Monday, December 26, 2011

มีบัตรประชาชนเด็กเป็นเรื่องดี แต่ต้องให้คุ้มค่า [clip]

เรื่องบัตรประชาชนเด็กอายุ 7 ขวบ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรเสียหาย มีทั้งข้อดี มีทั้งข้อด้อย แต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ระดับหนึ่งเพราะว่าเด็กจำนวนมากประมาณ 8 ล้านคน ที่อยู่ 7ขวบขึ้นไปจนถึงวัยที่เคยทำบัตรประชาชนนั้น รอบนี้เราให้เด็กมีโอกาสเข้าไปรับบัตรประชาชนก็จะทำให้ปกกันการสูญสิทธิ์ของคนต่างด้าว บางครั้งแอบมาสวมสิทธิ์ และมีหลายครั้งที่แม้แต่ผู้ใหญ่ยังโดนสวมสิทธิ์ ถ้าหากบัตรประชาชนนี้เกิดขึ้นกับเด็ก สามารถทำให้เด็กนำไปแสดงตัวใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆได้ แทนสูจิบัตรได้ เวลาเด็กไปไหนต้องการทำอะไรทำให้ไม่ต้องรอให้นำรูปพ่อแม่มาสวมมาใส่ หรือว่าต้องให้พ่อแม่มารับรองอะไรมากมาย

  

2 เพิ่ม 2 แก้ 2 ยุทธศาสตร์ สำหรับรัฐบาลใหม่



    ตั้งแต่ทราบผลการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีสื่อจำนวนมากทั้งในไทยและ
ต่างประเทศได้สอบถามความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจไทย ภายหลังการเลือกตั้งว่าจะเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญที่ผมถูกถามบ่อยครั้ง คือ 
รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร?


    โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็น
นโยบายระยะสั้น เน้นสร้างคะแนนนิยมกับกลุ่มคนรากหญ้า หลายนโยบายเป็นเรื่องเล็ก
กระจัดกระจายไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาว นโยบายส่วนใหญ่ไม่ใช่นโยบายในเชิง
การปฏิรูปหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในระยะยาว และที่สำคัญรัฐบาลยัง
บริหารจัดการหรือแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือเดิมๆ โดยเฉพาะการแทรกแซงกลไกตลาด
เช่น การตรึงราคาน้ำมันดีเซล การควบคุมราคาสินค้า การรีไฟแนนซ์ หนี้นอกระบบ 
การลดภาษีและให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเงินกู้ซื้อบ้าน การขยายจำนวนผู้ที่ได้รับเบี้ยคนชรา
เป็นต้น

     ด้วยเหตุนี้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาจึงจำเป็นต้องดำเนิน
นโยบายที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศ สร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เป็น
นโยบายที่มียุทธ-ศาสตร์และให้ความสำคัญกับประเด็นระยะยาว ซึ่งแนวทางที่ผมอยาก
เสนอ คือ “2 เพิ่ม 2 แก้ และ 2 ยุทธศาสตร์ 

เพิ่มที่ 1 คือ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

     20 ปี ที่ผ่านมาการกระจายรายได้ของคนไทยแทบไม่ดีขึ้นเลย รายได้ประชากรกลุ่ม
ที่รวยที่สุดคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่ารายได้ประชากรที่จนที่สุด 11.88 เท่า ในปี พ.ศ. 2531 
ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 11.31 เท่าในปี พ.ศ.2552 

     แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามจะผลักดันหลายนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหา
นี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการในภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การปฏิรูปโครงสร้าง
ภาษีให้เกิดความเป็นธรรม การเก็บภาษีที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินให้
ประชาชน เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรผลักดันเรื่องนี้และสานต่อนโยบายเหล่านี้
อย่างจริงจัง

เพิ่มที่ 2 คือ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 

     จากการจัดอันดับของ WEF และ IMD ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่ำ
มาก ประมาณร้อยละ 0.25 - 0.3 ของจีดีพีเท่านั้น นักวิจัยมีจำนวนน้อยรวมทั้งการที่การ
คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังไม่เข้มงวดนัก ผู้ผลิตผลงานไม่ได้รับการคุ้ม
ครองเท่าที่ควรทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมและผลงานใหม่ๆ เป็นต้น

     รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาจะต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา และการสร้าง
นวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มงบประมาณในส่วนของวิจัยและพัฒนาต่อจีดีพีให้มาก
ขึ้น การสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะโดยการให้แรง
จูงใจด้านภาษีหรือการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ รวมทั้งการเพิ่มบุคลากรด้านวิจัยและ
พัฒนาให้มากขึ้นและการสร้างเมกะโปรเจ็คด้านวิจัยและพัฒนา เป็นต้น 

แก้ที่ 1 คือ แก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน

     ปัจจุบันมีข้อมูลจากภาคธุรกิจว่า นักธุรกิจต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้นักการเมืองสูงถึง
ร้อยละ 30 - 40 และต้องจ่ายให้ข้าราชการร้อยละ 10 – 20 ทำให้มีงบประมาณที่หายไป
จากการจัดซื้อจัดจ้างรั่วไหลสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาทในแต่ละปี 
     
     การคอร์รัปชันทำให้ธุรกิจไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพใน
การผลิตสินค้าและให้บริการ ทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ไม่มีคุณภาพ ประเทศเสียโอกาสในการพัฒนาจากงบประมาณที่รั่วไหล นักลงทุนต่างชาติมีอุปสรรค
ในการเข้ามาลงทุนในไทย เป็นต้น 

     แม้เอกชนไทยจะหันมาจริงจังในเรื่องนี้ แต่ว่าความพยายามจะไม่ได้ผลหากภาครัฐ
และราชการไม่ร่วมมือ ผมเคยเสนอให้มีการขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส. ส.ว. และผู้ดำรงตำ-
แหน่งทางการเมือง ประกอบกับสร้างกลไกการแข่งขันมากขึ้น โดยเป็นการแข่งขัน ที่
เสมอภาคและไม่ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของผู้อาสาตัวเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อให้
คนเก่งสามารถเข้าสู่ตำแหน่งได้มากขึ้น ที่สำคัญต้อง เพิ่มโทษการคอร์รัปชันและการ
ทุจริตให้รุนแรงขึ้น คดีทุจริตของนักการเมืองนั้นต้องไม่มีอายุความ เป็นต้น ปัจจุบันมี
การขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส. ส.ว. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว แต่กลไกการแข่งขัน
และการตรวจสอบต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 

แก้ที่ 2 คือ แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการพัฒนาฝีมือ

    แรงงานไทยมีปัญหาทั้งปริมาณและคุณภาพ แรงงานระดับล่างขาดแคลนขั้นวิกฤติ
แรงงานระดับสูง (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) มีปัญหาว่างงานสูง เนื่องจากเรียนไม่ตรง
สายและไม่มีคุณภาพ 

     สำนักข่าวรอยเตอร์เคยวิเคราะห์เอาไว้ว่าระบบการศึกษาของไทยนั้นไม่เอื้อต่อการ
ก้าวไปข้างหน้าของประเทศ แรงงานที่มีความสามารถสูง ทักษะสูง พูดภาษาอังกฤษ
ได้นั้นหายากในประเทศไทยเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ ไต้หวันและจีน ซึ่งจะเป็นเหตุให้
ประเทศไทยหมดความน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนต่างชาติในที่สุด 

      ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องวางแผนการใช้กำลังคนของประเทศ ปรับทิศทางอุตสาห-
กรรม ให้ใช้แรงงานระดับสูงเพิ่มขึ้นและลดการใช้แรงงานระดับล่างลง ควรมีการ
กำหนดเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่เน้นเพียงเรื่องการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือค่าจ้างซึ่งเป็นเรื่องปลายเหตุเท่านั้น 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์สำหรับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC


    ไทยกำลังเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2015 โดยประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC) เป็นข้อตกลงที่ครอบคลุมทุกภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการค้าสินค้าและ
บริการ รวมทั้งการลงทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

    ไทยจะได้ประโยชน์จากการ AEC โดยผู้ผลิตจะมีตลาดและฐานการผลิตที่ใหญ่ขึ้น ผู้
บริโภคได้บริโภคสินค้าบริการราคาถูกลง ช่วยดึงดูดการค้าการลงทุนจากนอกภูมิภาค 
ในขณะเดียวกันผลกระทบด้านลบ คือ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่งขันในอาเซียน
และประเทศอื่นที่ทำ FTA กับอาเซียน การย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค การแย่งทรัพยากรและแรงงานมีฝีมือทำให้ต้นทุนบางด้านเพิ่มสูงขึ้น สินค้าบางประเภท
มีราคาสูงขึ้น เพราะส่งออกได้มากขึ้นทำให้อุปทานในประเทศลดลง เป็นต้น 

     ปัจจุบันความตระหนักถึงการเข้าเป็น AEC ของคนไทยยังน้อย ภาครัฐต้องเดินหน้า
ให้ความรู้แก่ประชาชน สนับสนุนผู้ประกอบการให้ปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะมี
มากขึ้น ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างเด็กและเยาวชนในอนาคต
ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษาต่างประเทศหรือ
วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์ทางการค้าที่ชัดเจนสำหรับทศวรรษหน้า 

