้เครื่องทำการฟอกเลือดเหมือนกับไตที่ทำหน้าที่ตามปกติ เมื่อเครื่องไตเทียมทำหน้าที่ฟอกเลือดแล้ว จึงนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยในระบบที่ปราศจากการปนเปื้อน เครื่องไตเทียมจะใช้ตัวกรองช่วยทำให้เลือดสะอาด อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่ ระหว่างเลือดกับน้ำยาฟอกเลือด ในขณะที่เลือดไหลผ่านตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ เหมือนหลอดเลือดฝอยที่มีรูขนาดเล็กมากๆ อยู่ที่ผนังของหลอด และมีน้ำยาฟอกเลือดไหลผ่านอยู่ด้านนอกเลือด ของเสียที่มีระดับสูงในเลือดจะเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรองเข้าไปอยู่ในน้ำยาฟอกเลือด ทำให้ระดับของเสียในเลือดลดลงส่วนน้ำและเกลือแร่จะมีการเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรอง ทำให้ระดับของเกลือแร่และดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นปกติ การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ต้องมาฟอกที่โรงพยาบาล การฟอกเลือดจะต้องมาฟอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 4-5 ชั่วโมง อาการอันเกิดจากการคั่งของเกลือ และของน้ำ ได้แก่ อาการบวม หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ภายใน 1 - 2 วัน ความดันโลหิตที่สูงอยู่ก่อนจะลดลงและควบคุมได้ดีขึ้น หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว อาการจะดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 1 - 3 วัน อาการหอบเหนื่อย อันเกิดจากเลือดเป็นกรด จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 - 3 วัน ส่วนอาการอันเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มึนงง สับสน ไม่รู้สติ กระตุก หรือชัก รวมทั้งอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้
อาเจียนเบื่ออาหารจะดีขึ้นภายใน 2 - 4 วันการผ่าตัดเปลี่ยนไต ปัจจุบันการรักษาโดยการเปลี่ยนไต ทางการแพทย์เรียกว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็เป็นการรักษาโดยการนำไตของผู้ป่วยอื่นมาใช้ ลักษณะของไตที่บริจาคโดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากสมองตาย หรือจะเป็นไตจากผู้มีชีวิตอยู่ เช่น ญาติ พี่น้อง พ่อแม่ แพทย์จะนำไตหนึ่งข้างของผู้บริจาคมาใส่ในผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย การผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ปัจจุบันการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสามารถกระทำได้ง่ายขึ้น ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยวิธีนี้ต้องมาขอคำปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางโรคไตก่อนว่า
เหมาะสมหรือไม่ที่จะผ่าตัดหลักการสำคัญที่สุดคือไตของแต่ละบุคคลจะมีเนื้อเยื่อที่ต่างกันเสมอ ไตที่ได้รับจากการปลูกถ่ายร่างกายผู้รับจะถือว่าเป็นเนื้อเยื่อที่แปลกปลอมเข้ามา ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานหลายชนิดไปกำจัดทำให้เนื้อเยื่อใหม่นั้นถูกทำลายด้วยภูมิต้านทาน เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ปัจจุบันมีการค้นพบวิธีการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อที่จะให้เข้ากันได้มากที่สุด ภูมิต้านทานในการทำลายไตก็จะเกิดได้น้อยลงและผู้รับไตยังต้องทานยากดภูมิต้านทาน