Saturday, September 17, 2011

การจัดการ น้ำท่วม

การจัดการ น้ำท่วม
การแก้ปัญหาคนที่ตกทุกข์ได้ยากและนี่เป็นตัวอย่างที่พูดได้เลยว่าเราอย่าคิด ว่าคนมีตำแหน่งเท่านั้นจะทำได้หรือทำดีมากกว่าคนไม่มีตำแหน่งบทเรียนที่ สำคัญที่ได้จากคุณสรยุทธคือ การมีตำแหน่งไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ดีกว่าและที่จริงแล้วการที่มีตำแหน่ง ก็คงได้เปรียบกว่าการไม่มีตำแหน่ง""

Saturday, September 10, 2011

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุข

statistics of happiness

ผลการศึกษายังพบอีกว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคนแบ่งออกเป็นตัวแปรด้านจุลภาคและมหภาค ในกลุ่มตัวแปรจุลภาคที่ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีงานทำและระดับรายได้ เพศหญิงมีความสุขมากกว่าชาย, คนที่มีความสุขน้อยที่สุดอยู่ที่อายุประมาณ 52 ปี, คนที่อยู่ด้วยกัน หรือคู่แต่งงาน มีความสุขมากกว่าคนที่เป็นโสด และหย่าร้างตามลำดับ, และระดับการศึกษา และระดับรายได้ยิ่งสูง ยิ่งทำให้คนมีความสุขมากขึ้น

สำหรับตัวแปรมหภาคที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคน คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน  และอัตราเงินเฟ้อ โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสุข ในขณะที่อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อสัมพันธ์ทางลบ กับระดับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ผมยังพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับ

ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้สนใจเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมือง และทบทวนเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นเป้าหมายต่างๆ อย่างสมดุล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนไทยมีระดับความสุขมากขึ้น

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ส่วนหนึ่งของบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549


บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

คนไทยมีความสุขน้อยลง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ส่วนหนึ่งของบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

แนวคิดการพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบัน กำลังเกิดกระแสความไม่เห็นด้วย กับการเน้นเป้าหมาย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงเป้าหมายเดียว และมีความพยายามที่จะเสนอให้เปลี่ยนเป้าหมายการพัฒนา ไปสู่การเน้นความสุขของประชาชนในประเทศ หรือความสุขโดยรวมของประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH)

ในความเป็นจริง ผมมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขมาเป็นเวลานานแล้ว และที่ผ่านมา ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศไทย” ซึ่งเป็นงานวิจัยตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนรุ่นที่ 5 ของสถาบันพระปกเกล้า

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้ทำการพัฒนาดัชนีความสุข (Happiness Index) โดยหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น กับความสุขของประชากรไทย เพื่อจะนำไปสู่การบริหารประเทศ ที่มุ่งความสุขของประชากรโดยตรง

บทความจาก Professor Kriengsak Chareonwongsak
ดัชนีความสุขนี้พัฒนาขึ้นจากแบบจำลอง (Model) ทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ฐานข้อมูลจากการสำรวจค่านิยมของคนในโลก (World Values Survey) มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ที่จัดทำโดย International Network of Social Scientists ซึ่งทำการสำรวจมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง

ผลการศึกษาพบว่า ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 คนไทยประมาณ 1.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 2.1 ที่เคยมีความสุขมาก กลับมีความสุขลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขณะที่คนไทยที่ค่อนข้างมีความสุขมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนคนที่ไม่ค่อยมีความสุข และคนที่ไม่มีความสุขเลยมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 (ตารางที่ 1)

Wednesday, September 7, 2011

สอน “ทักษะแก้ปัญหา” ให้เด็กไทย


สอน “ทักษะแก้ปัญหา” ให้เด็กไทย
ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
                                     