     เวลานี้ไทยมีบทบาทในเวทีโลกค่อนข้างน้อย เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่ได้ดำเนิน
นโยบายอย่างมียุทธศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่องต่างประเทศ 

    ในอนาคตผมคิดว่าในเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ไทยต้องแทรกตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
ของ BRICSA ซึ่งหมายถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN – A) ต้องเข้าไปจับมือกับ
ประเทศในกลุ่ม BRICS ที่ประกอบด้วยการรวมกันของ 5 ประเทศ คือบราซิล (B) รัสเซีย (R) อินเดีย (I) จีน (C) และแอฟริกาใต้ (S) ซึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการล่าสุด
ของกลุ่ม 

    ผมเสนอให้นำอาเซียนเข้าไปผนวกกับ BRICS เนื่องจาก ลำพังประเทศไทยมีความ
น่าสนใจน้อย ไม่ดึงดูดให้กลุ่มประเทศ BRICS มาร่วมด้วย ประกอบกับการที่อินโดนีเซีย
พยายามจะสอดแทรกตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ BRICS เพื่อจะเป็น BRICSI (I = Indonesia) ดังนั้นไทยควรผลักดันอาเซียนเข้าไปร่วมกับ BRICS เพื่อไม่ให้บทบาทและ
ภาพลักษณ์ของอินโดนีเซียทิ้งห่างประเทศไทยในการเป็นผู้นำของอาเซียนมากกว่านี้ 

    เวลานี้ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว โฉมหน้าของคณะ
รัฐมนตรีชุดใหม่เริ่มปรากฏให้ประชาชนเห็นเป็นเค้าลางแล้ว รัฐบาลควรเร่งรีบในการ
ทำงาน เพื่อไม่ให้การพัฒนาของไทยล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านของเราไปมากกว่านี้ ความท้าทายของรัฐบาลใหม่ คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทำให้
เกิดการปฏิรูปประเทศในหลายด้านอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นเหมือน
ดังในอดีตที่ผ่านมา
 





อ่านบทความเรื่องอื่นๆ ได้ที่     www.drdancando.com


More about  : Timebanksociety.com| www.drdancando.com| www.kriengsak.com


Create by : Kriengsak.com

Tuesday, November 1, 2011

ควรหรือที่รัฐจะเก็บภาษีชา กาแฟ

การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ควรหรือที่รัฐจะเก็บภาษีชา กาแฟ
ประเด็นการเก็บภาษีบาปชา กาแฟ เป็นข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางในสังคม ถึงความเหมาะสมและสมควรเพราะประชาชนส่วนใหญ่มองว่าชา กาแฟ ไม่น่าจะอยู่ในข่าย

จากการที่ รมช.คลัง เตรียมปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งระบบ โดยเฉพาะภาษีบาป (SIN TAX) อาทิเช่น สุรา ยาสูบ สถานประกอบการด้านบันเทิง เครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงชา กาแฟ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยในเบื้องต้นจะเก็บภาษีชาและกาแฟ ที่บรรจุอยู่ในกล่องและกระป๋อง ปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 30,000 ล้านบาท



หากพิจารณาว่า รัฐควรเก็บภาษีบาปเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผมเห็นด้วยกับการเก็บภาษีบาปมากขึ้น แต่การเพิ่มภาษีบาปมี 2 ประเด็นที่ควรคำนึงถึง คือ



ประการแรก ต้องเก็บภาษีกับสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสังคม (negative externality) จริงๆ อาทิเช่น ภาษีสถานประกอบการด้านบันเทิง เพราะทำให้สังคมแย่งลง หรือภาษีสิ่งแวดล้อม ที่ควรเก็บเพราะทำให้ประชาชนเดือดร้อน



ประการที่สอง การเก็บภาษีต้องมีประสิทธิผลในการลดการบริโภคสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมได้จริง



อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเก็บภาษีชา กาแฟ รัฐบาลต้องสร้างความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว อาทิเช่น



1. หากต้องการเก็บภาษีชา กาแฟ ต้องอธิบายให้ชัดเจน ว่า ชา กาแฟเข้าข่ายสินค้าบาปอย่างไร



วัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีบาป คือ ลดการบริโภคสินค้าบาป เพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค และผลกระทบต่อสังคม เพื่อนำรายได้จากภาษีไปป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคสินค้าบาป อาทิเช่น การเก็บภาษีสุรา จะนำงบส่วนหนึ่งไปให้แก่กองทุนสร้างสุขภาพ (สสส.) เพื่อการรณรงค์ลดการดื่มสุรา การรักษาพยาบาล และลดอุบัติภัย



ในขณะที่ความเข้าใจของสังคม มองว่า การเก็บภาษีชา กาแฟ เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะหาเงินเข้าคลังเป็นวัตถุประสงค์หลัก โดยขูดรีดจากประชาชน เพราะการที่รัฐบาลมองว่า ชา กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ซึ่งทำลายสุขภาพ แต่ประชาชนไม่ได้มองว่า ชา กาแฟ เป็นสินค้าบาป ที่ผ่านมา มีการโฆษณาโดยทั่วไปว่า ชาเป็นเครื่องดื่มที่บำรุงสุขภาพ และรัฐบาลไม่เคยมีมาตรการควบคุมการบริโภคกาแฟ และมีงานวิจัยออกมาว่า กาแฟมีผลดีสามารถรักษาโรคร้ายบางโรคได้ ในขณะที่กาแฟบางชนิดไม่มีกาเฟอีน หรือการที่มีสถิติว่าคนที่ดื่มเหล้าองุ่นวันละ 1 แก้ว สามารถป้องกันโรคหัวใจตีบได้ กรณีเหล่านี้รัฐต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่า จะนำมาตรฐานใดมาวัด ว่าควรเก็บภาษีหรือไม่



ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการเก็บภาษีบาปจากชา กาแฟ ต้องอธิบายให้ได้ว่าชา กาแฟ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือสังคมอย่างไร โดยอ้างอิงผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ มีการส่งสัญญาณอย่างชัดเจน ว่า รัฐไม่สนับสนุนการบริโภคชา กาแฟ และรัฐจะนำเงินภาษีนี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด และลดผลกระทบทางสังคมด้านใด รายได้จากภาษีควรใช้เพื่อลดผลกระทบจากการดื่มชา กาแฟ รายได้ที่เข้าคลังเพิ่มขึ้น ควรเป็นผลพลอยได้ ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก



2. การเพิ่มภาษีบาป รัฐบาลต้องมั่นใจว่าจะช่วยลดการบริโภคสินค้าบาปได้จริง



หากวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การเพิ่มภาษีแก่สินค้าบาป จะทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้านั้น แต่หากขึ้นภาษีมากเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาตลาดมืด อาทิเช่น หากขึ้นภาษีสุรามากเกินไป จะจูงใจให้เกิดการผลิตและขายเหล้าเถื่อนมากขึ้น อาจทำให้ผู้บริโภคไม่ลดการดื่มสุรา



เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของการเพิ่มภาษีชา กาแฟ ต่อการลดการบริโภคชา กาแฟ การที่รัฐบาลเก็บภาษีเฉพาะชา กาแฟในรูปกล่องและกระป๋องเท่านั้น อาจทำให้ผู้บริโภคหันไปดื่มชา กาแฟแบบชงมากขึ้น อาทิเช่น กาแฟสด กาแฟโบราณ เพราะเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ อาจทำให้มาตรการนี้ไม่มีประสิทธิผลในการลดการบริโภคชา กาแฟ ได้มากนัก และทำให้รัฐจัดเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้



ดังนั้น หากรัฐบาลเชื่อว่า ชา กาแฟ เป็นสินค้าบาป รัฐบาลควรเก็บภาษีชา กาแฟ ทั้งระบบ กล่าวคือ ต้องเก็บภาษีจาก ใบชา เมล็ดกาแฟ ที่นำมาชงด้วยเพื่อทำให้ราคาของชา กาแฟ ทุกประเภทเพิ่มขึ้นทั้งหมด



นอกจากนี้ ผมเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาเก็บภาษีจากกิจกรรมอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม โดยจัดเก็บจากผู้ที่ก่อมลพิษ อาทิเช่น โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น



ผลการศึกษา (TDRI) พบว่าความเสียหายจากมลพิษในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปีในปี 2520 มาเป็นประมาณ 17,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 2543 และปัญหามลพิษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มลพิษทางอากาศ



วัตถุประสงค์ของการเก็บภาษี เพื่อให้ผู้ก่อมลภาวะต้องรับภาระต้นทุนที่ก่อขึ้น เพื่อนำรายได้จากภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยอัตราภาษีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น ระดับปัญหามลภาวะของแต่ละพื้นที่ ขนาดของโรงงาน พลังงานที่ใช้ คุณสมบัติของเครื่องจักรที่ใช้ผลิต อายุของเครื่องจักร และระยะเวลาในการเดินเครื่อง



เท่าที่ผมทราบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ศึกษาและจัดเตรียมร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วชื่อว่า "พ.ร.บ. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ......" หากผลักดันกฎหมายนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อสังคม และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ



การพิจารณาการเก็บภาษีของรัฐบาล ไม่ควรคิดแต่ว่าเพื่อจะทำให้รายได้มากขึ้น แต่ต้องคิดทั้งระบบว่า หากดำเนินการแล้ว ไม่เพียงแต่ทำให้รัฐรายได้มากขึ้น แต่มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศด้วย หากทำอะไรเพียงฉาบฉวย จะมีผลร้ายต่อประเทศและประชาชนในระยะยาวได้

Sunday, October 9, 2011

ร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีก : เครื่องมือผิดประเภทในการช่วยโชห่วย


บทความ : ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สงครามการค้าปลีกและค้าส่งเปรียบได้กับการเล่นกระดานหกระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายใดมีอำนาจต่อรองมากกว่า จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปได้มากกว่า ส่วนผู้บริโภคจะได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อมีความสมดุลของอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ....(บทความนี้จะเรียกว่า ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก) ฉบับที่ได้รับการแก้ไขจากสำนักงานกฤษฎีกา ระบุหลักการและเหตุผลว่า สมควรมีการจัดระเบียบการประกอบธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่งบางประเภท เพื่อให้การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งทุกประเภท ดำรงอยู่ได้ตามสภาพเศรษฐกิจการค้า และสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งควรมีมาตรการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งรายย่อยดั้งเดิม

พ.ร.บ.ค้าปลีก : เครื่องมือผิดประเภท

ใจความสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกเป็นการจัดสรรอำนาจให้กับคณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนการจัดระบบการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง และเสนอแนะต่อรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งรายย่อยดั้งเดิม และให้อำนาจอธิบดี (สำหรับกรุงเทพมหานคร) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (สำหรับจังหวัดอื่น) ในการกำกับดูแลและให้อนุญาตการขยายสาขาของกิจการค้าปลีกในแต่ละจังหวัด

ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก จึงอาจไม่สามารถแก้ปัญหาในธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ทำให้เกิดความสมดุลของอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ

ประการแรก มิได้ทำให้อำนาจผูกขาดที่มีอยู่เดิมลดลง การบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะรักษาอำนาจผูกขาด ของผู้ประกอบการค้าดั้งเดิม ในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกบุกรุกโดยห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยการจำกัดการจัดตั้งห้างขนาดใหญ่ หรือร้านสะดวกซื้อแห่งใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการค้าที่เป็นเจ้าถิ่นเดิมได้รับประโยชน์ เพราะสามารถกีดกันไม่ให้ผู้แข่งขันรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้

สำหรับพื้นที่ที่มีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ตั้งอยู่แล้ว อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเข้มงวด ในการจำกัดการขยายตัวของห้างยักษ์มากเกินไป เพราะถูกกดดันจากกระแสการต่อต้านห้างต่างชาติ ทำให้กิจการค้าปลีกรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้ยาก ห้างขนาดใหญ่รายเก่าจึงได้ประโยชน์จากการผูกขาดในท้องถิ่น

ประการที่สอง มิได้มีหลักประกันว่า จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะกฎหมายเปิดกว้างให้คณะกรรมการ กำหนดกรอบกติกา ซึ่งไม่มีสิ่งที่ยืนยันว่าคณะกรรมการจะสามารถกำหนดกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม และยังไม่มีอำนาจในการกำหนดกติกาการแข่งขันทางการค้า ทั้งๆ ที่ข้อร้องเรียนเรื่องการใช้กลยุทธ์การค้าที่ไม่เป็นธรรม เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดของปัญหาธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งไม่ได้มีอำนาจโดยตรงในการดำเนินมาตรการส่งเสริม ผู้ประกอบการค้าดั้งเดิม ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

ประการที่สาม มิได้ให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ทั้งที่ผู้บริโภคเป็นคนส่วนใหญ่ แต่คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง กลับมีตัวแทนผู้บริโภคเพียง 1 คน จากคณะกรรมการ 19 คน (รัฐมนตรีและภาคราชการ 10 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง 4 คน และตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนและผู้บริโภค 5 คน) จึงไม่น่าจะทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง

นอกจากนี้ การให้อำนาจในการอนุญาตขยายสาขาแก่อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้ง นับเป็นการถอยหลังจากเดิม ที่ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตจัดตั้งกิจการค้าปลีกหรือค้าส่ง จึงไม่มีเหตุจูงใจที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด จะดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของแต่ละพื้นที่

ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า : เครื่องมือที่ถูกต้อง

นโยบายจัดการเรื่องการค้าปลีกที่ดี ต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า ซึ่งจะทำให้สินค้ามีราคาต่ำ ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ และในขณะเดียวกัน ยังช่วยพัฒนาร้านโชห่วยให้อยู่รอดได้ด้วย ซึ่งมาตรการสำคัญที่ควรมีเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจค้าปลีก ประกอบด้วย

1) ให้ประชาชนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ : ระบบประชามติตามทฤษฎี Public Choice ในวิชาเศรษฐศาสตร์การคลังนั้น การตัดสินใจควรเป็นของผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั้งหมดในสังคม ดังนั้น ผมจึงเสนอว่า ปัญหาเรื่องการอนุญาตให้จัดตั้งหรือไม่ให้จัดตั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในแต่ละพื้นที่ ควรแก้ไขโดยการทำประชามติในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่า ต้องการให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เข้ามาตั้งในพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่หรือไม่

2) จัดการกับกลยุทธ์ของการค้าที่ทำลายคู่แข่งของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ แม้ว่ารัฐบาลไม่ควรเข้าไปควบคุมห้างค้าปลีกขนาดใหญ่โดยตรง แต่รัฐควรจัดการกับกลยุทธ์ทางการค้า ที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะกลยุทธ์ Loss leading ซึ่งเป็นการลดราคาสินค้าบางชนิดให้ต่ำกว่าต้นทุน โดยห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สามารถทำเช่นนี้ได้ด้วยการชดเชยด้วยกำไรจากการขายสินค้าอื่น และการให้ผู้ผลิตเข้าร่วมโครงการลดราคาโดยการแบกรับภาระต้นทุนส่วนหนึ่งด้วย กลยุทธ์การค้าเช่นนี้ของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ จะทำให้ร้านโชห่วยตายลงไปในที่สุด

หากรัฐบาลมีความตั้งใจจะจัดการกับกลยุทธ์ทางการค้าของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ รัฐบาลจำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า เพื่อทำให้กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากเนื้อหาใน พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้ายังไม่ได้ครอบคลุมถึงกลยุทธ์การค้าที่ไม่เป็นธรรมของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่

3) พัฒนาโชห่วยให้แข่งขันได้ โดยมีแนวทางหลัก 2 ประการคือ

การพัฒนาระบบแฟรนไชส์ของร้านโชห่วย

การที่ร้านโชห่วยจะแข่งกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน วิธีการที่เร็วที่สุดในการพัฒนาประสิทธิภาพ คือการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ของโชห่วย ที่มีลักษณะคล้ายกับเครือข่ายของร้านสะดวกซื้อ ระบบแฟรนไชส์จะทำให้เกิดประโยชน์สองประการ คือเพิ่มอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง และสามารถได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการจัดการจากเจ้าของแฟรนไชส์ด้วย

ดังนั้น รัฐบาลควรมีการปรับปรุงนิยามของธุรกิจ ที่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งตามมาตรา 20 (3) ของร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการโชห่วยที่ต้องการปรับปรุงร้านของตนเอง สามารถเข้าไปเป็นสมาชิกของระบบแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน หรือระบบแฟรนไชส์ที่คิดค่าตอบแทนในราคาถูก โดยไม่ต้องขออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด

การหาช่องว่างการตลาดของร้านโชห่วย

ร้านโชห่วยที่ยังคงอยู่รอดได้ เพราะมีจุดเด่นเฉพาะตัว หรือสามารถหาช่องว่างทางการตลาดได้ เช่น ความยืดหยุ่นในการซื้อสินค้า การเป็นที่พบปะของคนในชุมชน การขายสินค้าเฉพาะอย่างที่ร้านค้าสมัยใหม่ไม่มี การส่งสินค้าถึงบ้าน เป็นต้น การหาช่องว่างทางการตลาดจะทำให้โชห่วยสามารถอยู่รอดได้ แม้ในภาวะที่มีการบุกรุกของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่

ปัญหาธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งไม่อาจถูกแก้ไขอย่างสมบูรณ์ ด้วยการออกกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน และมีผลได้ผลเสียที่ต้องพิจารณารอบด้าน การแก้ปัญหาอาจเป็นไปได้ยาก หากมอบอำนาจการตัดสินใจ ให้คณะกรรมการที่มีภาคราชการเป็นส่วนใหญ่ การให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาเอง น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประชาชนไว้ได้

Saturday, September 17, 2011

การจัดการ น้ำท่วม

การจัดการ น้ำท่วม
การแก้ปัญหาคนที่ตกทุกข์ได้ยากและนี่เป็นตัวอย่างที่พูดได้เลยว่าเราอย่าคิด ว่าคนมีตำแหน่งเท่านั้นจะทำได้หรือทำดีมากกว่าคนไม่มีตำแหน่งบทเรียนที่ สำคัญที่ได้จากคุณสรยุทธคือ การมีตำแหน่งไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ดีกว่าและที่จริงแล้วการที่มีตำแหน่ง ก็คงได้เปรียบกว่าการไม่มีตำแหน่ง""

