Tuesday, May 10, 2011

Shoe-Thrower’s Index




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

Shoe-Thrower’s Index


ดัชนีการขว้างรองเท้า : ตัววัดความไม่สงบของประเทศ


นิตยสารดิอิโคโนมิสต์ได้ตีพิมพ์บทความและนำเสนอดัชนีชี้วัดของประเทศอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งดิอิโคโนมิสต์ให้ชื่อดัชนีนี้ว่า "ดัชนีการขว้างรองเท้า" (Shoe-Thrower’s Index) (คาดว่าชื่อดัชนีนี้มาจากเหตุการณ์ที่ผู้สื่อข่าวอิรักขว้างรองเท้าใส่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐ เพื่อแสดงความไม่พอใจที่มีต่อผู้นำสหรัฐ) ซึ่งดัชนีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบที่เริ่มต้นขึ้นในตูนิเซียนั้นมีแนวโน้มจะแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงไร ในอนาคตการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองอาจเกิดขึ้นในประเทศใดต่อไป โดยบางประเทศไม่ได้นำมาแสดงให้เห็นในดัชนีนี้ด้วย

"ดัชนีการขว้างรองเท้า" มีหลายองค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบมีน้ำหนักที่แตกต่างกัน ตัวแปรบางตัวนั้นอาจจะยากที่วัดเป็นตัวเลขได้ เช่น ความขัดแย้ง หรือ การเช่น ปาเลสไตน์ ซูดาน หรือโซมาเลีย เนื่องจากความจำกัดของข้อมูลว่างงาน ซึ่งมีความไม่แน่นอนมากทำให้การเปรียบเทียบระหว่างประเทศทำได้ยาก
 
ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีนี้ ได้แก่

สัดส่วนของประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี (ให้น้ำหนักร้อยละ 35)
จำนวนปีที่รัฐบาลอยู่ในอำนาจ (น้ำหนักร้อยละ 15)
การทุจริตคอร์รัปชัน (น้ำหนักร้อยละ 15)
ความเป็นประชาธิปไตย (น้ำหนักร้อยละ 15)
รายได้ประชาชาติต่อหัวของประชากร (น้ำหนักร้อยละ 10)
ความมีเสรีภาพของสื่อ (น้ำหนักร้อยละ 5)
และจำนวนของประชากรที่อายุน้อยกว่า 25 ปี (น้ำหนักร้อยละ 5)
แต่ในภายหลังได้มีการเพิ่มตัวแปรเข้าไปอีก 2 ตัว คือ อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรและร้อยละของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต
 
ผลที่แสดงให้เห็นจากดัชนี คือ
ตูนิเซียซึ่งเป็นประเทศแรกที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลประสบความสำเร็จในการโค่นล้มผู้นำประเทศอยู่ในลำดับที่ 10 อียิปต์ซึ่งประสบความสำเร็จในลำดับถัดมาอยู่ในอันดับที่ 5 ขณะที่ลิเบียซึ่งมีปัญหารุนแรงและอยู่ในกระแสความสนใจของคนทั่วโลกในเวลานี้อยู่ในอันดับที่ 2
 
เราจะเห็นว่าดัชนีนี้อาจไม่สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าประเทศใดจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบก่อนหรือหลังได้ เยเมน ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 แม้มีปัญหาแต่ยังไม่ถึงจุดแตกหัก เช่นเดียวกับบาห์เรน ซึ่งมีปัญหาเช่นกัน แต่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 13
 
สถานการณ์ความไม่สงบมีความเป็นพลวัตมาก อาจไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวแปรไม่กี่ตัว นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่ไม่อาจนำเข้าไปรวมในการคำนวณหาดัชนีได้ เช่น "ตัวจุดชนวนสถานการณ์" ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรไม่มีใครทราบ (เช่น กรณีนายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ ตัดสินใจเผาตัวตายประท้วง หลังจากที่ถูกตำรวจไล่ไม่ให้ขายผลไม้เพื่อเลี้ยงครอบครัว ถือเป็นตัวจุดชนวนของเหตุการณ์ในตูนิเซีย หรือความสำเร็จของตูนิเซียที่กลายเป็นตัวจุดชนวนของการประท้วงในอียิปต์ในเวลาต่อมา เป็นต้น)  
 
อย่างไรก็ตาม ดัชนีนี้มีประโยชน์ในการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะนำไปสู่สถานการณ์ความไม่สงบได้ทุกเวลา แสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่อาจสร้างเงื่อนไขในการนำไปสู่ความไม่สงบได้
 