ปัจจุบันมีหลายเหตุการณ์ ที่สะท้อนให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมาก ขาดทักษะการแก้ปัญหาชีวิต พิจารณาจากเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือผลงานวิจัย อาทิ เด็กวัยรุ่นผิดหวังในความรักหาทางออกโดยการยิงตัวตายหรือกระโดดตึกตาย เด็กมัธยมปลายฆ่าตัวตายเพราะไม่ได้เรียนในคณะที่คาดหวังไว้ ฯลฯ โครงการ Child Watch โดยสถาบันรามจิตติ ได้สรุปสภาวการณ์เด็กไทยด้านต่าง ๆ ไว้ในช่วงปี             2548-2549       ด้านภาวะสุขภาพจิตของเด็กไทย พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็น 40 คนต่อแสนคน หรือคิดเป็นจำนวนเยาวชนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 7,800 คน หรือเฉลี่ยวันละ 21 คน และที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 800 หรือเฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้อธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า เกิดจากอาการซึมเศร้าซึ่งมาจากความวิตกกังวลและไม่สามารถจัดการกับปัญหาตนเองได้
การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามอายุ โดยเด็กอายุ 3 ขวบ เริ่มมีพัฒนาการด้านนี้แล้ว ขึ้นกับว่าระหว่างที่เด็กเจริญเติบโตนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา อาทิ เด็กอาจมีความจำกัดในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดความอดทนในการบรรลุเป้าหมายการเอาชนะปัญหา และขาดความเข้าใจปัญหาในเชิงเหตุผล ในขณะที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ไม่ได้มีความเข้าใจและมีวิธีการพัฒนาทักษะของเด็กในการแก้ปัญหาตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม
บทความนี้ นำเสนอตัวอย่างหลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต่างประเทศมีหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการสอนในครอบครัว
ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Program: CPS) พัฒนาโดย Donald J. Treffinger, Scott G. Isaksen, & K. Brian Dorval ซึ่งเป็นกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการมีความเข้าใจในตัวปัญหา การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกของปัญหาในมุมของความเป็นไปได้ และการวางแผนในภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โปรแกรม ICPS (I Can Problem Solve) พัฒนาโดย Myma B. Shure, Ph.D. จาก Mental Health Services, DuPage County Health Department Wheaton, Illinois เป็นบทเรียนที่ใช้ปูพื้นฐาน และฝึกฝนทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับผู้เรียน
ตัวอย่างหลักสูตรและโปรแกรมดังกล่าว มีลักษณะร่วมดังนี้
ฝึกผู้เรียนให้คิดและมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อปัญหา โดยสอนผู้เรียนให้มองปัญหาอย่างสมจริง ไม่ใช่ตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ไม่มองเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือในทางตรงข้าม ไม่เพิกเฉยต่อปัญหา แต่ลงมือแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ และปัญหาสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ จนสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่อดทนสามารถเอาชนะปัญหาได้
ฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการฝึกทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน อาทิ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง ทักษะการคิดเชิงตรรกะ การเชื่อมโยงเหตุและผล เพื่อนำมาเปรียบเทียบ หาผลกระทบ หาทางเลือกที่ดีที่สุดและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยก่อให้เกิดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย
วิธีการใช้ชุดคำถามที่สามารถใช้ผ่านชีวิตประจำวัน อาทิ ชุดคำถามจำพวก “มีอะไรอีกไหม”  “มีทางอื่นอีกไหม” เพื่อฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ขยายกรอบความคิดให้กว้างไกลกว่าเดิม ชุดคำถามจำพวก “ก่อน...หลัง”   “ถ้า...แล้ว”   “ขณะนี้...หลังจากนี้” “เหมือน...ต่าง”  “ทำไม...เพราะ” เพื่อฝึกฝนการใช้ตรรกกะ การใช้เหตุและผล การกลั่นกรองเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถใช้การเล่นบทบาทสมมติ เล่านิทาน หรือภาพยนตร์ ละคร และข่าว เป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหา โดยใช้คำถามง่าย ๆ เช่น หากเราเป็นบุคคลนั้น เราจะตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร? ถ้าเจอปัญหาแบบคนที่อยู่ในข่าวจะหาทางออกให้กับตัวเองอย่างไร? เป็นต้น
ฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการเข้าใจผู้อื่น เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของปัญหามักมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การฝึกการคิดคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกการคิดอย่างรอบคอบว่า เราควรใช้แนวทางแก้ปัญหาแบบใดที่ไม่ทำให้ผู้อื่นต้องรู้สึกไม่พอใจจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง นอกจากนี้ เป็นการตระหนักรู้ในอารมณ์ความรู้สึกของตนเองว่ามีอารมณ์และลักษณะนิสัยแบบใด ที่เป็นจุดอ่อนซึ่งสร้างความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่าย เช่น เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย จุกจิก ฯลฯ อาจใช้ชุดคำศัพท์หรือชุดคำถามจำพวก “ยุติธรรมหรือไม่”  “หากเราทำเช่นนี้แล้ว...เขาจะรู้สึกอย่างไร” “หากเขาทำเช่นนั้นกับเรา...เราจะรู้สึกอย่างไร” เป็นต้น เพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น
นอกจากนี้ ระหว่างฝึกทักษะการแก้ปัญหาในภาคปฏิบัติ ครูจะไม่ตัดสินความคิดเห็นผู้เรียนว่าดีหรือไม่ดี แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้ลึกที่สุด โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงเหตุและผล หากครูรีบตัดสินความคิดของผู้เรียนมาเกินไป ผู้เรียนจะสร้างกลไกการป้องกันตนเอง และไม่กล้าแสดงความคิด
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสมจนเกิดผลเสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้ และอาจพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมส่วนรวมได้