Saturday, September 10, 2011

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุข

statistics of happiness

ผลการศึกษายังพบอีกว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคนแบ่งออกเป็นตัวแปรด้านจุลภาคและมหภาค ในกลุ่มตัวแปรจุลภาคที่ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีงานทำและระดับรายได้ เพศหญิงมีความสุขมากกว่าชาย, คนที่มีความสุขน้อยที่สุดอยู่ที่อายุประมาณ 52 ปี, คนที่อยู่ด้วยกัน หรือคู่แต่งงาน มีความสุขมากกว่าคนที่เป็นโสด และหย่าร้างตามลำดับ, และระดับการศึกษา และระดับรายได้ยิ่งสูง ยิ่งทำให้คนมีความสุขมากขึ้น

สำหรับตัวแปรมหภาคที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคน คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน  และอัตราเงินเฟ้อ โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสุข ในขณะที่อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อสัมพันธ์ทางลบ กับระดับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ผมยังพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับ

ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้สนใจเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมือง และทบทวนเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นเป้าหมายต่างๆ อย่างสมดุล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนไทยมีระดับความสุขมากขึ้น

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ส่วนหนึ่งของบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549


บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

คนไทยมีความสุขน้อยลง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ส่วนหนึ่งของบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

แนวคิดการพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบัน กำลังเกิดกระแสความไม่เห็นด้วย กับการเน้นเป้าหมาย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงเป้าหมายเดียว และมีความพยายามที่จะเสนอให้เปลี่ยนเป้าหมายการพัฒนา ไปสู่การเน้นความสุขของประชาชนในประเทศ หรือความสุขโดยรวมของประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH)

ในความเป็นจริง ผมมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขมาเป็นเวลานานแล้ว และที่ผ่านมา ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศไทย” ซึ่งเป็นงานวิจัยตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนรุ่นที่ 5 ของสถาบันพระปกเกล้า

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ทำการพัฒนาดัชนีความสุข (Happiness Index) โดยหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น กับความสุขของประชากรไทย เพื่อจะนำไปสู่การบริหารประเทศ ที่มุ่งความสุขของประชากรโดยตรง

บทความจาก Professor Kriengsak Chareonwongsak
ดัชนีความสุขนี้พัฒนาขึ้นจากแบบจำลอง (Model) ทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ฐานข้อมูลจากการสำรวจค่านิยมของคนในโลก (World Values Survey) มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ที่จัดทำโดย International Network of Social Scientists ซึ่งทำการสำรวจมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง

ผลการศึกษาพบว่า ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 คนไทยประมาณ 1.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 2.1 ที่เคยมีความสุขมาก กลับมีความสุขลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขณะที่คนไทยที่ค่อนข้างมีความสุขมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนคนที่ไม่ค่อยมีความสุข และคนที่ไม่มีความสุขเลยมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 (ตารางที่ 1)

Wednesday, September 7, 2011

สอน “ทักษะแก้ปัญหา” ให้เด็กไทย


สอน “ทักษะแก้ปัญหา” ให้เด็กไทย
ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
                                     
ปัจจุบันมีหลายเหตุการณ์ ที่สะท้อนให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมาก ขาดทักษะการแก้ปัญหาชีวิต พิจารณาจากเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือผลงานวิจัย อาทิ เด็กวัยรุ่นผิดหวังในความรักหาทางออกโดยการยิงตัวตายหรือกระโดดตึกตาย เด็กมัธยมปลายฆ่าตัวตายเพราะไม่ได้เรียนในคณะที่คาดหวังไว้ ฯลฯ โครงการ Child Watch โดยสถาบันรามจิตติ ได้สรุปสภาวการณ์เด็กไทยด้านต่าง ๆ ไว้ในช่วงปี             2548-2549       ด้านภาวะสุขภาพจิตของเด็กไทย พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็น 40 คนต่อแสนคน หรือคิดเป็นจำนวนเยาวชนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 7,800 คน หรือเฉลี่ยวันละ 21 คน และที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 800 หรือเฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้อธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า เกิดจากอาการซึมเศร้าซึ่งมาจากความวิตกกังวลและไม่สามารถจัดการกับปัญหาตนเองได้
การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามอายุ โดยเด็กอายุ 3 ขวบ เริ่มมีพัฒนาการด้านนี้แล้ว ขึ้นกับว่าระหว่างที่เด็กเจริญเติบโตนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา อาทิ เด็กอาจมีความจำกัดในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดความอดทนในการบรรลุเป้าหมายการเอาชนะปัญหา และขาดความเข้าใจปัญหาในเชิงเหตุผล ในขณะที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ไม่ได้มีความเข้าใจและมีวิธีการพัฒนาทักษะของเด็กในการแก้ปัญหาตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม
บทความนี้ นำเสนอตัวอย่างหลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต่างประเทศมีหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการสอนในครอบครัว
ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Program: CPS) พัฒนาโดย Donald J. Treffinger, Scott G. Isaksen, & K. Brian Dorval ซึ่งเป็นกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการมีความเข้าใจในตัวปัญหา การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกของปัญหาในมุมของความเป็นไปได้ และการวางแผนในภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โปรแกรม ICPS (I Can Problem Solve) พัฒนาโดย Myma B. Shure, Ph.D. จาก Mental Health Services, DuPage County Health Department Wheaton, Illinois เป็นบทเรียนที่ใช้ปูพื้นฐาน และฝึกฝนทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับผู้เรียน
ตัวอย่างหลักสูตรและโปรแกรมดังกล่าว มีลักษณะร่วมดังนี้
ฝึกผู้เรียนให้คิดและมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อปัญหา โดยสอนผู้เรียนให้มองปัญหาอย่างสมจริง ไม่ใช่ตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ไม่มองเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือในทางตรงข้าม ไม่เพิกเฉยต่อปัญหา แต่ลงมือแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ และปัญหาสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ จนสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่อดทนสามารถเอาชนะปัญหาได้
ฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการฝึกทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน อาทิ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง ทักษะการคิดเชิงตรรกะ การเชื่อมโยงเหตุและผล เพื่อนำมาเปรียบเทียบ หาผลกระทบ หาทางเลือกที่ดีที่สุดและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยก่อให้เกิดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย
วิธีการใช้ชุดคำถามที่สามารถใช้ผ่านชีวิตประจำวัน อาทิ ชุดคำถามจำพวก “มีอะไรอีกไหม”  “มีทางอื่นอีกไหม” เพื่อฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ขยายกรอบความคิดให้กว้างไกลกว่าเดิม ชุดคำถามจำพวก “ก่อน...หลัง”   “ถ้า...แล้ว”   “ขณะนี้...หลังจากนี้” “เหมือน...ต่าง”  “ทำไม...เพราะ” เพื่อฝึกฝนการใช้ตรรกกะ การใช้เหตุและผล การกลั่นกรองเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถใช้การเล่นบทบาทสมมติ เล่านิทาน หรือภาพยนตร์ ละคร และข่าว เป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหา โดยใช้คำถามง่าย ๆ เช่น หากเราเป็นบุคคลนั้น เราจะตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร? ถ้าเจอปัญหาแบบคนที่อยู่ในข่าวจะหาทางออกให้กับตัวเองอย่างไร? เป็นต้น
ฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการเข้าใจผู้อื่น เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของปัญหามักมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การฝึกการคิดคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกการคิดอย่างรอบคอบว่า เราควรใช้แนวทางแก้ปัญหาแบบใดที่ไม่ทำให้ผู้อื่นต้องรู้สึกไม่พอใจจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง นอกจากนี้ เป็นการตระหนักรู้ในอารมณ์ความรู้สึกของตนเองว่ามีอารมณ์และลักษณะนิสัยแบบใด ที่เป็นจุดอ่อนซึ่งสร้างความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย เช่น เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย จุกจิก ฯลฯ อาจใช้ชุดคำศัพท์หรือชุดคำถามจำพวก “ยุติธรรมหรือไม่”  “หากเราทำเช่นนี้แล้ว...เขาจะรู้สึกอย่างไร” “หากเขาทำเช่นนั้นกับเรา...เราจะรู้สึกอย่างไร” เป็นต้น เพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น
นอกจากนี้ ระหว่างฝึกทักษะการแก้ปัญหาในภาคปฏิบัติ ครูจะไม่ตัดสินความคิดเห็นผู้เรียนว่าดีหรือไม่ดี แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้ลึกที่สุด โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงเหตุและผล หากครูรีบตัดสินความคิดของผู้เรียนมาเกินไป ผู้เรียนจะสร้างกลไกการป้องกันตนเอง และไม่กล้าแสดงความคิด
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสมจนเกิดผลเสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้ และอาจพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมส่วนรวมได้

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ : ความต้องการจะตายที่ถูกกฎหมาย

