Wednesday, April 20, 2011

Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ7




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 7


นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

นอกจากนี้แม่ควรเป็นผู้กระตุ้นให้พ่อคิดเสมอว่าการกระทำที่เหมือนกับการเพิกเฉยต่อลูก ๆ นั้น จะส่งผลต่อความรู้สึกของลูกมากเพียงใดและเมื่อลูกผิดหวังจากครอบครัวแล้วเขาอาจถูกค่านิยมสังคมที่เสื่อมทรามลงฉุดเขาไปในทางที่เสื่อมเสียได้ แม่จึงไม่ควรเห็นด้วยหรือปล่อยปละละเลยเมื่อพ่อปฏิเสธลูกว่า พ่องานยุ่งมากไม่มีเวลา แต่ควรพยายามขอร้องให้พ่อได้ใช้เวลากับลูก โดยตระหนักว่าเด็ก ๆ ต้องการได้รับการยอมรับ เขาไม่ต้องการการถูกปฏิเสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เขาคาดหวังว่าจะได้รับความรัก และหากเขาไม่ได้รับการเติมเต็มความรักจากทั้งพ่อและแม่อย่างเพียงพอ เขาย่อมมีแนวโน้มวิ่งเข้าหาความรักจากแหล่งอื่นและอาจเลือกที่จะดำเนินชีวิตในทางที่ผิดได้   
แม่ทุกคนที่มีความรักต่อลูกอย่างล้นเหลือจึงควรสนับสนุนให้ลูกมีทัศนคติมุมมองที่ดีต่อพ่อด้วยเช่นกัน แม้ในความจำกัดของตัวพ่อเองที่อาจไม่ได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ แต่บทบาทของแม่คือการมองหาส่วนดีของพ่อที่มีอยู่และชี้ให้ลูกเห็นในสิ่งนั้นพร้อมส่งเสริมให้ลูกนั้นมีความรักนับถือในพ่อของตน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการมอบสิ่งดีที่สุดให้แก่ลูกแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์รักที่ดีต่อกันในครอบครัวอีกด้วย









Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ6




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 6

  
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

ชักชวน พ่อ ให้ช่วยเลี้ยงลูก
แม่ควรเห็นความสำคัญของพ่อในการมีส่วนเลี้ยงดูและสร้างชีวิตของลูก เนื่องจากการที่ลูกจะเติบโตอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นหรือมีความเชื่อมั่นในตนเองได้นั้นต้องมีทั้งพ่อและแม่เป็นแบบอย่างที่สมดุล โดยบทบาทของแม่นั้นคือการเป็นแบบอย่างในเรื่องของความอ่อนโยนมีเมตตาความอ่อนหวาน ส่วนพ่อนั้นเป็นแบบอย่างในเรื่องความกล้าหาญ ความรับผิดชอบ การทำงานหนัก เป็นต้น  ดังนั้นพ่อจึงจำเป็นต้องใช้เวลากับลูก ใกล้ชิดสนิทสนมกับลูก เพื่อลูกสามารถสัมผัสได้ถึงความรักและเห็นแบบอย่างที่ดีของผู้เป็นพ่อ 
โดยแม่ควรเป็นผู้ที่คอยส่งเสริมให้พ่อได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้ใกล้ชิดพ่อเสมอ อาทิ พยายามหาโอกาสให้พ่อกับลูกได้ใช้เวลาด้วยกัน เวลา ให้พ่อได้มีโอกาสให้คำปรึกษาแนะนำลูกในเรื่องต่าง ๆ สนับสนุนให้พ่อเป็นคนสร้างบรรยากาศภายในบ้าน เช่น เล่นกีฬากับลูก ทานอาหารกับลูก สอนการบ้าน ฯลฯ  แม้โดยบทบาทของพ่อที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านเป็นหลักนั้นจะมีเวลาเหลือน้อยเต็มที่ในการมอบให้กับลูกแต่พ่อแม่ควรพูดคุยกันให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลลูก เพื่อพ่อจะสามารถจัดสรรเวลาที่แม้มีอยู่น้อยนั้นได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ5




