Thursday, December 9, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak ปัญหา 3G




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปัญหา 3G ไม่ใช่ปัญหาเทคนิค ไม่ใช่ปัญหากฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาคน
แต่เป็นปัญหาการบริหารจัดการที่แกนนำไม่ได¬้มองการไกลล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาไว้
จึงเกิดปัญหาที่เราเห็นชัดๆว่าเกิดอย่างนี¬้ขึ้นครับ



ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Dr.Kriengsak Chareonwongsak

นักวิชาการอิสระ นักวิชาการอาวุโส Harvard University
http://www.facebook.com/drdancando
http://www.twitter.com/drdancando
drdancando.com

Wednesday, December 8, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak: สมดุลวิถี สมานฉันท์ สันติสุข




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สมดุลวิถี สมานฉันท์ สันตินสุข


ไทยตกมาตรฐานยูเอ็นแก้ขัดแย้ง แนะสร้าง "สมดุลวิถี-พื้นที่ปลอดภัย"

ในเวทีเสวนาเรื่อง "สมานฉันท์สู่สังคมสันติสุข" ซึ่งจัดโดยนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่น 2 (4 ส.2) ของสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับจังหวัดนนทบุรี ที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวานนี้ (24 พ.ย.) ผู้ร่วมเสวนาซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าต้องเร่งแก้ไขปัญหาขัดแย้งในสังคมไทยด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายได้นำความจริงมาพูดกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรม และเริ่มต้นปรองดองอย่างยั่งยืน

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวตอนหนึ่งว่า ขณะนี้สังคมไทยขัดแย้งกันมาก และสร้างความสูญเสียมากทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม หากปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้ต่อไป ประเทศจะแหลกเหลวทุกระบบ และไม่มีใครตอบได้ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่
คำถามคือคนไทยขัดแย้งกันพอหรือยัง จะหยุดอย่างไร และจะปรองดองกันอย่างไร เพราะการใช้อำนาจแก้ไขความขัดแย้งนั้นใช้ได้ แต่ต้องใช้ด้วยใจ ด้วยความรัก ใช้ในเชิงสมานฉันท์ ไม่ใช่ใช้แบบทำลายล้าง
ตกมาตรฐานยูเอ็นแก้ขัดแย้ง

พล.อ.เอกชัย กล่าวต่อว่า การใช้ "อำนาจ" จัดการความขัดแย้ง มีโอกาสสูงที่จะเจอแรงกดดันจากต่างชาติ เพราะยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ สังคมโลกจับจ้องไทยอยู่ "เลขาฯยูเอ็น (เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ) ก็จับตาไทยอยู่ และเคยเตือนไทยหลายครั้งแล้ว คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็เคยเตือนเช่นกัน ฉะนั้นเราต้องระวัง เพราะที่ผ่านมาเรายังจัดการปัญหาความขัดแย้งไม่สำเร็จเลย"

ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวต่อว่า ในกฎบัตรของยูเอ็นที่ใช้กับชาติสมาชิกทุกชาติ มีกรอบที่ยูเอ็นจับตาอยู่ 5 เรื่องใหญ่ๆ เพราะหากประเทศใดไม่ทำหรือทำไม่ได้ จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในรัฐอย่างแน่นอน ประกอบด้วย

  1. ความไม่เป็นธรรมในสังคม เรื่องนี้ไทยอยู่ในระดับรุนแรง
  2. ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ ประเทศไทยก็เริ่มมีปัญหานี้เช่นกัน
  3. การรักษาการปกครองของรัฐ พบว่าไทยไม่มีเอกภาพ ไม่มีความเสมอภาค ทำให้ไม่เชื่อใจกัน และแก้ขัดแย้งไม่ได้
  4. กฎหมายหรือองค์กรบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ ซึ่งประเทศไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในเรื่องนี้ รวมถึงองค์กรอิสระด้วย
    และ
  5. ภูมิรัฐศาสตร์ไม่เอื้ออำนวยให้การปกครองของรัฐบาลกลางสถาปนาครอบคลุมพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเด็นนี้ก็เห็นได้ชัดว่าพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐของไทย เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีปัญหาอยู่ "จะเห็นว่าจากกรอบมาตรฐานของยูเอ็น เรามีปัญหาทุกเรื่อง และเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งทั้งหมด" พล.อ.เอกชัย กล่าว