 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในมาตรา10 ที่ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณะสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต…”
              ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสิทธิที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณะสุขไม่ได้หมายถึง การขอให้แพทย์ฆ่าตนเองให้ตาย (การุณยฆาต) ซึ่งเรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นถกเถียงในหลายประเทศว่า คนไข้หรือญาติของคนไข้นั้นมีสิทธิหรือไม่ที่จะตัดสินใจที่จะไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไป โดยสามารถขอให้แพทย์ฉีดยาหรือทำวิธีการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้ตนเองตายอย่างไร้ความทรมาน
              สำหรับประเด็นการอนุญาตให้คนไข้สามารถปฏิเสธที่จะรับการรักษา หากเป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ผมคิดว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องมีความละเอียดอ่อนมากและผมยังไม่เห็นด้วยกับการให้สิทธิดังกล่าวแก่หมอและคนไข้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

              แพทย์แต่ละคนมีมาตรฐานการวินิจฉัยไม่เหมือนกัน

เนื้อหาในร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนว่า ใครคือผู้อำนาจในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย และอะไรคือจุดที่ตัดสินว่าเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากแพทย์แต่ละคนมีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ที่เรียนมา ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยของแพทย์แต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน
ในบางครั้งเราอาจได้ยินข่าวหรือเห็นตัวอย่างคนไข้ที่เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลหนึ่งแต่ไม่หาย และหมออาจจะบอกว่าไม่มีทางรอดและให้คนไข้ทำใจ แต่หลังจากย้ายโรงพยาบาลหรือเปลี่ยนหมอ คนไข้กลับหายจากโรคและรอดตาย ผมเกรงความรู้ของแพทย์ที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้คนไข้หลายคนตัดสินใจผิดพลาด โดยไม่ยอมรับการรักษา เพราะอาจเชื่อฟังคำพูดของหมอว่าการรักษาเป็นเพียงการยืดเวลาตายออกไปเท่านั้น แต่หมอท่านอื่นอาจมีความสามารถและวิธีการที่รักษาให้หายได้
              เทคโนโลยีการรักษามีการพัฒนารวดเร็ว
              กฎหมายดังกล่าวอาจละเลยประเด็นเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบัเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนเราอาจคิดไม่ถึง โรคที่ยังไม่สามารถรักษาหายได้ในปัจจุบัน อาจจะมีเทคโนโลยีที่สามารถรักษาให้หายได้ในอนาคต
             ดังตัวอย่างของวัณโรคซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล จนหลายคนคิดว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาได้ คนที่เป็นโรคนี้ต้องตายสถานเดียวเท่านั้น! แต่ในที่สุดได้มีผู้ค้นพบวิธีการรักษาวัณโรคให้หายได้
              เช่นเดียวกับโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ คนที่กลายเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา ซึ่งในปัจจุบันเชื่อกันว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้ หากแพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจออก คนไข้จะเสียชีวิตทันที แต่คำถามคือ เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ในอนาคตจะไม่มีการคิดค้นวิธีรักษาให้หายได้
              คนไข้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีพอ
             ผมไม่เชื่อว่าคนไข้ที่ป่วยหนักอยู่ประกอบกับไม่มีความรู้ทางการแพทย์จะอยู่ในสภาวะที่สามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด ดังนั้นกฎหมายไม่ควรจะให้คนไข้ตัดสินใจ เพราะคนไข้ที่ใกล้ตายมักจะอยู่ในความทุกข์ทรมานมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะตัดสินใจอย่างไม่ถูกต้อง โดยใช้อารมณ์ความรู้สึก
              บางคนอาจจะแย้งว่าบางประเทศอนุญาตให้คนป่วยทำหนังสือแสดงความประสงค์ไว้ก่อล่วงหน้า ในขณะที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายกับตัวเอง หรือยังมีอาการป่วยไม่รุนแรงมาก แล้วหากวันหนึ่งวันใดที่ตัวเองนอนป่วยอาการหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง ญาติพี่น้องอาจจะนำหนังสือดังกล่าวนั้นแสดงให้แพทย์ได้ทราบว่า คนไข้ไม่ต้องการรับการรักษา การอนุญาตให้คนไข้ตัดสินใจเช่นนี้ ยังคงเป็นการตัดสินใจโดยมีข้อมูลและความรู้ที่ไม่ครบถ้วน เพราะคนไข้ไม่รู้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่สามารถรักษาโรคให้หายได้ในอนาคตหรือไม่ และไม่มีความรู้เรื่องการแพทย์ดีพอ
              ก่อให้เกิดความเสียหายต่อศีลธรรมในสังคม
             ผมเห็นว่ากฎหมายข้อนี้ยังมีช่องว่างมากและหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม การให้คนไข้ปฏิเสธไม่รับการรักษาไม่แตกต่างจากการอนุญาตให้คนไข้ตัดสินฆ่าตัวตายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพียงแต่ผู้เป็นแพทย์ไม่ใช่ผู้ที่ลงมือกระทำเท่านั้นเอง เพราะแพทย์ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าหากคนไข้ไม่ยอมให้รักษาเขาจะต้องตายอย่างแน่นอน แต่การรับรักษาต่อไปอาจทำให้คนไข้มีโอกาสรอด หรืออย่างน้อยอาจจะยืดอายุเพื่อรอการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาใหม่ ๆ
             กฎหมายดังกล่าวอาจทำให้จริยธรรมของแพทย์เสียหายได้ในอนาคตหากแพทย์เห็นว่าคนไข้อาการหนักอาจเลี่ยงไม่ใช้พยายามรักษาคนไข้อย่างเต็มความสามารถ หรือคนไข้ที่อยู่ในโครงการรักษาฟรี แพทย์อาจจะพยายามลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล โดยการวินิจฉัยว่าไม่มีโอกาสกาสรอด
              ประการสำคัญ หากกฎหมายดังกล่าวถูกประกาศใช้ จะทำให้มาตรฐานทางศีลธรรมของสังคมเริ่มเสื่อมลง โดยกฎหมายฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนในสังคมเริ่มยอมรับการฆ่าตัวตายโดยการอ้างเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ มากขึ้น และในที่สุดจะนำไปสู่การยอมรับการกระทำที่มีน้ำหนักความรุนแรงต่อศีลธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำแท้ง การุณ์ยฆาต เป็นต้น
              สภานิติบัญญัติแห่งชาติจำเป็นต้องคิดให้จงหนักและรอบคอบ เพราะกฎหมายฉบับนี้อาจกลายเป็นใบอนุญาตฆ่าชีวิตคนเพราะความไม่รู้หรือไม่ได้ตั้งใจ

ขอบคุณบทความ จาก http://www.oknation.net/blog/kriengsak

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Monday, August 22, 2011

Hope you enjoy the luncheon with Dr. Kriengsak Chareonwongsak


Hope you enjoy the luncheon with Dr. Kriengsak Chareonwongsak

kriengsak-chareonwongsak-hope-verdict

The luncheon reveals Siamara and dr Kriengsak Chareonwongsak’s verdict

From the invitation below
Dear NFS member,Our next meeting and NFS Luncheon will take place at Los Cabos Mexican Restaurant, Sukhumvit soi 14 (just 2 minutes walk from Asoke BTS or MRT on the same side as the Sheraton Grande) on Wednesday February March 24th from noon-13.30. Dr Kriengsak Chareonwongsakrenowned economist, author and politician the day’s topic being: “Siam Araya”.
Come to enjoy the Los Cabos sumptuous lunch buffet designed to stimulate your taste buds and get a chance to attend a rare presentation with Thai society at present is facing many political, economic and social problems that have all been accumulating for a long time. As time passes, these problems are becoming more serious and intense, with clearly recognizable symptoms arising in some cases, for example in social conflict and disharmony, corruption, a crisis of moral decline, collapse of the family institution, greedy media control, and so on. These signs show that the time has come for Thailand to adjust to a new developmental framework because the existing framework is proving unworkable and the country’s problems will therefore never be solved.
Siam Araya (Thai Civility) originates as a combination of two specific words,  “Siam” and “Araya.” We are all familiar with the word “Siam” as our country’s name before it was changed to “Thailand” during Prime Minister Field Marshal Por Piboonsongkram’s time. Until now, the word “Siam” is still embedded in Thai consciousness and generally used in society.
The word, “Araya” in our case refers to prosperity that is balanced to cover every area of life, whether one’s physical wellbeing or life quality, mental and moral wellbeing, or in relation to sustainable long-term development along with urgent short-term needs. So, combining these two words together as “Siam Araya,” will mean developing Thailand toward prosperity in every dimension, by all means to benefit all groups of people, with no one suffering neglect. Moreover, there will be unity in diversity and peaceful agreement will exist between people.
Professor Kriengsak Chareonwongsak is a Senior Fellow at Harvard Kennedy School, USA; an elected member of the Harvard Kennedy School Alumni Association Board of Directors; and a Fellow at Said Business School, University of OxfordProfessor Kriengsak was a Prime Ministerial Advisor in Thailand, an Executive Board member of the Democrat Party and a Member of Parliament, Vice Chair of the Economic Development Committee in the House of Representatives. Currently, he is President of the Institute of Future Studies for Development, (IFD); and as a businessman, is Chairman of Success Group of Companies, a conglomerate of businesses, diversified into many fields of investment. He also chairs the Lao-Thai Business Corporation. In 1981 he graduated from Monash University, Australia with First Class Honours, and an Economics PhD. He obtained a Master of Public Administration degree from Harvard University, USA; and holds a Master Degree, from Judge Business School at the University of Cambridge, UK; having also completed Post doctoral studies at the University of Oxford, UK. He has held various university teaching positions. He is an Eminent Member of the Education Council on Standard and Quality Assurance, of the Office of the National Education Commission, and has also filled fifty other positions in a number of national organizations and committees; for example he was advisor to the President of the National Assembly and advisor to many Ministers in various governments. He was an elected member of the National Economic and Social Advisory Council (NESAC), a constitutional body that advises the Thai cabinet, and was Chairman of NESAC’s Education, Religion, Arts, and Culture Commission, as well as Vice Chairman of the NESAC Economic, Commerce, and Industry Commission. Prof. Kriengsak Chareonwongsak is the author of two hundred books. He is a popular radio and TV commentator and a newspaper and magazine columnist, discussing political and economic issues of current concern. His perspectives are often highlighted in interviews both in Thailand and overseas
This is a rare opportunity to listen to such an eminent specialist on Thai Economy and benefit from his views on the future of Thailand in these tumultuous times….
We hope to see you all on Wednesday…you’re in for a fabulous treat both intellectual and gastronomical!
NFS luncheon is 100 baht for members and 300 baht for non members including the luncheon, membership for one year costs 2,500 baht.
Until the new networking page is available on the Midas-PR website please book directly with me or Dan.
Karin & Dan
Link

