Thursday, December 9, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak ปัญหา 3G




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปัญหา 3G ไม่ใช่ปัญหาเทคนิค ไม่ใช่ปัญหากฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาคน
แต่เป็นปัญหาการบริหารจัดการที่แกนนำไม่ได¬้มองการไกลล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาไว้
จึงเกิดปัญหาที่เราเห็นชัดๆว่าเกิดอย่างนี¬้ขึ้นครับ



ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Dr.Kriengsak Chareonwongsak

นักวิชาการอิสระ นักวิชาการอาวุโส Harvard University
http://www.facebook.com/drdancando
http://www.twitter.com/drdancando
drdancando.com

Wednesday, December 8, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak: สมดุลวิถี สมานฉันท์ สันติสุข




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สมดุลวิถี สมานฉันท์ สันตินสุข


ไทยตกมาตรฐานยูเอ็นแก้ขัดแย้ง แนะสร้าง "สมดุลวิถี-พื้นที่ปลอดภัย"

ในเวทีเสวนาเรื่อง "สมานฉันท์สู่สังคมสันติสุข" ซึ่งจัดโดยนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่น 2 (4 ส.2) ของสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับจังหวัดนนทบุรี ที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวานนี้ (24 พ.ย.) ผู้ร่วมเสวนาซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าต้องเร่งแก้ไขปัญหาขัดแย้งในสังคมไทยด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายได้นำความจริงมาพูดกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรม และเริ่มต้นปรองดองอย่างยั่งยืน

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวตอนหนึ่งว่า ขณะนี้สังคมไทยขัดแย้งกันมาก และสร้างความสูญเสียมากทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม หากปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้ต่อไป ประเทศจะแหลกเหลวทุกระบบ และไม่มีใครตอบได้ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่
คำถามคือคนไทยขัดแย้งกันพอหรือยัง จะหยุดอย่างไร และจะปรองดองกันอย่างไร เพราะการใช้อำนาจแก้ไขความขัดแย้งนั้นใช้ได้ แต่ต้องใช้ด้วยใจ ด้วยความรัก ใช้ในเชิงสมานฉันท์ ไม่ใช่ใช้แบบทำลายล้าง
ตกมาตรฐานยูเอ็นแก้ขัดแย้ง

พล.อ.เอกชัย กล่าวต่อว่า การใช้ "อำนาจ" จัดการความขัดแย้ง มีโอกาสสูงที่จะเจอแรงกดดันจากต่างชาติ เพราะยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ สังคมโลกจับจ้องไทยอยู่ "เลขาฯยูเอ็น (เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ) ก็จับตาไทยอยู่ และเคยเตือนไทยหลายครั้งแล้ว คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็เคยเตือนเช่นกัน ฉะนั้นเราต้องระวัง เพราะที่ผ่านมาเรายังจัดการปัญหาความขัดแย้งไม่สำเร็จเลย"

ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวต่อว่า ในกฎบัตรของยูเอ็นที่ใช้กับชาติสมาชิกทุกชาติ มีกรอบที่ยูเอ็นจับตาอยู่ 5 เรื่องใหญ่ๆ เพราะหากประเทศใดไม่ทำหรือทำไม่ได้ จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในรัฐอย่างแน่นอน ประกอบด้วย

  1. ความไม่เป็นธรรมในสังคม เรื่องนี้ไทยอยู่ในระดับรุนแรง
  2. ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ ประเทศไทยก็เริ่มมีปัญหานี้เช่นกัน
  3. การรักษาการปกครองของรัฐ พบว่าไทยไม่มีเอกภาพ ไม่มีความเสมอภาค ทำให้ไม่เชื่อใจกัน และแก้ขัดแย้งไม่ได้
  4. กฎหมายหรือองค์กรบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ ซึ่งประเทศไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในเรื่องนี้ รวมถึงองค์กรอิสระด้วย
    และ
  5. ภูมิรัฐศาสตร์ไม่เอื้ออำนวยให้การปกครองของรัฐบาลกลางสถาปนาครอบคลุมพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเด็นนี้ก็เห็นได้ชัดว่าพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐของไทย เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีปัญหาอยู่ "จะเห็นว่าจากกรอบมาตรฐานของยูเอ็น เรามีปัญหาทุกเรื่อง และเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งทั้งหมด" พล.อ.เอกชัย กล่าว