ต้องสร้าง "พื้นที่ปลอดภัย"
  • เขายังเสนอว่า การจัดการความขัดแย้งต้องทำใน 3 มิติ คือ
  1. มิติแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และมีหลากหลายวิธีที่ทำได้
  2. มิติปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งหลายฝ่ายก็กำลังทำกันอยู่ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ
  3. มิติเชิงป้องกัน ทุกฝ่ายต้องมองเชิงสร้างสรรค์ เพราะคำพูดที่พูดออกไปนำไปสู่ขัดแย้งได้ทุกคำ การอภิปรายในสภาคือตัวอย่างที่ดีของการนำไปสู่ความเลวร้ายในสังคมไทย ซึ่งมิติเชิงป้องกันถ้าไม่ดีจะทำให้ปรองดองไม่เกิด มีแต่ความร้าวฉาน
พล.อ.เอกชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักคือ การแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน ดูตัวอย่างไอร์แลนด์เหนือ ต้องใช้เวลาถึง 37 ปี อาเจะห์ก็ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ฉะนั้นไทยจะใช้เวลาเพียง 1 ปีคงไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะแก้ไขความขัดแย้งคือต้องนำความจริงมาพูดกัน ไม่ใช่เสแสร้ง และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ได้พูดคุย

"ที่ผ่านมายังไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ได้พูดความจริง ฝ่ายหนึ่งพูดก็จะถูกอีกฝ่ายหนึ่งข่มขู่คุกคาม ฉะนั้นต้องเร่งสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ได้พูดความจริง เพราะความจริงจะนำไปสู่ความเป็นธรรม และความยุติธรรมจะนำไปสู่ความปรองดองในที่สุด"



ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิชาการ กลุ่มการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ หลักสูตร 4 ส.รุ่น 2 อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดจากภาคีสำคัญๆ ในชาติขัดผลประโยชน์กัน โดยภาคีที่มีส่วนร่วมในทางการเมืองมี 5 ภาคี ได้แก่

นักการเมือง

ข้าราชการ

สื่อมวลชน

นักวิชาการ

และภาคประชาชน

ฐานของทั้ง 5 ภาคี มีตัวเชื่อมโยงคือ "ฐานทุน"

ทั้งนี้ ในอดีตฐานทุนที่เชื่อมโยงภาคีเหล่านี้เป็นฐานทุนแบบ "ปัจเจกผูกขาด" นำไปสู่ฐานอำนาจ ฐานผลประโยชน์ และฐานอื่นๆ ในสังคม แต่ในระยะหลังภาคีทั้ง 5 ถูกนำไปสู่แกนอื่นที่ไม่สามารถได้ผลประโยชน์เช่นเดิม จึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง

"ทางออกของสังคมต้องขับเคลื่อนจากทุนปัจเจกผูกขาด เป็นทุนปัจเจกสาธารณะ ให้ผู้เล่นหลักๆ จำนวนน้อยแต่เดิม ก้าวไปสู่ผู้เล่นจำนวนมาก คือผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน"

อย่างไรก็ดี ดร.เกรียงศักดิ์ เห็นว่า ทิศทางที่สังคมไทยทำอยู่ในขณะนี้เป็นแค่ยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศสาตร์ เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ การตั้งองค์คณะต่างๆ เพื่อค้นหาความจริง แต่วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นแก่นแกนจริงๆ คือการเน้นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่ยุทธวิธี โดยต้องสร้างสมดุลใน 3 หลัก ได้แก่


"สมดุลวิถี หมายถึงการสร้างสมดุลในสังคม ทั้งสมดุลทางอำนาจ สมดุลทางผลประโยชน์ และสมดุลในที่ยืน (ความเท่าเทียม) ประเทศไทยขณะนี้มีปัญหาแตกแยกเกิดขึ้นอย่างมากมาย ความสมานฉันท์เป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไปไกลกว่านั้น เพราะความสมานฉันท์เป็นแค่เปลือก อาจไม่สามารถสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนได้ ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องเร่งสร้างสมดุลวิถีให้เกิดขึ้น เพราะเป็นแก่นในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง"

ชู "ปฏิวัฒนะ" ปิดทาง "ปฏิวัติ"