ไม่ให้มีภูมิต้านทานไปกำจัดไตและเมื่อเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ซึ่งอาจจะเกิดได้เป็นครั้งคราว ก็ต้องมียาที่ดีพอที่จะรักษา การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตจะทำหน้าที่ทดแทนไตวายได้ดีที่สุด ผู้ป่วยจะรู้สึกแข็งแรงสดชื่นเหมือนคนปกติซึ่งจะดีกว่าการล้างไต แต่ก็ต้องมีการทานยากดภูมิต้านทาน ตลอดชีวิตทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้มากกว่าและต้องมีการตรวจวัดระดับยาเป็นระยะๆนอกจากนี้ยังต้องมีไตที่จะรับบริจาคจากญาติพี่น้องหรือต้องรอจากผู้ป่วยสมองตาย ไปไตที่จะนำมาจาก ผู้ป่วยสมองตายผู้ป่วยนั้นต้องไม่มีเชื้อโรคที่ร้ายแรงเช่น เอดส์ ตับอักเสบไวรัสบี เป็นมะเร็งแพร่กระจาย ไม่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและสมรรถภาพของไตต้องยังดีพอสมควร ในกรณีที่จะรับบริจาคจากญาติญาติต้องได้รับการตรวจว่าแข็งแรงและจะปลอดภัยแน่นอน แม้จะมีไตเหลือเพียงข้างเดียวและต้องได้รับการประเมินทางจิตใจด้วยว่าเต็มใจจริง และจะไม่มีอาการทางจิตใจแม้จะให้ไตไปแล้ว
การป้องกัน
วิธีป้องกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไตโดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้น ควรจะสังเกตตนเองว่าจะเริ่มเป็นโรคไตหรือไม่ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่เริ่มจะเป็นโรคไต เช่น ท่านมีอาการปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะบ่อย หรือมีเศษกรวดหรือทรายปนออกมา ก็อาจจะพบว่ามีนิ่วอยู่ในไต มีอาการบวมผิดปกติ ตื่นขึ้นมามีอาการบวมบริเวณหน้าตาหรือมีอาการปวดหลัง ถ้าหากไม่แน่ใจ ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคไตที่เป็นในระยะแรกนั้นเรื้อรังจนเกิดโรคไตวายเรื้อรังที่สำคัญอีกเรื่องคือ หลีกเลี่ยงการใช้ยา ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อไต การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดติดต่อกันนานๆ อาจจะทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่า 2 โรคนี้ พบบ่อยว่าในระยะยาว ถ้าท่านรักษาโรคเบาหวานหรือโรความดันโลหิตสูงไม่ถูกต้อง ซื้อยารับประทานเอง หรือไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์นั้น จะมีผลแทรกซ้อน ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
การดูแลตนเองที่ดีจะช่วยให้ไตเสื่อมสมรรถภาพได้ช้าลงการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตาม
คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เป็นหัวใจสำคัญ ส่วนเรื่องของอาหารเค็ม จะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน เช่น
คนไข้บางคนอาจจะรับประทานเค็มได้ คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง มีอาการบวมก็จะต้องงดอาหารเค็ม ถ้าท่านพบว่าเป็นโรคบางชนิดที่มีโอกาสไตวายเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตลงได้ การรับประทานอาหารโปรตีนที่น้อยลง การไม่ซื้อยารับประทานเอง จะช่วยให้ไตเสื่อมสภาพได้ช้าที่สุด นอกจากนี้ ควรตรวจเช็คดูว่า เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคเกาต์ หรือไม่ ถ้าเป็นต้องรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และเมื่อเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต จะต้องทำการรักษาให้หายขาด เมื่อป่วยเป็นโรคติดเชื้อ งูกัด หรือท้องเดิน
ต้องรีบรักษา อย่าปล่อยจนเกิดภาวะช็อก ซึ่งมีผลทำให้ไตวายตามมาได้