ต้องสร้าง "พื้นที่ปลอดภัย"
  • เขายังเสนอว่า การจัดการความขัดแย้งต้องทำใน 3 มิติ คือ
  1. มิติแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และมีหลากหลายวิธีที่ทำได้
  2. มิติปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งหลายฝ่ายก็กำลังทำกันอยู่ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ
  3. มิติเชิงป้องกัน ทุกฝ่ายต้องมองเชิงสร้างสรรค์ เพราะคำพูดที่พูดออกไปนำไปสู่ขัดแย้งได้ทุกคำ การอภิปรายในสภาคือตัวอย่างที่ดีของการนำไปสู่ความเลวร้ายในสังคมไทย ซึ่งมิติเชิงป้องกันถ้าไม่ดีจะทำให้ปรองดองไม่เกิด มีแต่ความร้าวฉาน
พล.อ.เอกชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักคือ การแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน ดูตัวอย่างไอร์แลนด์เหนือ ต้องใช้เวลาถึง 37 ปี อาเจะห์ก็ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ฉะนั้นไทยจะใช้เวลาเพียง 1 ปีคงไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะแก้ไขความขัดแย้งคือต้องนำความจริงมาพูดกัน ไม่ใช่เสแสร้ง และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ได้พูดคุย

"ที่ผ่านมายังไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ได้พูดความจริง ฝ่ายหนึ่งพูดก็จะถูกอีกฝ่ายหนึ่งข่มขู่คุกคาม ฉะนั้นต้องเร่งสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ได้พูดความจริง เพราะความจริงจะนำไปสู่ความเป็นธรรม และความยุติธรรมจะนำไปสู่ความปรองดองในที่สุด"



ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิชาการ กลุ่มการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ หลักสูตร 4 ส.รุ่น 2 อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดจากภาคีสำคัญๆ ในชาติขัดผลประโยชน์กัน โดยภาคีที่มีส่วนร่วมในทางการเมืองมี 5 ภาคี ได้แก่

นักการเมือง

ข้าราชการ

สื่อมวลชน

นักวิชาการ

และภาคประชาชน

ฐานของทั้ง 5 ภาคี มีตัวเชื่อมโยงคือ "ฐานทุน"

ทั้งนี้ ในอดีตฐานทุนที่เชื่อมโยงภาคีเหล่านี้เป็นฐานทุนแบบ "ปัจเจกผูกขาด" นำไปสู่ฐานอำนาจ ฐานผลประโยชน์ และฐานอื่นๆ ในสังคม แต่ในระยะหลังภาคีทั้ง 5 ถูกนำไปสู่แกนอื่นที่ไม่สามารถได้ผลประโยชน์เช่นเดิม จึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง

"ทางออกของสังคมต้องขับเคลื่อนจากทุนปัจเจกผูกขาด เป็นทุนปัจเจกสาธารณะ ให้ผู้เล่นหลักๆ จำนวนน้อยแต่เดิม ก้าวไปสู่ผู้เล่นจำนวนมาก คือผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน"

อย่างไรก็ดี ดร.เกรียงศักดิ์ เห็นว่า ทิศทางที่สังคมไทยทำอยู่ในขณะนี้เป็นแค่ยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศสาตร์ เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ การตั้งองค์คณะต่างๆ เพื่อค้นหาความจริง แต่วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นแก่นแกนจริงๆ คือการเน้นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่ยุทธวิธี โดยต้องสร้างสมดุลใน 3 หลัก ได้แก่


"สมดุลวิถี หมายถึงการสร้างสมดุลในสังคม ทั้งสมดุลทางอำนาจ สมดุลทางผลประโยชน์ และสมดุลในที่ยืน (ความเท่าเทียม) ประเทศไทยขณะนี้มีปัญหาแตกแยกเกิดขึ้นอย่างมากมาย ความสมานฉันท์เป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไปไกลกว่านั้น เพราะความสมานฉันท์เป็นแค่เปลือก อาจไม่สามารถสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนได้ ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องเร่งสร้างสมดุลวิถีให้เกิดขึ้น เพราะเป็นแก่นในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง"

ชู "ปฏิวัฒนะ" ปิดทาง "ปฏิวัติ"


ดร.เกรียงศักดิ์ ยังเสนอว่า การจะสร้าง "สมดุลวิถี" ต้องใช้ "ปฏิวัฒนะ" คือ

  1. ปฏิรูป เป็นการแก้ที่รูปแบบ
  2. ปฏิสังขรณ์ หรือการซ่อม เพราะบางเรื่องแค่ซ่อมก็ใช้ได้แล้ว
  3. ปฏิรังสรรค์ หมายถึงองค์ประกอบถูกต้อง แต่เชื่อมต่อผิดทิศผิดทาง ก็ปรับกระบวนเสียใหม่ และ
  4. ปฏิวัติ ซึ่งไม่ใช่การรัฐประหาร แต่หมายถึงการแก้แบบถอนรากถอนโคนและรวดเร็ว
"ปัญหาคือเราจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้ รัฐบาลจะต้องมีความชอบธรรมสูงมากๆ และภาคีทั้งหมดสนับสนุน รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย องค์ประกอบของรัฐบาลก็ต้องมีความรู้ความสามารถจริง และมีความดีที่เป็นแบบอย่าง จึงเป็นเรื่องยากหากพิจารณาจะสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ขอบอกว่าระบบของเรามีช่องทางบางอย่างที่ทำให้ได้รัฐบาลแบบนี้ แต่ผมไม่อยากพูดว่าเป็นรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่"
ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวในที่สุด