ดร.เกรียงศักดิ์ ยังเสนอว่า การจะสร้าง "สมดุลวิถี" ต้องใช้ "ปฏิวัฒนะ" คือ

  1. ปฏิรูป เป็นการแก้ที่รูปแบบ
  2. ปฏิสังขรณ์ หรือการซ่อม เพราะบางเรื่องแค่ซ่อมก็ใช้ได้แล้ว
  3. ปฏิรังสรรค์ หมายถึงองค์ประกอบถูกต้อง แต่เชื่อมต่อผิดทิศผิดทาง ก็ปรับกระบวนเสียใหม่ และ
  4. ปฏิวัติ ซึ่งไม่ใช่การรัฐประหาร แต่หมายถึงการแก้แบบถอนรากถอนโคนและรวดเร็ว
"ปัญหาคือเราจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้ รัฐบาลจะต้องมีความชอบธรรมสูงมากๆ และภาคีทั้งหมดสนับสนุน รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย องค์ประกอบของรัฐบาลก็ต้องมีความรู้ความสามารถจริง และมีความดีที่เป็นแบบอย่าง จึงเป็นเรื่องยากหากพิจารณาจะสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ขอบอกว่าระบบของเรามีช่องทางบางอย่างที่ทำให้ได้รัฐบาลแบบนี้ แต่ผมไม่อยากพูดว่าเป็นรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่"
ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวในที่สุด








Sunday, November 28, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak : พหุเอกานิยม สันติภาพ




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศํกดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


“โอกาสที่เราจะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งความสงบ มีเอกภาพและสันติภาพ ยังมีความเป็นไปได้หรือไม่?”
เราทุกคนคงไม่มีใครอยากเห็นความแตกแยกของคนในชาติที่ไม่สามารถคืนเอกภาพดังเดิมได้ ดังนั้น แนวคิดหนึ่งที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังให้อยู่ในสำนึกของคนทุกคน ทั้งในรุ่นนี้และรุ่นต่อไป นั่นคือ แนวคิดสังคมพหุเอกานิยม

สังคมพหุเอกานิยม เป็นแนวคิดที่ผมได้นำเสนอไว้ในหนังสือ “สังคมพหุเอกานิยม: เอกภาพในความหลากหลาย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 หรือเมื่อกว่าสิบปีที่ผ่านมา สังคมพหุเอกานิยม (Unified Pluralistic Society) คือ สังคมที่นิยมความมีเอกภาพในความหลากหลาย (Unity in Diversities) เป็นสังคมที่ทุกคนแม้มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างในความคิดทางการเมือง เชื้อชาติ ลัทธินิกายของศาสนา ความเชื่อ ฐานะ อายุ วัฒนธรรม ประเพณี เพศ อาชีพ และชนชั้นทางสังคม ก็สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นสังคมที่คนมีหัวใจแห่งเสรีภาพ เคารพให้เกียรติกัน ยอมรับในความแตกต่าง ทุกกลุ่มมีอิสระในการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน ในเรื่องที่ไม่เสียหายและไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ที่สำคัญ คนทุกคนต่างร่วมกันใช้ส่วนที่ดีในความแตกต่างนั้นเป็นพลังพัฒนาประเทศอย่างเป็นเอกภาพ
สังคมพหุเอกานิยมเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การธำรงเอกภาพ คนในสังคมมีจิตวิญญาณแห่งความรู้สึกร่วมว่า เรายอมรับคนอื่นที่ไม่เหมือนเรา และไม่บังคับคนอื่นให้เหมือนเรา คนแต่ละกลุ่มเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เอาเสียงส่วนใหญ่มากดทับเสียงส่วนน้อย แต่มีการคำนึงว่า ทุกคน ทุกชุมชน ทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่า ได้รับสิ่งที่ดีงามและประโยชน์จากกันและกัน เป็นสังคมที่เอื้ออาทร นึกถึงกันและกัน ชนบทเห็นแก่เมือง เมืองเห็นแก่ชนบท โดยเอาสิ่งดีของแต่ละกลุ่มมาเสริมกันขึ้นเป็นพลังทวีคูณเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบ้านเมือง
หากเราสามารถรวมคนทั้งประเทศชาติในลักษณะความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ ความขัดแย้งจะเบาบางลง ความตั้งใจจะนึกถึงการสร้างชาติบ้านเมืองจะเกิดขึ้น
สังคมพหุเอกานิยมจะทำให้คนทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทุกคนมีส่วนเข้ามาร่วมช่วยกันสร้างสรรค์บ้านเมืองตามศักยภาพของตน
ในเวลานี้ ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่แนวคิดนี้จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป

Sunday, November 21, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak : ทำแท้ง 3





sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ประเด็นเรื่องการทำแท้ง กลับมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรรอบแล้วรอบเล่า ได้นำมาสู่การพยายามหาหนทางที่จะแก้ปัญหา และ มีนักวิชาการจำนวนมากที่คิดว่าทางออกหนึ่งคือ การออกกฏหมายให้มีการทำแท้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------
นักวิชาการอาวุโสมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์

เปิดเสรีการทำแท้ง เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน เรื่องเก่า เล่าใหม่


คงไม่มีใคร (ยกเว้นอาชญากร) ที่อยากให้สังคมของเรามีอาชญากรรมเกิดขึ้น ดังนั้น โดยหลายฝ่าย รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์จึงพยายามผลิตวิธีการหรือยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อลดการเกิดอาชญากรรม
ในสหรัฐอเมริกามีนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นที่สนใจมากในช่วง 3-4 ปีแล้ว ชื่อว่า Steven Levitt ได้สรุปงานวิจัยของเขาว่า การที่รัฐบาลท้องถิ่นในหลายมลรัฐของสหรัฐฯเปิดให้ทำแท้งได้อย่างเสรีตั้งแต่ทศวรรษ 70 นั้น ทำให้อัตราการก่ออาชญากรรมในทศวรรษ 90 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดย Levitt ได้ให้เหตุผลว่า แม่ที่ตั้งครรภ์ทราบดีที่สุดว่าเด็กในท้องของตนจะเติบโตในสภาพแวดล้อมแบบใด ดังนั้น การเปิดเสรีการทำแท้งจึงเปิดโอกาสให้แม่ที่ขาดความพร้อมสามารถตัดสินใจเองได้ ทำให้เด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมเลวร้ายมีจำนวนลดลง ส่งผลให้วัยรุ่นที่เป็นอันธพาลซึ่งพร้อมจะก่ออาชญากรรมในอีก 20 ปีต่อมาลดลงไปด้วย
อันที่จริงแล้ว Levitt ได้กล่าวอย่างชัดเจนในหนังสือ Freakonomics อันโด่งดังของเขาว่า การค้นพบของเขา “ไม่ควรถูกตีความในไปทางที่ผิด ไม่ว่าจะในด้านของการยอมรับให้มีการทำแท้ง หรือการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจของแม่ที่จะเก็บเด็กในครรภ์ไว้หรือไม่” อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบของ Levitt ก่อให้เกิดการถกเถียงในวงกว้างว่า ควรปล่อยให้มีการทำแท้งเสรีในอเมริกาต่อไปหรือไม่
ในความเห็นของ prof. Kriengsak Chareonwongsak แม้ว่าข้อค้นพบของ Levitt จะเป็นความจริง แต่รัฐบาลไทยไม่ควรเปิดให้ทำแท้งเสรี ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า การทำแท้งไม่มีประสิทธิภาพในการลดอาชญากรรม หรือกล่าวโดยง่าย การทำแท้งก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาลแม้อาจจะลดอัตราการเกิดอาชญากรรมในอนาคตได้ก็ตาม
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การจะบรรลุเป้าหมายใด ๆ (รวมถึงการลดอาชญากรรม) รัฐบาลควรเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุด และทิ้งนโยบายอื่นที่ด้อยประสิทธิภาพ ความไร้ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเมื่อผู้กำหนดนโยบายมิได้เลือกสิ่งที่ “ดีที่สุด” กล่าวคือ เมื่อผู้ตัดสินใจมีทางเลือกหลายทาง หากแต่ละทางเลือกให้ประโยชน์ในระดับเท่าเทียมกัน ทางที่ดีที่สุดหรือมีประสิทธิภาพที่สุด คือทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
แล้ว “ต้นทุน” หมายถึงอะไร ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนในทางเลือกหนึ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินที่ต้องจ่ายไปเท่านั้น แต่รวมถึงมูลค่าหรือคุณค่าของทางเลือกทางอื่นที่ดีที่สุดที่ต้องสูญเสียไปด้วย การที่ทุกวัฒนธรรมในโลกเห็นตรงกันว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดบนโลกนี้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นทุนของการเปิดเสรีการทำแท้งจำเป็นจะต้องรวมเอาคุณค่าของทารกในครรภ์ที่ได้สูญเสียไปไว้ด้วย
เพื่อที่จะทราบต้นทุนของการทำแท้ง มีสองคำถามที่ต้องได้รับคำตอบ คือ
  1. “คุณค่า” ของชีวิตมนุษย์มี “มูลค่า” เท่าไร และ
  2. คุณค่าสัมพัทธ์ (เปรียบเทียบ) ระหว่างทารกในครรภ์และมนุษย์เป็นอย่างไร
prof. Kriengsak Chareonwongsak กล่าวว่า Prof. Kriengsak Chareonwongsak เห็นด้วยอย่างที่สุดว่าชีวิตมนุษย์นั้นมีค่าอนันต์จนไม่สามารถทดแทนหนึ่งชีวิตของมนุษย์ด้วยสิ่งใดได้ แต่ “คุณค่า” ที่ prof. Kriengsak Chareonwongsak กล่าวนี้เป็น “มูลค่า” ในเชิงการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่จำกัดบนโลกนี้ เนื่องจากแม้ชีวิตมนุษย์หนึ่งคนจะมีคุณค่าอนันต์ แต่ชีวิตมนุษย์ทุกคนต่างก็มีคุณค่าอนันต์ และคนเหล่านั้นต้องการทรัพยากรส่วนหนึ่งเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน ดังนั้น เราจึงไม่สามารถที่จะทุ่มทรัพยากรหมดโลกไปเพื่อรักษาหรือชดเชยเพียงหนึ่งชีวิตได้