หันกลับมามองสังคมไทย
ผมเห็นว่ารัฐบาลต้องเตรียมรับกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ปะทุหนักขึ้น ซึ่งจะกระทบด้านเศรษฐกิจในอนาคตอย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ เราควรเรียนรู้จากดัชนีและกรณีศึกษาเหล่านี้ คือ รัฐบาลต้องไม่สร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่การต่อต้านขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการคอร์รัปชัน การยึดอำนาจไว้กับตัวเอง การลิดรอนเสรีภาพของสื่อ หรือความไม่เป็นอยู่ของประชาชน หากรัฐบาลไม่ต้องการจะถูกประชาชนกลุ่มต่างๆ "ขว้างรองเท้า" เข้าใส่




Monday, May 9, 2011

Kriengsak Chareonwongsak:ดัชนีวัดความสุข




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศไทย


พฤติกรรมของมนุษย์มุ่งที่จะแสวงหาความสุขอยู่เสมอ จึงพยายามหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งความสุข รัฐบาลที่ดีจึงควรดำเนินนโยบายที่มุ่งสร้างความสุขให้แก่ประชาชนในประเทศ การสร้างความสุขควรเป็นเป้าหมายปลายทางที่มีความสำคัญ อย่างไรก็ตามความสุขของมนุษย์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีความเป็นพลวัต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ทำให้การเข้าใจสภาพความสุขโดยรวมของประชาชนทั้งหมดยังทำได้ยาก

ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ศึกษาเพื่อหาชุดของดัชนีเศรษฐกิจที่สามารถชี้วัดระดับความสุขของประชาชนได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นรูปธรรม และสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อจะทำให้ทราบถึงปัจจัยที่กำหนดระดับความสุขของประชาชน ซึ่งแบบจำลองที่ผมใช้ในการประมาณค่าสมการดัชนีความสุข คือ แบบจำลอง Ordered Probit โดยใช้ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจค่านิยมของโลก (World Values Survey) ปี 2542/2543

รัฐบาลของทุกประเทศมักสนใจในเป้าหมายที่วัดได้ อาทิ ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประชาชาติ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ฯลฯ หรือแม้แต่ตัวชี้วัดทางสังคม เช่น อัตราการอ่านออกเขียนได้ หรืออายุขัยเฉลี่ย แต่ไม่สามารถทราบได้ว่าแนวทางบริหารประเทศดังกล่าวได้บรรลุเป้าหมายปลายทางที่แท้จริง คือได้ทำให้ความสุขโดยรวมของคนในชาติเพิ่มขึ้นหรือไม่

เนื่องจากความสุขของแต่ละคนขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละปัจเจกบุคคล คนแต่ละคนจึงให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ปัญหาอีกประการ คือ หากรัฐบาลต้องการทราบความสุขของประชาชน ไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดเพียงตัวใดตัวหนึ่งเพื่อที่จะทราบความสุขของประชาชนได้

ด้วยเหตุผลที่ตัวแปรและตัวชี้วัดต่าง ๆ ไม่สามารถสะท้อนความสุขของคนในประเทศได้อย่างถูกต้องทั้งหมด จึงทำให้การแก้ปัญหาที่มุ่งเป้าที่ตัวชี้วัดเพียงบางตัวอาจเป็นการกำหนดนโยบายอย่างผิดทิศทาง การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาจไม่ถูกจัดลำดับความสำคัญอย่างถูกต้อง

จากงานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศไทย

ในกลุ่มตัวแปรมหภาค ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุข ได้แก่ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงาน โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุข ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความสุข

ในแง่ขนาดของอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ที่มีต่อความสุข ผมพบว่า อัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ

ในกลุ่มตัวแปรจุลภาค ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีงานทำและระดับรายได้ โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ดังนี้ เพศหญิงมีความสุขมากกว่าเพศชาย อายุมีความสัมพันธ์กับความสุขโดยช่วงอายุ 51.8 ปี จะมีความสุขน้อยที่สุด สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับความสุขเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน แต่งงาน โสด และหย่าร้าง แยกกันอยู่ ม่าย และอื่น ๆ ขณะที่การตกงานทำให้มีความสุขลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการมีงานทำ ส่วนรายได้และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุข

ในกรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้มีความสุขมากมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุขดังกล่าวข้างต้น มากกว่าผู้มีความสุขน้อย ทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ

ดัชนีชี้วัดดังกล่าวที่ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้ทำการศึกษาข้างต้น ถึงแม้ยังไม่ใช่ดัชนีชี้วัดความสุขโดยรวมของทั้งประเทศได้อย่างสมบูรณ์ แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดความสุขได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นรูปธรรม และชี้แนวทางที่ทำให้ความสุขจับต้องได้