Thursday, August 4, 2011

ระบบประกันสังคมไม่เท่าเทียมกับระบบประกันสุขภาพ

ไม่ใช่รอจนคนมาประท้วงว่าทำไมเขาไม่ได้สิ่งที่ควรได้เหมือนกับอีกกลุ่มหนึ่ง เขาก็ต้องจ่ายเงินสมทบ 5 % เขาก็ไม่มีสิทธิเลือกโรงพยาบาล เงินจำนวนมากก็ไปอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนที่จ่ายเหมารายหัวและก็ไม่ได้คืน เมื่อระบบมันลักลั่นกัน ผู้บริหารประเทศที่ดูแลเรื่องสุขภาพก็รู้อยู่แล้ว ว่าระบบมันลักลั่นกันมาก เมื่อมันมีหลายระบบเหลือเกิน แน่นอนรอยต่ออาจจะทำทันทีให้ทุกคนมีระบบเดียวกันไม่ได้ แต่มันต้องมีแผนในการเดินหน้าอย่างรวดเร็วว่าจะขยับอย่างไร เพื่อทำให้ระบบทั้งระบบเป็นระบบเดียวกันหมด ไม่ต้องรอให้คนมาประท้วง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ยกปัญหาใหญ่ในสังคมไทย คือต้องรอหลังชนฝาแล้วค่อยแก้ปัญหา ไฟลนก้นแล้วค่อยลุกขึ้นมาทำอะไร แล้วปัญหาจำนวนมากสร้างความเดือดร้อนหรือความรู้สึกไม่ดีให้กับประชาชนโดยไม่จำเป็นเลย เมื่อรู้อยู่แล้วก็เดินหน้าเต็มที่แก้ปัญหาตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันปัญหามากกว่าตามแก้ปัญหา และนี่ตัวอย่างนิสัยของการบริหารในสังคมไทยที่ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์อยากฝาก ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เห็นใจอยู่นะครับว่าผู้ทำงานบางครั้งก็อาจจะงานเยอะและก็อาจจะมีเรื่องมากมายต้องพิจารณา แต่เราต้องคำนึงครับ ระบบใหญ่ๆ แบบนี้ต้องรีบวางแผน และดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ไม่อยากเห็นสังคมไทยอยากได้อะไรต้องมาประท้วง ต้องมาแสดงความไม่พอใจ ถึงจะได้รับความสนใจ


มันก็เกิดวัฒนธรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้นมาว่า อยากให้ได้รับความเห็นใจ การแก้ปัญหาต้องมาประท้วงและแสดงออกรุนแรง ต้องให้สื่อมาถ่ายทำ ต้องให้สื่อเขียนถึง ต้องให้เป็นประเด็นกระแสถึงจะได้รับการแก้ไข นี่คือตัวอย่างของเรื่องที่เราขาดการบริหารจัดการอย่างมองการณ์ไกล ป้องกันปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่างมีกลยุทธ์และแผนงานมากและรวดเร็วเพียงพอ และไปรอให้เกิดปัญหา ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ว่าไม่ควรเกิดอย่างนี้อีกแล้วในเรื่องต่างๆ การบริหารที่ดีจะต้องวัดประสิทธิภาพด้วยการป้องกันปัญหาให้มากๆ ด้วยครับ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

Wednesday, August 3, 2011

หลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา

ปัจจุบันมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยจำนวนมากขาดทักษะการแก้ปัญหาชีวิต อาทิ เด็กวัยรุ่นผิดหวังในความรักหรือเรื่องเรียนหาทางออกโดยการฆ่าตัวตาย โครงการ Child Watch โดยสถาบันรามจิตติ ได้สรุปสภาวการณ์เด็กไทยด้านต่าง ๆ ไว้ในช่วงปี 2548-2549 ด้านภาวะสุขภาพจิตของเด็กไทย พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็น 40 คนต่อแสนคน หรือคิดเป็นจำนวนเยาวชนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 7,800 คน หรือเฉลี่ยวันละ 21 คน และที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 800 หรือเฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้อธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า เกิดจากอาการซึมเศร้าซึ่งมาจากความวิตกกังวล และไม่สามารถจัดการกับปัญหาตนเองได้

การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามอายุ โดยเด็กอายุ 3 ขวบ เริ่มมีพัฒนาการด้านนี้แล้ว ขึ้นกับว่าระหว่างที่เด็กเจริญเติบโตนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอาทิ เด็กมีความจำกัดในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดความอดทนในการเอาชนะปัญหา และขาดความเข้าใจปัญหา ขณะที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาไม่ได้มีความเข้าใจ และมีวิธีการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาให้แก่เด็กอย่างถูกต้อง

ศาตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ขอนำเสนอตัวอย่างหลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการสอนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต่างประเทศมีหลักสูตรดังกล่าวแล้ว

ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Program: CPS) พัฒนาโดย Donald J. Treffinger, Scott G. Isaksen, amp; K. Brian Dorval ซึ่งเป็นกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการมีความเข้าใจในตัวปัญหา การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกของปัญหาในมุมของความเป็นไปได้ และการวางแผนในภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โปรแกรม ICPS (I Can Problem Solve) พัฒนาโดย Myma B. Shure, Ph.D. จาก Mental Health Services, DuPage County Health Department Wheaton, Illinois เป็นบทเรียนที่ใช้ปูพื้นฐาน และฝึกฝนทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับผู้เรียน ซึ่งตัวอย่างหลักสูตรและโปรแกรมดังกล่าว มีลักษณะร่วมดังนี้

ฝึกการมองปัญหาอย่างถูกต้องโดยสอนผู้เรียนให้มองปัญหาอย่างสมจริง ไม่ใช่ตื่นตระหนกจนเกินไป ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ขณะเดียวกัน ก็ไม่เพิกเฉยต่อปัญหา แต่ลงมือแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ และปัญหาสามารถช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่อดทนสามารถเอาชนะปัญหาได้

ฝึกทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการฝึกทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน อาทิ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง ทักษะการคิดเชิงตรรกะ การเชื่อมโยงเหตุและผล เพื่อนำมาเปรียบเทียบ หาผลกระทบ หาทางเลือกที่ดีที่สุดและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยก่อให้เกิดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย
วิธีการใช้ชุดคำถามที่สามารถใช้ผ่านชีวิตประจำวัน อาทิ ชุดคำถามจำพวก

  • มีอะไรอีกไหม
  • มีทางอื่นอีกไหม

เพื่อฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ขยายกรอบความคิดให้กว้างไกลกว่าเดิม ชุดคำถามจำพวก

  • ก่อน...หลัง
  • ถ้า...แล้ว
  • ขณะนี้...หลังจากนี้
  • เหมือน...ต่าง
  • ทำไม...เพราะ

เพื่อฝึกฝนการใช้เหตุและผล การกลั่นกรองเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถใช้การเล่นบทบาทสมมติ เล่านิทาน หรือภาพยนตร์ ละคร และข่าว เป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหา โดยใช้คำถามง่าย ๆ เช่น หากเราเป็นบุคคลนั้น เราจะตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร? ถ้าเจอปัญหาแบบคนที่อยู่ในข่าวจะหาทางออกให้กับตัวเองอย่างไร? เป็นต้น

ฝึกการเข้าใจผู้อื่น องค์ประกอบส่วนใหญ่ของปัญหา มักมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การฝึกการคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกการคิดอย่างรอบคอบว่า เราควรใช้การแก้ปัญหาแบบใดที่ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง นอกจากนี้ เป็นการรู้ทันอารมณ์ความรู้สึก และนิสัยของตนว่า เป็นจุดอ่อนที่สร้างความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่ายหรือไม่ เช่น เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย จุกจิก ฯลฯ อาจใช้ชุดคำศัพท์หรือชุดคำถามจำพวก
ยุติธรรมหรือไม่

