Saturday, March 12, 2011

บริหารสุขภาพจิต




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 การส่งเสริมให้คนในสังคม “บริหารสุขภาพจิต” .ในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับ การบริหารสุขภาพกาย หรือการออกกำลังกาย นับเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐควรให้ความสนใจ และหาแนวทางรูปธรรมในการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้กับประชาชน ให้สามารถเอาชนะวิกฤตต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้

     ในรายการ “คิดต่างกับ ดร.แดน แคนดู” ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 102 ผมได้เสนอแนะไว้ว่า  ภาครัฐควรมีแนวทางพัฒนาให้คนในสังคม เห็นคุณค่าตนเอง ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ไม่ว่าจะเผชิญปัญหาเช่นไร โดยควรส่งเสริมในเรื่องต่อไปนี้

     ส่งเสริมให้คนแสดงความสามารถ รัฐควรส่งเสริมการเปิดพื้นที่ให้คนได้แสดงออกในความสามารถด้านต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายและครอบคลุม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอายุ และทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อให้คนในสังคมเห็นคุณค่าในความสามารถของตน

     ส่งเสริมการรวมกลุ่ม อาทิ ส่งเสริมกิจกรรมชุมชน กิจกรรมหมู่บ้าน ทั้งหมู่บ้านตามภูมิภาค และหมู่บ้านจัดสรร การให้คนรวมกลุ่มกันจะช่วยให้ทุกคนมีเพื่อนช่วยแบ่งปันความทุกข์ ความสุข และมีโอกาสใช้เวลาได้อย่างเกิดประโยชน์ร่วมกัน

     ส่งเสริมให้ทำความดีเพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม ที่สำคัญ ควรส่งเสริมให้คนในสังคมได้มีส่วนในการทำความดีเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมรอบข้าง เพราะเป็นความจริงที่ว่า การทำความดี แม้เพียงเล็กน้อย เช่น การช่วยพยุงผู้สูงอายุข้ามถนน สามารถทำให้เรามีความสุขได้ เป็นต้น การที่คนมีโอกาสทำดีมากขึ้น จะช่วยให้เขาเห็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มีความหมาย อันเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดความเครียดของคนในสังคมจากภาระประจำวันได้

     ข้อเสนอเหล่านี้ แม้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาภาวะความเครียด แต่หากเราร่วมกันทำอย่างจริงจัง ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหา เช่น การส่งเสริมให้มีศูนย์ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ อย่างทั่วถึง การส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เป็นต้น โอกาสที่ปัญหาสุขภาพจิตจะกลายเป็นปัญหาหลักของสังคมในอนาคต ย่อมลดน้อยลงได้

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Thursday, March 10, 2011

ความเครียด แรงผลัก




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์  กล่าวว่า เหตุการณ์หนึ่งที่มักเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเร่งผลักดันให้ประเทศเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นคือ “ความเครียด” ที่เพิ่มขึ้นของคนในประเทศ และส่งผลให้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนของสถิติ “ผู้ป่วยทางจิต” ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     “จีน” นับเป็นประเทศล่าสุดที่กำลังฉายภาพสะท้อนปรากฏการณ์นี้ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ทางการจีนได้เปิดเผยจำนวนผู้ป่วยทางจิตในประเทศ ขณะนี้มีมากถึงร้อยละ 7 หรือประมาณ 100 ล้านคน ต่อประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ทุก ๆ 2 นาที จะมีชาวจีนฆ่าตัวตาย 1 คน เหตุผลเนื่องจากประชาชนต้องเผชิญแรงกดดันมากขึ้น ทั้งการทำงานที่เร่งรีบ การแข่งขันและแรงกดดันในสังคมที่เพิ่มขึ้น  ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ขณะที่ภูมิคุ้มกันในจิตใจลดลง เมื่อเผชิญปัญหาที่เข้ามากระทบ จึงไม่สามารถแก้ไข

     ข่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์  สะท้อนคิดถึงประเทศไทย ลมมรสุมความเครียดได้เริ่มก่อตัวและกำลังแผ่ขยายออกไปในวงกว้าง ขณะนี้คนไทยกำลังเผชิญความกดดันหลายด้านเช่นกัน ทั้งการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมที่เสื่อมโทรม สภาพครอบครัวล่มสลาย และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น กลับไม่มีทางออก ขาดผู้ให้คำปรึกษา ไม่มีใครช่วยเหลือ ทำให้ไม่สามารถรับแรงกดดันได้และมีปัญหาทางจิตในที่สุด

credit : http://www.oknation.net/blog/kriengsak