----------------------------
ไตวาย สาเหตุ และการรักษา

นายแพทย์ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย
Diplomate American Board of
Internal Medicine and Nephrology
แผนกอายุรกรรม

โรคไตวาย เกิดจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ไม่สามารถขับน้ำ และของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเลือดเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึม คลื่นไส้ และเสียชีวิตในที่สุดได้
โรคไตวายมี 2 แบบ แบบเฉียบพลัน ซึ่งไตวายชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมา ทำหน้าที่ได้อีก หายเป็นปกติได้ และแบบเรื้อรัง ซึ่งการทำงานของไตเสียอย่างถาวร ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกแล้ว
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง มีหลายอย่าง บางอย่างสามารถรักษา และป้องกันการเสื่อมหรือชลอการเสื่อมของไตได้ ซึ่งถ้าไม่รีบรักษาต้นเหตุเหล่านี้ หน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลงจนกระทั่งเป็นไตวายระยะสุดท้าย
โรคไตวายเรื้อรัง ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะ ยูเรเมีย ( Uremia ) เหมือนกัน ทำให้มีอาการ ซีด บวม อ่อนเพลีย ซึมลงจนหมดสติและชักได้ ร่างกายจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าไตไม่ทำงานขับถ่ายของเสีย แต่ผู้ป่วยยังไม่สิ้นหวัง ด้วยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยไตวายให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพพอสมควร
โรคไตวายเรื้อรังเกิดจากอะไร ?
โรคไตวายเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว แต่เป็นภาวะที่ เกิดจากโรคหลายอย่าง สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน ที่เป็นมานานเกิน 15 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงนาน ๆ โรคไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในคนไทย
โรคไตวายเรื้อรังรักษาให้หายได้ไหม ?
เมื่อไตเสื่อมหน้าที่อย่างเรื้อรัง การทำงานของไตจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งไตฝ่อ ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่เราสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ โดยการลดอาหารประเภทโปรตีน และควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในภาวะปกติ
โรคไตวายเรื้อรังสามารถป้องกันได้ไหม ?
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังหลายอย่าง สามารถป้องกันได้ เช่น การควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ดี สามารถลดอุบัติการของโรคไตวายเรื้อรังได้ โรคไตอักเสบหลายชนิดสามารถรักษา และสงวนการทำงานของไตได้ ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆเนื่องจากโรคไตวายเรื้อรังรักษาไม่หายแต่อาจป้องกันได้ การตรวจพบโรคไตและรักษาตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญมากในการป้องกันไตวาย เป็นที่น่าเสียใจว่าผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษาจนทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต ?
โรคไตบางอย่าง อาจแสดงอาการ เช่น บวม ปัสสาวะเป็นเลือด แต่โรคไต อักเสบหลายอย่างไม่แสดงอาการเลยจนกระทั่งการทำงานของไตเสื่อมมากแล้ว ถ้าไม่ตรวจปัสสาวะ เลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นโรคไต เพราะฉะนั้นการตรวจร่างกายประจำปี จึงมีความสำคัญมากในการตรวจหาโรคไตที่ไม่แสดงอาการ
อาการปวดหลังเป็นอาการของโรคไต หรือไม่ ?
อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อและกระดูก , โรคไตส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการปวดหลัง นอกจากเป็นนิ่ว และกรวยไตอักเสบ
การรับประทานอาหารเค็ม เป็นสาเหตุของโรคไตหรือไม่ ?
อาหารเค็มไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคไต แต่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ ควรลดอาหารเค็ม เพราะร่างกายไม่สามารถขับเกลือ ออกจากร่างกายได้ตามปกติ ทำให้บวมและความดันโลหิตสูง
เมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว จะทำอย่างไร ?
ประการแรก ผู้ป่วยควรจำกัดอาหารบางอย่าง เช่น อาหารเค็ม ผลไม้และอาหารที่มีโปรตีนสูง ถ้าความดันโลหิตสูงต้องควบคุมให้ดี ยาจะช่วยลดอาการได้บ้าง แต่ไม่มียาอะไรที่จะขับของเสียออกจากร่างกายได้ วิธีที่จะขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายได้ คือ การล้างไต ( Dialysis )
จะรักษาโรคไตวายเรื้อรังได้อย่างไร ?
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไตจากคนที่บริจาคไตให้ แต่การปลูกเปลี่ยนไตมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ มีผู้บริจาคไตน้อย มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนับร้อยนับพันคนรอการบริจาคไตอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ระหว่างที่รอการปลูกไต
การล้างไตมีกี่วิธี ? วิธีไหนดีที่สุด ?
การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี
1.                  วิธีการล้างไตทางหน้าท้อง ( CAPD : Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ) วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 - 5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียที่อุบัติการการติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนาน ๆ และมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน อาจเกิดภาวะขาดอาหารถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ
2.                  การฟอกเลือด ( Hemodialysis ) โดยการดูดเลือดจากผู้ป่วยไปล้างเอาน้ำ และของเสียออกโดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด) เลือดที่ล้างแล้วจะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดีควรฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง
จะเลือกวิธีไหนดีขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และความพอใจของผู้ป่วย แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบทั้งข้อดี และข้อเสียของทั้ง 2 วิธี และแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้ แต่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง ว่าจะล้างไตหรือไม่ แล้วเลือกล้างไตวิธีใด
แผนกไตเทียม โรงพยาบาลรามคำแหง เปิดบริการมาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว ให้บริการล้างไต ทั้งแบบฟอกเลือด และล้างทางหน้าท้อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต และทีมพยาบาลประจำแผนกไตเทียม ติดต่อสอบถามได้ ทุกวันจันทร์ - เสาร์ เวลา 08.00 - 16.00 น. โทร.02-374-9999 , 7320478 - 87 ต่อ 1303 , 1311