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 5

 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

อย่า ทะเลาะ กันต่อหน้าลูก
การทะเลาะกันในบ้านเป็นภาพสะท้อนที่รุนแรงเปรียบได้กับการทำสงครามในสนามรบ คำพูดรุนแรงที่ออกจากปากแต่ละครั้งเปรียบได้กับการสาดกระสุนเข้าหากันและทะลุเข้าไปในจิตใจ ส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างบาดเจ็บเนื่องมาจากคำพูดของกันและกัน พร้อม ๆ กับการระเบิดอารมณ์อย่างรุนแรงใส่กันที่มีอานุภาพทำลายล้างทุกสิ่งที่อยู่รอบข้างรวมทั้งลูก ๆ ที่รับฟังอยู่ในขณะนั้นด้วย 
ลูกย่อมปวดร้าวใจทันทีที่เห็นพ่อกับแม่ทะเลาะกัน เพราะเด็กจะคาดหวังว่าบ้านนั้นคือที่ที่ให้ความรักความอบอุ่นแก่ตน การทะเลาะกันของพ่อแม่จึงเท่ากับเป็นการทำลายความหวังของเด็ก ส่งผลให้เด็กรู้สึกอ้างว้างและตระหนกตกใจ เกิดความกลัว ลูก ๆ ย่อมไม่อยากเห็นคนที่เขารักใช้อารมณ์หรือใช้ความรุนแรงเกรี้ยวกราดเข้าหากัน หากพ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยครั้งลูกย่อมมีความรู้สึกว่าบ้านไม่น่าอยู่ ไม่มีความสุขสงบ ไม่มีความรักให้แก่กัน ส่งผลให้ลูกหันไปแสวงหาสิ่งอื่นมาชดเชย เช่น  ติดเพื่อน ติดแฟน หันเข้าหายาเสพติด เที่ยวเตร่ไม่ยอมกลับบ้าน  เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อเกิดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันในบางเรื่อง ก่อนที่จะตัดสินใจปะทะคารมต่อกัน แม่ควรระงับความไม่เข้าใจนั้นไว้ก่อนเพื่อเห็นแก่ลูก ต่างฝ่ายต่างควรที่จะยินดีประนีประนอมและปิดห้องคุยปรับความเข้าใจกันอย่างเงียบ ๆ ย่อมเป็นวิธีการที่ดีกว่า 

Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ4




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 4

 
 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

แม่ควรสนับสนุนให้ลูกรักพ่ออย่างไร 
แม่ที่รักลูกย่อมยินดีให้สิ่งที่ดีแก่ลูกและหากการที่ลูกจะมีมุมมองและทัศนคติที่ดีต่อพ่อของเขานั้นย่อมเป็นสิ่งดีที่ผู้เป็นแม่ควรสนับสนุนให้ลูกมีความรู้สึกที่ดีต่อพ่อของตนให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ อาทิ 
หมั่น ชมเชย พ่อต่อหน้าลูก  
แม่ที่รักลูก รักสามี รักครอบครัวย่อมปรารถนาให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ครอบครัวเสมอ เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่กระทำแล้วเกิดผลเสียมากกว่าผลดีย่อมหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้น ภรรยาบางคนชอบมองสามีเป็นเหมือนตัวตลก โดยเฉพาะภรรยาที่เก่งกว่าหรือมีความสามารถมากกว่า เมื่อสามีประสบความล้มเหลวหรือทำบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดหรือกระทำตัวไม่เป็นแบบอย่างในบางเรื่องจึงมักใช้คำพูดเยาะเย้ยถากถาง เสียดสี ให้สามีกลายเป็นคนที่ไร้ค่า เมื่อลูก ๆ เห็นสภาพดังกล่าว ลูกจึงรู้สึกสูญเสียความเชื่อถือในตัวพ่อลงไปทันที 
ในฐานะ ภรรยาและแม่ที่ดีควรรู้ว่าการกระทำเช่นนี้แท้จริงแล้วเป็นอันตรายทั้งต่อจิตใจของลูก จิตใจสามี ตลอดจนถึงขนาดอาจทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวต้องขาดสะบั้นลงได้ในวันหนึ่งข้างหน้า  ดังนั้นในทางกลับกันเพื่อรักษาความสุขในครอบครัว ภรรยาจึงควรที่จะพิจารณาในส่วนดีของสามีให้มากและพยายามชมเชยในส่วนดีนั้นต่อหน้าลูกเสมอ เช่น เมื่อพ่อมีน้ำใจช่วยทำงานบ้าน แม่ควรที่จะขอบคุณและชมเชยพ่อให้ลูก ๆ ฟัง แม่ควรพูดคุยแบ่งปันให้ลูกได้รับรู้ถึงความดีของพ่อ เช่น ความรับผิดชอบของพ่อต่อค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ให้เห็นว่าพ่อทำงานหนัก แม่ต้องเชื่อมั่นในส่วนดีที่มีอยู่ในชีวิตของพ่อ  การที่มีหมั่นยกย่องสิ่งที่ดีในตัวของพ่อเป็นประจำนอกจากจะสร้างให้ลูกมีความมั่นใจและภาคภูมิใจในพ่อแล้ว ยังช่วยเป็นกำลังใจให้ผู้เป็นพ่อได้เห็นคุณค่าของตนและปรารถนาอยากทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้องต่อครอบครัวมากยิ่งขึ้นต่อไป 


Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ3




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 3

 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

 



คำพูด น้ำเสียง สีหน้าท่าทางและการกระทำของแม่ที่มีต่อพ่อจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างภาพพจน์ของพ่อไว้ในใจของลูก แม่ที่ทำให้พ่อถอยห่างในความสัมพันธ์กับลูกในขณะที่ลูกต้องการเรียนรู้ เลียนแบบ และชื่นชมในตัวพ่อของเขา ทำให้ลูกไม่มีโอกาสใกล้ชิดกับพ่อหรือยกย่องพ่อของเขา ส่งผลให้เกิดปัญหากับตัวลูกเองตามมามากมาย อาทิ  หากแม่เป็นคนแข็งกร้าวหรือมักวางอำนาจกับพ่อต่อหน้าลูก ชอบตำหนิ เหยียดหยาม ดูถูกความล้มเหลวในชีวิตที่ผ่านมาของพ่อ ฯลฯ การแสดงออกเช่นนี้ย่อมเป็นการสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นในใจของลูกโดยไม่รู้ตัว ลูกย่อมมีทัศนคติมุมมองต่อพ่อในแง่ลบมองว่าพ่อไม่สามารถเป็นแบบอย่างให้ตนได้ ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการทางความคิด จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมของเขาเมื่อเติบโตขึ้นมาในที่สุด โดย
...หากเป็นเด็กหญิงอาจนำไปสู่การเกลียดชังและไม่ยอมรับในเพศตรงข้าม เพราะมีมุมมองว่าผู้ชายทุกคนจะมีความอ่อนแอเหมือนพ่อของตนและอาจเป็นเหตุนำไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบน ปฏิเสธผู้ชาย ยกย่องในความเป็นเพศแม่ในใจในเพศเดียวกัน
...หากเป็นเด็กชาย ทัศนคติมุมมองที่มีต่อพ่อในแง่ลบ มีความรู้สึกว่าพ่ออ่อนแอ เติบโตมาอย่างขาดแบบอย่างของผู้ชายที่เข้มแข็งสมกับการเป็นผู้นำ โดยเด็กชายบางคนมีแนวโน้มอาจเลียนแบบพฤติกรรมจากแม่และเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศได้ในที่สุด าเสธผ้ติกรรมเบี่ยองลูก แม่ที่ทำน
ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัวคนหนึ่งได้ยกกรณีตัวอย่างถึงแม่คนหนึ่งที่พาลูกสาววัยรุ่นมาขอคำปรึกษา เนื่องจากลูกมีความเกลียดชังพ่อของตนเองมาก เมื่อสืบสาวไปถึงสาเหตุพบว่าเกิดจากการที่ผู้เป็นแม่นั้นมักระบายความโกรธแค้นชิงชังในตัวพ่อให้ลูกสาวฟังเสมอ และมักพูดถึงความไม่ดีของพ่อทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจให้ลูกได้ยินมาโดยตลอด ผลร้ายในที่สุดไม่ได้ตกอยู่ที่ตัวแม่หรือพ่อแต่ตกอยู่ที่ตัวลูกที่ได้สะสมความขมขื่นที่มีต่อพ่อไว้ในใจเรื่อยมาจนกระทั่งมีพฤติกรรมแปลก ๆ เกิดขึ้น เช่น มีอารมณ์แปรปรวนและเกลียดชังผู้ชาย เป็นต้น