สำหรับคำถามแรก Prof Kriengsak Chareonwongsak กล่าวว่า ขออ้างอิงจากเหตุการณ์เครื่องบินของสายการบินวัน-ทู-โกตกที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งผู้บริหารของสายการบินได้ตกลงจะจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตรายละ 5 ล้านบาท บทความนี้จะสมมติว่าตัวเลข 5 ล้านบาทเป็นตัววัด “มูลค่า” ของชีวิตมนุษย์หนึ่งชีวิต จากมุมมองของผู้บริหารสายการบิน วัน-ทู-โก (ซึ่งน่าจะมากกว่าการชดเชยการเสียชีวิตในกรณีอื่น ๆ)
สำหรับการระบุคุณค่าสัมพัทธ์ระหว่างหนึ่งชีวิตของทารกในครรภ์กับหนึ่งชีวิตของมนุษย์ (ที่ออกมาจากท้องแม่แล้ว) นั้น จำเป็นต้องพิจารณาจากความเชื่อและทัศนคติของสังคม ซึ่งหลักคำสอนของศาสนาพุทธและศาสนาสำคัญ ๆ ในประเทศไทยถือว่า การทำแท้งเทียบได้กับการฆ่าคน จึงอาจสรุปได้ว่า ในความเชื่อและทัศนคติของคนไทยให้คุณค่าสัมพัทธ์ระหว่างทารกในครรภ์หนึ่งชีวิตและมนุษย์หนึ่งชีวิตเป็น 1:1

ถึงตอนนี้เรามีข้อมูลเพียงพอจะสามารถสรุปได้ว่า การทำแท้งเสรีเป็นแนวนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการลดอาชญากรรมในอนาคตหรือไม่ ทั้งนี้ หากหนึ่งชีวิตของมนุษย์มี “มูลค่า” 5 ล้านบาท และคุณค่าของชีวิตทารกในครรภ์และมนุษย์เท่าเทียมกันแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าต้นทุนของการทำแท้ง 1 ครั้ง มีมูลค่าเท่ากับ ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพื่อการทำแท้ง รวมกับ “มูลค่า” ของชีวิตของทารกในครรภ์ที่ต้องสูญเสียไปซึ่งเท่ากับ 5 ล้านบาท จึงมีคำถามว่า มีแนวทางอื่นที่ให้ผลอย่างเดียวกันแต่มีต้นทุนต่ำกว่าหรือไม่?
หากพิจารณาการคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย ราคาถุงยางอนามัยอยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อชิ้น ดังนั้น ต้นทุนการทำแท้ง 1 ครั้งจึงมีค่าเท่ากับถุงยางอนามัย 3.3 - 5 แสนชิ้น หากเราประมาณการขั้นสูงสุดว่า ผู้หญิง 1 คนมีช่วงเวลาที่สามารถมีบุตรได้ 30 ปี และใช้ถุงยางอนามัยทุกวันตลอดช่วงเจริญพันธุ์ เธอจะใช้ถุงยางอนามัยประมาณ 11,000 ชิ้นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ตลอดชีวิตของเธอ จะเห็นว่า แม้จะประมาณการขั้นสูงสุดแล้ว แต่ต้นทุนการลดจำนวนวัยรุ่นอันธพาลในอนาคตโดยการใช้ถุงยางอนามัยยังต่ำกว่าการทำแท้งอย่างมหาศาล ยังไม่ต้องพูดถึงการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ ที่อาจมีต้นทุนต่ำกว่านี้อีก
Prof. Kriengsak Chareonwongsak จึงได้สรุปว่า แม้ข้อมูลเชิงประจักษ์จะแสดงให้เห็นว่าการเปิดให้มีการทำแท้งเสรีจะทำให้อัตราการก่ออาชญากรรมในอนาคตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่วิธีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากทำให้ทารกในครรภ์จำนวนมากต้องเสียชีวิต จนไม่คุ้มที่ช่วยชีวิตเหยื่อจากการเกิดอาชญากรรมที่อาจมีจำนวนน้อยกว่า (ตามข้อมูลของ Levitt ต้องเสียชีวิตทารกในครรภ์ไป 1 พันชีวิต เพื่อลดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรม 1 ราย)