-----------------------------------------------

โรคไต การป้องกันและการรักษา

ศจ.พญ.ลีนา    องอาจยุทธ    สาขาวิชาวักกะวิทยา   
ภาควิชาอายุรศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=147
ไต    

ไตมี 2 ข้าง   อยู่บริเวณด้านหลัง  ใต้ชายโครง  บริเวณบั้นเอว    มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง    ยาวประมาณ 12เซนติเมตร
ไต   -  ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron )
        -  หน่วยไตจะลดจำนวน  และเสื่อมสภาพตามอายุไข


ไตทำหน้าที่อะไร ?

            1   กำจัดของเสีย
            2   ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
            3   รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
            4   รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
            5   รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
            6   ควบคุมความดันโลหิต
            7   สร้างฮอร์โมน


             1   กำจัดของเสีย  ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน
                  -   เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร   จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้   และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด   ผ่านมายังไต   และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
                  -   ขับยา   และสารแปลกปลอมอื่น ๆ
             2   ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
                  -    สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต
                        เช่น  น้ำ  ฟอสเฟด   โปรตีน
             3   รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
                  -    ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย   ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
                  -    ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ  ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย   ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
             4     รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
                  -   ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ   แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
                  -   แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ   ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
             5   รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
                  -   ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
                  -    ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ   จะไม่มีกรดคั่ง
                  -   ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ   ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด  
          
            6   ควบคุมความดันโลหิต
                  -    ความดันโลหิตสูง   เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ  และเกลือ  รวมถึงสารบางชนิด
                  -    ผู้ป่วยโรคไต  จึงมักมีความดันโลหิตสูง   เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
                  -    ถ้าความดันโลหิตสูงมาก   ทำให้หัวใจทำงานหนัก  หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ  หรือ
                       แตก  เป็นอัมพฤกษ์  และอัมพาตได้
            7   สร้างฮอร์โมน
                 -   ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
                 -    ถ้าเป็นโรคไต   การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป


ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจากไต

                 -    ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน ( erythropoietin)
                       ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง   ดังนั้นผู้ป่วยจะมี   อาการซีด   อ่อนเพลีย  ไม่มีแรง    หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน   หน้ามืด   เหนื่อย   ใจสั่น   เป็นลมบ่อย
                 -    วิตามินดีชนิด  calcitriol  ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซี่ยม   ซึ่งการที่วิตามีนดี  และแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ   ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ   เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย  โดยเฉพาะกระดูก   ทำให้ไม่แข็งแรง


ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ   
          ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
                   1.  อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป   ไต จะเริ่มเสื่อม
                   2.  ความดันโลหิตสูง
                   3.  โรคหัวใจ   เช่น  หลอดเลือดหัวใจตีบ
                   4.  โรคหลอดเลือดสมอง
                   5.  โรคเบาหวาน
                   6.  โรคเก๊าท์
                   7.  โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ
                         เช่น   โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก   ไตอักเสบ เอส-แอล –อี
                                   โรคไตเป็นถุงน้ำ  นิ่ว  เนื้องอก  หลอดเลือดฝอยอักเสบ
                   8.   มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
                   9.   โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
                  10.   ใช้ยาแก้ปวด   หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต
                  
                   -   อาการแสดง
                   -   การสืบค้น


อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต

                    1.   หนังตา   ใบหน้า   เท้า   ขา  และลำตัวบวม
                    2.   ปัสสาวะผิดปกติ
                          เช่น   ขุ่น  เป็นฟอง  เป็นเลือด  สีชาแก่  / น้ำล้างเนื้อ
                    3.   การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
                          เช่น   บ่อย  แสบ ขัด  ปริมาณน้อย
                    4.   ปวดหลัง   คลำได้ก้อน บริเวณไต
                    5.   ความดันโลหิตสูง
                    6.   ซีด  อ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  ไม่มีแรง  ไม่กระฉับกระเฉง
                    7.   ท้องอืด   ท้องเฟ้อ   คลื่นไส้   อาเจียน
                    8.   เบื่ออาหาร   การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
                    9.   ปวดศีรษะ   นอนหลับไม่สนิท


อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม

                 ไตเริ่มเสื่อม
                              -   อาการบวม
                              -   ซีด
                              -   อ่อนเพลีย
                              -   เหนื่อยง่าย
                              -   ความดันโลหิตสูง