Tuesday, April 19, 2011

Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ2




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 2

 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

เหตุใดลูกต้องรักพ่อ!
พ่อมีหน้าที่สำคัญในการกำหนดว่าลูกจะเติบโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกอย่างไร พ่อจะเป็นตัวอย่างให้ลูกเลียนแบบ เป็นแม่พิมพ์ชีวิตของลูกในอนาคต  โดยมีผลงานวิจัยมากมายได้ยืนยันว่าพ่อมีอิทธิพลในการกำหนดลักษณะทางกายภาพและภาวะอารมณ์ของลูกเมื่อเติบโตขึ้น ดร. อาร์มานด์ นิโคไล ชาวอเมริกัน ได้ทำการวิจัยพบว่า เด็กที่ขาดความอบอุ่นจากพ่อทั้งกายและใจจะขาดแรงจูงใจในการต่อสู้เพื่อความสำเร็จ เด็กจะไม่สามารถยับยั้งชั่งใจเพื่อผลดีในอนาคต มีแนวโน้มที่จะเห็นตัวเองไม่มีค่าและมักจะเป็นคนที่อารมณ์อ่อนไหว ถูกชักจูงได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยรุ่น 
เด็ก ๆ ไม่ได้ต้องการสนิทสนมกับแม่เพียงคนเดียวแต่เขาต้องการที่จะสนิทสนมกับพ่อด้วย เด็กต้องการความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่จากพ่อ ต้องการให้พ่อเป็นเพื่อนเล่น เป็นที่ปรึกษา เป็นแบบอย่างในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะภูมิใจและคิดว่าพ่อเป็นพระเอกในใจเขาเสมอ เช่น เป็นสุภาพบุรุษ กล้าหาญ มีเหตุผล  และมีความรับผิดชอบ หากเด็กผิดหวังกับบทบาทความเป็นพ่อในอนาคตเขาอาจเติบโตมากลายเป็นเด็กที่มีปัญหาได้
 

Kriengsak Chareonwongsak:รักพ่อ1




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

แม่รักลูก...ต้องสนับสนุนให้ลูกรักพ่อ 1

 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

แม่ทุกคนที่รักลูกควรตระหนักถึงอิทธิพลของพ่อที่จะมีผลต่อชีวิตลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะเด็กต้องการพ่อมากพอ ๆ กับที่พวกเขาต้องการแม่ ลูกต้องการพ่อที่เป็นแบบอย่างแห่งความเป็นสุภาพบุรุษ ความกล้าหาญ ความมีเหตุผล การมีความรับผิดชอบ เด็กที่มีภาพแง่บวกของพ่อประทับอยู่ในใจและเห็นว่าพ่อเป็นแบบอย่างที่ดีนั้นย่อมเติบโตมาอย่างมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ มีพัฒนาการที่เหมาะสม แม่ที่รักลูกจึงควรเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ลูกได้เห็นส่วนที่ดีในตัวพ่อของเขา 
การที่ลูกจะคิดอย่างไรเกี่ยวกับพ่อนั้น ส่วนหนึ่งย่อมเป็นผลมาจากการแสดงออกของแม่ที่มีต่อพอทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว แม่เป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดทัศนคติมุมมองที่ลูกมีต่อพ่อของตน เด็กจะสั่งสมภาพพ่อของตนไว้ในความคิดว่า พ่อเป็นคนดี พ่อเป็นคนที่น่านับถือ พ่อเป็นคนกล้าหาญ พ่อเป็นพระเอก พ่อใจดี หรือพ่อโหดร้าย พ่อไม่ดี พ่ออ่อนแอ พ่อน่ารังเกียจ พ่อเป็นตัวตลก พ่อโง่ พ่อขี้ขลาด และพ่อในลักษณะอื่น ๆ อีกนับร้อยนับพันแบบในสายตาของลูก ตามที่ได้ยินแม่ของเขาสรรค์สร้างคำเหล่านั้นออกมาจากปากตามแต่อารมณ์และความรู้สึกที่แม่มีต่อพ่อ ซึ่งลูก ๆ จะเก็บคำพูดเหล่านั้นไว้ในใจ โดยทัศนคติมุมมองหรือความคิดของลูกที่มีต่อพ่อนั้นจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของเขาเมื่อเติบโตขึ้น  