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ : ความต้องการจะตายที่ถูกกฎหมาย

 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในมาตรา10 ที่ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณะสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต…”
              ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสิทธิที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณะสุขไม่ได้หมายถึง การขอให้แพทย์ฆ่าตนเองให้ตาย (การุณยฆาต) ซึ่งเรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นถกเถียงในหลายประเทศว่า คนไข้หรือญาติของคนไข้นั้นมีสิทธิหรือไม่ที่จะตัดสินใจที่จะไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไป โดยสามารถขอให้แพทย์ฉีดยาหรือทำวิธีการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้ตนเองตายอย่างไร้ความทรมาน
              สำหรับประเด็นการอนุญาตให้คนไข้สามารถปฏิเสธที่จะรับการรักษา หากเป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ผมคิดว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องมีความละเอียดอ่อนมากและผมยังไม่เห็นด้วยกับการให้สิทธิดังกล่าวแก่หมอและคนไข้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

              แพทย์แต่ละคนมีมาตรฐานการวินิจฉัยไม่เหมือนกัน

เนื้อหาในร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนว่า ใครคือผู้อำนาจในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย และอะไรคือจุดที่ตัดสินว่าเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากแพทย์แต่ละคนมีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ที่เรียนมา ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยของแพทย์แต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน
ในบางครั้งเราอาจได้ยินข่าวหรือเห็นตัวอย่างคนไข้ที่เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลหนึ่งแต่ไม่หาย และหมออาจจะบอกว่าไม่มีทางรอดและให้คนไข้ทำใจ แต่หลังจากย้ายโรงพยาบาลหรือเปลี่ยนหมอ คนไข้กลับหายจากโรคและรอดตาย ผมเกรงความรู้ของแพทย์ที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้คนไข้หลายคนตัดสินใจผิดพลาด โดยไม่ยอมรับการรักษา เพราะอาจเชื่อฟังคำพูดของหมอว่าการรักษาเป็นเพียงการยืดเวลาตายออกไปเท่านั้น แต่หมอท่านอื่นอาจมีความสามารถและวิธีการที่รักษาให้หายได้
              เทคโนโลยีการรักษามีการพัฒนารวดเร็ว
              กฎหมายดังกล่าวอาจละเลยประเด็นเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบัเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนเราอาจคิดไม่ถึง โรคที่ยังไม่สามารถรักษาหายได้ในปัจจุบัน อาจจะมีเทคโนโลยีที่สามารถรักษาให้หายได้ในอนาคต
             ดังตัวอย่างของวัณโรคซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล จนหลายคนคิดว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาได้ คนที่เป็นโรคนี้ต้องตายสถานเดียวเท่านั้น! แต่ในที่สุดได้มีผู้ค้นพบวิธีการรักษาวัณโรคให้หายได้
              เช่นเดียวกับโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ คนที่กลายเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา ซึ่งในปัจจุบันเชื่อกันว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้ หากแพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจออก คนไข้จะเสียชีวิตทันที แต่คำถามคือ เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ในอนาคตจะไม่มีการคิดค้นวิธีรักษาให้หายได้