                     ไตวายเรื้อรัง
                              -   ซีดมากขึ้น
                              -    เบื่ออาหาร
                              -    คันตามตัว


อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม

                     1.   อาการบวมที่หน้า และหนังตา
                     2.   อาการบวมที่ขา
                     3.   อาการบวมที่เท้า
                     4.   ปัสสาวะเป็นเลือด



โรคไตวาย

ไตวายเฉียบพลัน

               ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว   ภายในเวลาเป็นวัน  หรือสับดาห์     มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง    อัตราการเสียชีวิตสูง   ถ้าพ้นอันตราย  ไตมักจะเป็นปกติได้

โรคไตวายเรื้อรัง

            เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร   ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง     แม้อาการจะสงบ  แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม     และ
เข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด


สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง

                 ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  มีสาเหตุจาก
                 1.   อันดับหนึ่ง   โรคเบาหวาน
                 2.   อันดับสอง   ความดันโลหิตสูง  และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ  เช่น  โรค เอส- แอล – อี
                3.   สาเหตุอื่น ๆ  ได้แก่
                               -   โรคนิ่วในไต
                               -  โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ
                               -   โรคเก๊าส์
                               -   โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
                               -   โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์


             สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้   มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน


โรคไตจากเบาหวาน

                 -   ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี   จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ
                 -   โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง  และหนา    ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
                 -   ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี   ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ
                 -   โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี  ขึ้นไป
                 -   ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน  ขา  ใบหน้า  และลำตัว    เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต
                 -   การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน    คือความดันโลหิตสูง   ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
                 -   เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง  จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต    โดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN )     และคริเอตินิน  ( Creatinine )   จะสูงกว่าคนปกติ



ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน


                 1.  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
                 2.  อาการบวม
                 3.  ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
                 4.  ไตวายฉับพลัน
                 5.   ไตวายเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน 

 โรคไตพบประมาณ  30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต   ได้แก่
        -   เพศชาย
        -   พันธุกรรม
        -   ระดับน้ำตาลสูง
        -   ความดันโลหิตสูง
        -   โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
        -   การสูบบุหรี่


ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน


        -   มีอาการซีด
         -  บวม
        -   ความดันโลหิตสูง
        -   อาการคันตามตัว
        -   เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด
       -  ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย  คลื่นใส้  อาเจียน

 


อย่างไรก็ดี   การเกิดโรคไตจากเบาหวาน     มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นซึ่งก็คือ   ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน  ได้แก่
       -   อาการชาตามปลายมือ – เท้า
       -   เจ็บหน้าอก
       -   ตามัว
       -   แขนขาอ่อนแรง
       -   แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า


การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อป้องกันโรคไต

 1.   ตรวดปัสสาวะ  เพื่อหาโปรตีนทุกปี
 2.   ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ  หรือใกล้เคียงปกติ    เท่าที่สามารถทำได้
 3.   รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
 4.   หลีกเลี่ยงการใช้ยา  หรือ  สารที่เป็นอันตรายต่อไต    เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด   สารทึบรังสี
 5.   สำรวจ และให้การรักษาโรค  หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ   เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ


การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  และเป็นโรคไต
 1.   ตรวดปัสสาวะ และ เลือด   เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะ ๆ
 2.   กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน  และพบแพทย์ตามนัด
 3.   งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์    ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
 4.   ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ    ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
 5.   เมื่อมีอาการบวม   ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
 6.   ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ  หรือ  ใกล้เคียงมากที่สุด     กินยาสม่ำเสมอ  ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
 7.   ระวังอาหารที่มี  โคเลสเตอรอลสูง
 8.   รับประทานผัก  และปลามากขึ้น
 9.   ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย   เช่น ตา หัวใจ ปอด
10.  สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด   ไม่มีแผลเรื้อรัง
11.  ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม     ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
12.  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด


ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
 1.   อาหารโคเลสเตอรอลสูง
        -   อาหารทะเล
        -   เนื้อ – หมู ติดมัน
        -   กุ้ง
        -   หอย
        -   ทุเรียน
        -   เนย
 2.   อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
        -   อาหารจำพวกแป้ง
        -   ของหวาน
        -    ผลไม้รสหวาน
        -   เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
โรคไต