Kriengsak Chareonwongsak : อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 4




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 4

4  


นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com


..ทำเพื่อใคร?  พ่อแม่ควรตั้งคำถามวิพากษ์กับตัวเองว่าแท้จริงแล้วการที่เราพยายามกระตุ้นพัฒนาการของลูกด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสติปัญญาได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วนั้นแท้จริงแล้วเราทำเพื่อใคร พ่อแม่ควรระวังหลุมพรางความคิดที่หลอกว่าเรากำลังให้สิ่งดีที่สุดกับลูกอยู่ แต่แท้จริงแล้วเราอาจหวังผลทางอ้อมต่อผลลัพธ์แห่งการพัฒนาการของลูกนี้ในการนำไปใช้พูดคุยโอ้อวดว่าฉันเลี้ยงลูกดีกว่าเธอ ลูกของฉันเก่งกว่าลูกของเธอก็เป็นได้ 
...เป้าหมายแท้จริงที่เราต้องการเห็นในชีวิตลูกคืออะไร?  พ่อแม่ควรถามตัวเองว่าเป้าหมายที่เราต้องการในชีวิตลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาคืออะไร  หากเราต้องการสร้างให้เขาเป็นอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ เราทำไปเพื่ออะไร และความเป็นอัจฉริยะนั้นแท้จริงแล้วนำมาซึ่งความสุขความสำเร็จในชีวิตของลูกจริงหรือไม่
...จำเป็นหรือไม่?  จำเป็นหรือไม่ที่พ่อแม่ต้องเร่งกระตุ้นลูกให้มากที่สุดในช่วงวัยทอง 3 ปีแรกของชีวิต หากกระตุ้นมากเกินไปจะเกิดผลทางลบหรือไม่ เนื่องจากมีงานวิจัยรายงานว่าการยัดเยียดหรือกระตุ้นเด็กมากเกินไปอาจเป็นการทำลายกระบวนการคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ของเด็กอย่างไม่รู้ตัว ไม่เพียงแต่เฉพาะการอัดแน่นทางข้อมูลความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่การที่พ่อแม่จัดหาของเล่นต่าง ๆ ให้ลูกเกินความจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเล่นหรืออุปกรณ์สำเร็จรูปที่พร้อมเล่นได้ทันทีอาจส่งผลให้ลูกขาดทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์พัฒนาของเล่นต่าง ๆ ด้วยตัวของเด็กเองก็เป็นได้ 
นอกจากนี้จากกระแสการโฆษณาชวนเชื่อทางการตลาดที่ธุรกิจด้านนี้พยายามโน้มน้าวให้พ่อแม่ใช้หลักสูตรหรืออุปกรณ์ของตนมาฝึกฝนบุตรหลาน รวมทั้งจากการที่เห็นพ่อแม่ท่านอื่น ๆ จำนวนมากต่างเร่งนำบุตรหลานของตนมาเข้าหลักสูตรการพัฒนาดังกล่าวกันอย่างถ้วนหน้า จึงยอมไม่ได้หากลูกของเราจะตกขบวนไป แม้ค่าอุปกรณ์หรือค่าหลักสูตรจะมีราคาสูงลิบแต่พ่อแม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายเพื่อไม่ให้ลูกต้องเสียเปรียบเด็กคนอื่น