              คนไข้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีพอ
             ผมไม่เชื่อว่าคนไข้ที่ป่วยหนักอยู่ประกอบกับไม่มีความรู้ทางการแพทย์จะอยู่ในสภาวะที่สามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด ดังนั้นกฎหมายไม่ควรจะให้คนไข้ตัดสินใจ เพราะคนไข้ที่ใกล้ตายมักจะอยู่ในความทุกข์ทรมานมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะตัดสินใจอย่างไม่ถูกต้อง โดยใช้อารมณ์ความรู้สึก
              บางคนอาจจะแย้งว่าบางประเทศอนุญาตให้คนป่วยทำหนังสือแสดงความประสงค์ไว้ก่อล่วงหน้า ในขณะที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายกับตัวเอง หรือยังมีอาการป่วยไม่รุนแรงมาก แล้วหากวันหนึ่งวันใดที่ตัวเองนอนป่วยอาการหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง ญาติพี่น้องอาจจะนำหนังสือดังกล่าวนั้นแสดงให้แพทย์ได้ทราบว่า คนไข้ไม่ต้องการรับการรักษา การอนุญาตให้คนไข้ตัดสินใจเช่นนี้ ยังคงเป็นการตัดสินใจโดยมีข้อมูลและความรู้ที่ไม่ครบถ้วน เพราะคนไข้ไม่รู้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่สามารถรักษาโรคให้หายได้ในอนาคตหรือไม่ และไม่มีความรู้เรื่องการแพทย์ดีพอ
              ก่อให้เกิดความเสียหายต่อศีลธรรมในสังคม
             ผมเห็นว่ากฎหมายข้อนี้ยังมีช่องว่างมากและหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม การให้คนไข้ปฏิเสธไม่รับการรักษาไม่แตกต่างจากการอนุญาตให้คนไข้ตัดสินฆ่าตัวตายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพียงแต่ผู้เป็นแพทย์ไม่ใช่ผู้ที่ลงมือกระทำเท่านั้นเอง เพราะแพทย์ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าหากคนไข้ไม่ยอมให้รักษาเขาจะต้องตายอย่างแน่นอน แต่การรับรักษาต่อไปอาจทำให้คนไข้มีโอกาสรอด หรืออย่างน้อยอาจจะยืดอายุเพื่อรอการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาใหม่ ๆ
             กฎหมายดังกล่าวอาจทำให้จริยธรรมของแพทย์เสียหายได้ในอนาคตหากแพทย์เห็นว่าคนไข้อาการหนักอาจเลี่ยงไม่ใช้พยายามรักษาคนไข้อย่างเต็มความสามารถ หรือคนไข้ที่อยู่ในโครงการรักษาฟรี แพทย์อาจจะพยายามลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล โดยการวินิจฉัยว่าไม่มีโอกาสกาสรอด
              ประการสำคัญ หากกฎหมายดังกล่าวถูกประกาศใช้ จะทำให้มาตรฐานทางศีลธรรมของสังคมเริ่มเสื่อมลง โดยกฎหมายฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนในสังคมเริ่มยอมรับการฆ่าตัวตายโดยการอ้างเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ มากขึ้น และในที่สุดจะนำไปสู่การยอมรับการกระทำที่มีน้ำหนักความรุนแรงต่อศีลธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำแท้ง การุณ์ยฆาต เป็นต้น
              สภานิติบัญญัติแห่งชาติจำเป็นต้องคิดให้จงหนักและรอบคอบ เพราะกฎหมายฉบับนี้อาจกลายเป็นใบอนุญาตฆ่าชีวิตคนเพราะความไม่รู้หรือไม่ได้ตั้งใจ

ขอบคุณบทความ จาก http://www.oknation.net/blog/kriengsak

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  (Professor Kriengsak Chareonwongsak)