  • หากเราทำเช่นนี้แล้ว...เขาจะรู้สึกอย่างไร
  • หากเขาทำเช่นนั้นกับเรา...เราจะรู้สึกอย่างไร

เป็นต้นเพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น

ที่สำคัญ ระหว่างฝึกทักษะภาคปฏิบัติ ครูจะไม่ตัดสินความคิดเห็นผู้เรียนว่าดีหรือไม่ดี แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้ลึกที่สุด โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงเหตุและผล หากครูรีบตัดสินความคิดของผู้เรียนมาเกินไป ผู้เรียนจะสร้างกลไกการป้องกันตนเอง และไม่กล้าแสดงความคิด

ทักษะการแก้ปัญหา เป็นทักษะที่จำเป็นต้องสร้างในเด็กไทย เพื่อให้เด็กไทยมีความสามารถในการเผชิญปัญหา มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสม จนเกิดผลเสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้ ซึ่งจะส่งผลดีในอนาคตคือ ประเทศจะมีคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับประเทศ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

Wednesday, July 20, 2011

“สมดุลวิถี” ทางออกประเทศไทย โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

สมานฉันท์เป็นสิ่งที่ดีและเราใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้น แต่สมานฉันท์ ไม่เพียงพอแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพราะเป็นเพียงการแก้ “อาการ” ของโรค แต่ไม่ได้แก้ “สาเหตุ” แท้จริงที่ก่อให้เกิดโรค เราต้องไปไกล
กว่านั้น นั่นคือ การสร้าง “สมดุลวิถี” หรือการสร้างสมดุลแห่งชาติ
การมองหาสมานฉันท์แห่งชาติ โดยไม่เข้าใจความสมดุลในชาติ หรือ วิถีที่สมดุลเราจะหลงทางและ
จะแก้ไม่ได้เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สมดุลวิถีคืออะไร?





สมดุลวิถี คือ การสร้างสมดุล 3 ด้าน คือ สมดุลทางอำนาจ สมดุลทางเศรษฐกิจ และสมดุลทางสังคม
ให้กับภาคี 5 ภาคีซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในสังคมไทย ได้แก่ ภาคีการเมือง ภาคีข้าราชการ ภาคีนักธุรกิจ ภาคี
นักวิชาการ และภาคีประชาชน ให้ทุกฝ่ายได้รับการเฉลี่ยอำนาจ ผลประโยชน์ และมีที่ยืนทางสังคมอย่าง
เหมาะสม

สมดุลทางอำนาจ หมายถึง สมดุลทางการเมือง ถ้าผู้ถืออำนาจไม่แบ่งอำนาจทางการเมืองให้สมดุล
อย่างเหมาะสมแต่ยึดอำนาจหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้คนบางกลุ่ม
เกิดความรู้สึกไร้อำนาจ ถูกปิดกั้นเสรีภาพ ถูกกดขี่ข่มเหง หรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค



เมื่อสมดุลอำนาจบกพร่องไป ย่อมนำมาซึ่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องแย่งชิงอำนาจกลับคืนมา ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างสมดุลทางอำนาจได้อย่างเหมาะสมจะสลายความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว

สมดุลทางเศรษฐกิจ หมายถึงสมดุลทางผลประโยชน์ คำกล่าวที่ว่า “ผลประโยชน์ขัดกันต้อง
บรรลัย” ยังคงเป็นจริงในทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้คนรบราฆ่าฟันกันตลอดประวัติศาสตร์
โลกที่ผ่านมา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่ขาดภาวะสมดุลทางผลประโยชน์ ผู้ถืออำนาจ
ไม่เฉลี่ยแบ่งผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง อย่างสมเหตุสมผล กลุ่มที่เสียประโยชน์จะออกมาเรียกร้องต่อต้าน
แต่หากสามารถสร้างสมดุลทางผลประโยชน์อย่างลงตัว ย่อมลดปัญหาความขัดแย้งลงได้

สมดุลทางสังคม หมายถึง สมดุลในพื้นที่ทางสังคม มี “ที่ยืน” ในสังคมในตำแหน่งแห่งที่ที่มี
เกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกันหรือได้รับการปฏิบัติเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง หรือมีการใช้หลักปฏิบัติสองมาตรฐาน
ถูกกีดกันมิให้มีที่ยืนในสังคม สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป การปฏิบัติเช่นนี้
ก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจ เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และแน่นอนว่า ย่อมตามมาซึ่ง
ความขัดแย้งและการต่อต้านด้วยความรุนแรง เพื่อแย่งชิงพื้นทื่ทางสังคมคืนมา ...

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)


ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 18 มกราคม 2554

Monday, July 18, 2011

ความสำคัญของคำพูด

คำพูดเปรียบเสมือน "อาญาสิทธิ์" ที่มีอิทธิพลในการ กำหนดชีวิตเรา ความสุขหรือความทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับทุกคำพูดที่เรา กล่าวออกไปและทุกคำพูดที่เรารับเข้ามาในชีวิต

คำกล่าวข้างต้นเป็นข้อความตอนหนึ่ง ที่ผมเขียนไว้ใน หนังสือ "สุขวาทะ วาทะสร้างสุขในชีวิต" สะท้อนให้เห็นถึง ความสำคัญของคำ

พูดที่ดีและความร้ายแรงของคำพูดที่ไม่ดี ผมสังเกตว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชีวิตครอบครัวในปัจจุบันต้องล่มสลาย หรืออยู่ด้วยกันอย่างไร้ความสุข มาจากการใช้คำพูด "ทุกขวาทะ" ของสามีหรือภรรยา

เมื่อลองสำรวจคำพูดที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวทั่วๆ ไปของสังคมเรา ผมก็พบว่า "ปาก" หรือคำพูดที่สามีภรรยากล่าวออกมานั้นเป็นเหมือน "ศัตรูร้าย" ที่ลักลอบเข้ามาบั่นทอนสัมพันธภาพ และบางครั้งถึงขนาดทำลายครอบครัวได้สำเร็จไปเป็นจำนวนไม่น้อย



ครอบครัว…จู้จี้ขี้บ่น

…เมื่อภรรยากลับจากไปธุระนอกบ้าน เปิดประตูบ้านเข้ามาเห็นบ้านรกมาก ข้าวของวางเกลื่อนพื้นห้องรับแขก ลูกๆ เล่นของเล่นเสร็จก็ไม่เก็บเข้าที่ โต๊ะเก้าอี้กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซ้ำร้าย…สามีสุดที่รักก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์อย่างมีความสุข ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ด้วยความอดรนทนไม่ได้ ภรรยาจึงเริ่ม บ่น บ่น บ่น และบ่นมากขึ้น อีกทั้งพยายามจัดแจง และสั่งการสมาชิกภายในบ้านว่าคนนั้นจะต้องทำสิ่งนั้น คนนี้ต้องทำอย่างนี้ แม้ว่าทุกคนจะทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสียงบ่นก็ยังไม่ได้ยุติลงแต่เริ่มลามไปสู่เรื่องใหม่ในทันทีที่สายตาของเธอกวาดไปเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่ไม่อยู่ในร่องในรอย

สำหรับสามีแล้ว เสียงบ่นของภรรยาเป็นเหมือนเสียงของผึ้งเป็นฝูงๆ ที่บินมารุมตอมดัง "หึ่ง หึ่ง หึ่ง" และทุกครั้งที่ได้ยิน ก็จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเหมือนถูกผึ้งต่อย เขาเองไม่ชอบอยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้เลย และคิดเสมอว่าสักวันจะต้องทนไม่ได้ อาจเกิดการตอบโต้รุนแรงหรือไม่ก็ต่างคนต่างอยู่ไปเสียเลย ในยามว่างเขามักจะหวนคิดถึงภาพภรรยาคนเดิมที่แต่ก่อนไม่จู้จี้ขี้บ่นและอยากให้เธอคนนั้นกลับคืนมา

ครอบครัว…บั่นทอนกำลังใจ

…เมื่อสามีคิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ ภรรยาก็พูดอย่างดูถูกดูแคลนว่า
"ยังไม่เข็ดอีกหรือ ทำธุรกิจทีไรขาดทุนทุกที ยังคิดจะเริ่มต้นใหม่อีก ฉันว่าน่าจะไปสมัครทำงานเป็นลูกจ้างเขาจะดีกว่านะ"

คำพูดของภรรยาทำให้สามีรู้สึกเสียใจ หมดกำลังใจและสูญเสียความมั่นใจที่จะเริ่มต้น สร้างฐานะใหม่ ดังนั้นแม้ว่าเขาจะยังคงตัดสินใจเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป แต่ก็ทำด้วยความหดหู่ หมดกำลังใจ เพราะเขาต้องทนกับคำเยาะเย้ยของภรรยาแทนคำสนับสนุนและให้กำลังใจ

คำพูดของภรรยาทำให้สามีตกอยู่ในสภาพเหมือนคนที่ขับรถในความมืด ซึ่งนอกจากไม่รู้ หนทางข้างหน้าจะเป็นเช่นไรแล้ว ยังมีคนที่นั่งข้างๆ คอยพูดกรอกหูตลอดเวลาว่ามีเหวลึกอยู่เบื้องหน้า ขับต่อไปรังแต่จะตกเหวตายเท่านั้น เขาจึงขับไปกลัวไป และในที่สุดก็ต้องจอดไม่กล้าขับไป จนถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