Kriengsak Chareonwongsak : อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 7




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 7

 7


นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

พ่อแม่จำนวนมากปรารถนาให้ลูกของตนเติบโตมาเป็นเด็กที่เก่งที่สุด ดีที่สุด ฉลาดที่สุด เพื่อสามารถเอาตัวรอดได้อย่างประสบความสำเร็จท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงในสังคมปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่หลักสูตรหรือแนวทางการสร้างอัจริยะที่ได้จากผลงานวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ จะได้รับความนิยมจากพ่อแม่ผู้ปกครองทั่วโลก   อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรใช้วิจารณญาณให้ดีในการคัดเลือกแนวทางต่าง ๆ ในการพัฒนาช่วงวัยทองของเด็กนั้นอย่างรอบคอบและเหมาะสมกับลูกของตน
นอกจากนี้พ่อแม่ควรตระหนักว่าแท้จริงแล้วสิ่งสำคัญสูงสุดที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการลูกในวัยทองนั้นไม่ใช่แค่การเร่งพัฒนาทางด้านสติปัญญาหรือการสร้างเซลสมองให้แตกระแหงเชื่อมโยงกันให้มากที่สุดเท่านั้น แต่เป็นช่วงเวลาทองที่ต้องเร่งวาง รากฐานที่มั่นคงแข็งแรงให้กับชีวิตของลูกต่างหาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปลูกฝังระเบียบวินัยและการเสริมสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้ในตัวลูกให้เจริญงอกงาม อันเป็นรากฐานสำคัญสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป 

Kriengsak Chareonwongsak : อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 6




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


อัจฉริยะนี้เพื่อใคร 6

 6 


นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

การปลูกฝังระเบียบวินัย   วัยทอง 3 ขวบปีแรกเป็นวัยที่เหมาะแก่การฝึกฝนระเบียบวินัยเข้าทำนองไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก  การฝึกวินัยไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบริหารเวลา หรือการเก็บของเข้าที่เข้าทางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการสร้าง กรอบ หรือ ขอบเขต ที่ถูกต้องในชีวิตของลูกทั้งในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการรู้ผิดชอบชั่วดี  รู้ว่าสิ่งใดที่เรียกว่าผิด สิ่งใดที่เรียกว่าถูก สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งใดเป็นสิ่งหลอกลวง สิ่งใดควรให้คุณค่า สิ่งใดไม่ควรประพฤติปฏิบัติหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยว   
การฝึกระเบียบวินัยไม่ใช่เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างที่พ่อแม่จำนวนมากเข้าใจ แต่แท้จริงแล้วเป็นการสร้างความอบอุ่นใจให้กับเด็กเล็กในการทำสิ่งต่าง ๆ  อย่างมีเสรีภาพที่แท้จริง ตรงกันข้ามกับเด็กที่มีอิสระอย่างไร้ขอบเขต ซึ่งมักตกอยู่ในความหวาดวิตก รู้สึกไม่ปลอดภัยในจิตใจและรู้สึกว่าไม่มีใครรักเขา
เพาะกล้าเมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้  ตามธรรมชาติของเด็กทุกคนเติบโตมาพร้อมกับมีเมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้ฝังอยู่ในตัวแล้วทุกคน  ความปรารถนาใคร่รู้ในเรื่องต่าง ๆ  ของเด็ก ๆ ทำให้ผู้ใหญ่จำนวนมากต่างงุนงง เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับเด็ก ๆ ทั้งสิ้น หน้าที่ของพ่อแม่คือการบ่มเพาะต้นกล้าแห่งการเรียนรู้นี้ให้เติบใหญ่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ไปทำร้ายให้เหี่ยวเฉาตายลงหรือหดหายไปตามกาลเวลาที่เขาเติบโตขึ้นทั้งอาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ  อาทิ ยินดีที่จะตอบคำถามลูก  ไม่รำคาญเมื่อลูกตั้งคำถามเดิมซ้ำไปมา พร้อมส่งเสริมสนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