สามีภรรยานั้นเมื่ออยู่ด้วยกันไปนานวันเข้าย่อมรู้จักนิสัยใจคอกันดีขึ้นสิ่งไม่ดีซึ่งเคยมองข้าม หรือมองไม่เห็นก่อนแต่งงาน กลับค่อยๆ ผุดขึ้นตามวันเวลาที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นเหตุให้เกิดความไม่ชอบ ไม่พอใจ ความรู้สึกไม่ดีเหล่านี้ถูกสะสมพอกพูนจนกลั่นกรองกลายเป็นคำพูดที่มุ่งส่อเสียด ดูถูกดูแคลน และตอกย้ำข้อบกพร่องผิดพลาดของอีกฝ่ายหนึ่งอยู่เสมอ

คำพูดที่คอยบั่นทอนกำลังใจเหล่านี้นอกจากจะทำให้คนในครอบครัวสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองแล้ว ยังเป็นคำพูดที่ดูถูกศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคน ซึ่งไม่มีใครที่รับฟังแล้วจะสามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีกำลังใจและมีความสุขต่อไป

ครอบครัว…ถามคำ-ตอบคำ

…สามีและภรรยาเมื่อกลับมาถึงบ้าน ต่างคนก็ต่างทำภารกิจประจำวันของตนตามหน้าที่ ไม่ได้มีเรื่องขัดเคืองใจกัน เพียงแต่ไม่มีเรื่องอะไรจะคุยกันเท่านั้น เรียกได้ว่าบ้านหลังนี้ "จิ้งจก" คุยเก่งที่สุดในบ้านเพราะสามีภรรยาแทบจะไม่ได้พูดคุยหรือสื่อสารอะไรกันเลย

สามีภรรยาที่แต่งงานกันไปนานๆ จะพบปัญหาหนึ่งก็คือไม่รู้จะพูดอะไรกันไม่มีเรื่องจะคุยกัน เพราะพบเห็นหน้ากันทุกวัน แต่กิจวัตรประจำวันทั้งในที่ทำงานและที่บ้านต่างคนต่างทำ ไม่เกี่ยวข้องกันและไม่อยากให้เกี่ยวข้องกันด้วย ดังนั้นเรื่องที่จะสนทนากันจึงตื้นเขิน และไม่มีสาระเมื่อพูดคุยเพียงไม่กี่ประโยคก็จบแล้ว ความเงียบจึงเข้าครอบครองเป็นเจ้าของบ้านนี้อยู่เสมอ ในที่สุดก็อาจกลายเป็นความเบื่อหน่ายที่ต้องพบกับความรู้สึกห่างเหิน ซ้ำซากจำเจ ชีวิตครอบครัวไม่ได้นำมาซึ่งความสุขอย่างที่ทั้งสองคนเคยคิด

ครอบครัว…ต่อว่าด่าทอ

…เมื่อภรรยารู้ว่าสามีพูดปดหรือทำงานบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สมควรหรือทำบางสิ่งให้ภรรยาโกรธอย่างมาก ภรรยาจึงตรงรี่เข้าไปต่อว่าสามีอย่างเสียๆ หายๆ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงด้วยอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เหมือนข้าศึกเข้าจู่โจมศัตรูอย่างไม่มันตั้งตัว โดยใช้ปากเป็นอาวุธสาดกระสุนชุดใหญ่เข้าใส่อีกฝ่ายหนึ่ง

กระสุนแห่งคำผรุสวาท คำหยาบคายที่ออกมาจากปากที่ครั้งหนึ่งเคยโปรยดอกไม้หอมให้แก่กัน เป็นกระสุนที่ทำให้ความรักในชีวิตสมรสถูกทำลาย หัวใจตายด้าน และรุกเร้าอารมณ์โกรธที่รุนแรงให้เกิดขึ้น สามีที่เคยนิ่งสงบอาจจะไม่สามารถทนนิ่งเงียบได้อีกต่อไป และยิ่งกระสุนนั้นรุนแรงและหยาบคายมากเท่าไร การตอบโต้จะยุ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น อาจถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันเรียกได้ว่าการต่อว่าด่าทอนี้ เป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงของครอบครัวที่น่ากลัวมากที่สุดอันหนึ่ง

ตัวอย่างครอบครัวข้างต้นเป็นเพียงบางตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวล่มสลายได้ เพราะคำพูดที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น หากเราต้องการธำรงครอบครัวแห่งความสุขไว้ให้นานๆ จงจำไว้ว่า "อย่าทำลายครอบครัวด้วยปาก

ผมมีข้อแนะนำง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องคำพูด สำหรับสามีภรรยาที่ปรารถนาครอบครัวที่มีความสุข อาทิ

คำพูดที่ดีเริ่มต้นจากใจที่ดีที่เต็มด้วยความรัก

คำพูดที่เรากล่าวออกมาจากปากนั้นสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเรา เราจะสามารถมีคำพูดที่ดี และเสริมสร้างครอบครัวได้ต้องเริ่มจากหัวใจที่มีความรักต่อคนในครอบครัว รักคู่สมรสของเรา รักลูกๆ ของเรา รักสมาชิกภายในบ้านและที่สำคัญก็คือมีความปรารถนาให้ชีวิตครอบครัวมีความสุขและยิ่งยืนนาน ความรักที่เรามีจะช่วยทำให้เราแก้ไขนิสัยของตัวเองได้ง่ายขึ้น เช่น จากคนที่พูดจาโผงผาง ไม่คำนึงถึงจิตใจผู้อื่นความรักก็จะช่วยให้คำนึงถึงจิตใจของผู้ที่เรารัก ทำให้คำพูดนั้นอ่อนหวาน และเสริมสร้างมากกว่าที่จะบั่นทอนกัน

คำพูดที่กลั่นกรองด้วยเหตุผลและความรัก

น้ำที่เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองจะบริสุทธิ์กว่าน้ำที่ตักจากแม่น้ำลำคลองฉันใด คำพูดที่กลั่นกรองด้วยเหตุผล และความรักย่อมบริสุทธิ์กว่าคำพูดที่ออกมาโดยไม่ผ่านความคิด แต่หากเป็นคำพูดที่ออกมาจากอารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจที่โกรธและมุ่งร้าย ก็จะเป็นดั่งสายน้ำขุ่นข้นที่ไหลเชี่ยวกรากพัดทำลายสิ่งที่อยู่บนเส้นทางให้จมหรือเสียหายไป

ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่เราจะพูดสิ่งใด ในขณะที่มีอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจ เรายิ่งต้องพยายามคิดทบทวนให้รอบคอบก่อนจะพูด พิจารณาว่าจริงเท็จเพียงใด ควรกล่าวออกไปหรือไม่ กล่าวออกไปแล้วคนรับจะรู้สึกอย่างไร ควรกล่าวเวลาใดจึงดีที่สุด เมื่อกลั่นกรองแล้วเห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อครอบครัวและคนที่เรารักจึงพูดออกไป

เราควรเรียนรู้ที่จะควบคุมคำพูด ควบคุมลิ้นของเรา ไม่ให้พูดในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ตามใจปาก โดยปล่อยให้พูดไปตามความปรารถนาของอารมณ์

ฝึกใช้คำพูดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพครอบครัว

ในโลกแห่งความเป็นจริงทุกคนชอบและปรารถนาจะได้ยินคำพูดที่สะท้อนว่าผู้พูดคำนึงถึงจิตใจของผู้รับ เช่น คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน คำพูดที่ให้กำลังใจ คำพูดที่แสดงความเข้าใจ คำพูดที่สะท้อนความห่วงใย คำพูดที่มีเหตุผล คำพูดที่ให้อภัย ฯลฯ เพราะจะทำให้คนฟังมีหัวใจแช่มชื่น มีความสุขและมีกำลังใจ เปรียบดั่งต้นไม้ที่ได้รับน้ำบริสุทธิ์จากสายฝนที่ฉ่ำเย็นมาหล่อเลี้ยงรากให้เจริญเติบโต ออกดอกผลงดงาม

ดังนั้นสามีภรรยาจึงควรที่จะฝึกกล่าวคำพูดเหล่านี้ต่อกันโดยปฏิเสธคำพูดที่เป็น "ทุกขวาทะ" ทุกประเภท เพราะนั่นเปรียบเหมือนน้ำร้อนๆ ที่ราดรดลงมาและไม่มีต้นไม้ใดยืนต้นทนทานอยู่ได้ ในที่สุดต้นไม้นั้นย่อมเหี่ยวเฉาและตายลง

หากเราต้องการสร้างครอบครัวที่มีความสุขตลอดไป เราต้องควบคุมปากของเรา ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของความไม่มีเหตุผล หรือเป็นอาวุธที่ใช้ประหัตประหารสมาชิกในครอบครัวที่เรารัก แต่เราต้องมีคำพูดทุกครั้งที่พูดนั้นนำมาซึ่งความชื่นใจ กำลังใจและสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว แล้วครอบครัวของเราจะมั่นคงและยั่งยืนได้ด้วยคำพูดของเรานั่นเอง

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)