ในความคิดของ prof. Kriengsak Chareonwongsak สถานการณ์ที่ดีที่สุด คือการที่วัยรุ่นประเมินได้ว่าตนเองมีกำลังความสามารถและทรัพยากรที่จะเลี้ยงลูกของตนให้เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดีได้หรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตไทยที่ว่า "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจเป็นไปได้ยากมากที่รัฐบาลจะใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมให้เกิดภาวะเช่นนั้น ดังนั้น การส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการควบคุมกำเนิดที่ถูกต้องในกรณีที่เขายืนกรานที่จะมีคู่รักก่อนวัยอันควรอาจนับว่าเป็นวิธีการที่ดีอันดับสอง (second best)

อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะรณรงค์การคุมกำเนิดอย่างเต็มที่ แต่ยังเป็นไปได้ว่ายังคงมีคนที่ไม่ใส่ใจหรือตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ แม้ในกรณีนี้ Prof. Kriengsak Chareonwongsak ยังเห็นว่าการทำแท้งเสรีมิใช่ทางออกที่มีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับการอุดหนุนการดูแลเด็กที่เกิดจากแม่ที่ไม่มีความพร้อม ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งเติบโตขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังไม่เคยทำบทบาทนี้เลย Prof. Kriengsak Chareonwongsak ค่อนข้างแน่ใจว่ารัฐบาลจะใช้เงินอุดหนุนต่อคนตลอดช่วงวัยเด็กเพื่อให้เติบโตมาได้อย่างดีในเม็ดเงินที่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น เด็กที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดีจะกลับเป็นทำประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นผลเชิงบวกกลับไปสู่สังคมได้อีกด้วย
25 เมษายน 2551
oknation.net

Thursday, November 18, 2010

sukk.araya prof.Kriengsak Chareonwongsak : ป้องกันทำแท้ง 2




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าวการพบซากทารกจากการทำแท้งที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนนับ 1000 ศพ แสดงถึงปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เป็นสิ่งที่น่าเสียใจที่สังคมให้ความสำคัญกับดารา แต่ที่สำคัญมากยิ่งกว่าคือ ทารกที่เสียชีวิตจำนวนมากนั้นเกิดจากวัยรุ่นที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ
การแก้ไขนอกจากโดยสถาบันครอบครัวแล้ว ยังต้องอาศัยสถาบันหลักคือ สถาบันการศึกษาร่วมด้วย
บทความนี้ท่านได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2008 จึงขอนำกลับมานำเสนออีกครั้ง
------------------------------------------------------------------------------------------------
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • วัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการปรับตัวทั้งด้านร่างกาย ความคิด และจิตใจ เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นโดยธรรมชาติวัยรุ่นจึงเผชิญกับกับการเปลี่ยนแปลงของตนเองอยู่มาก อีกทั้งการต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพสังคมยุคที่ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และวิทยาการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้วัยรุ่นในฐานะที่เป็นสมาชิกในสังคมที่ต้องอยู่ในสภาพสังคมดังกล่าว อาจประสบปัญหาในการปรับตัวในหลายด้านพร้อมกัน ประกอบกับเด็กในช่วงวัยรุ่นนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน และสภาพเศรษฐกิจที่บีบรัดมากขึ้น ทำให้พ่อแม่อาจไม่มีเวลาในการอบรมสั่งสอนหรือใกล้ชิดลูกมากเท่ากับในอดีตจึงเป็นเหตุให้พ่อแม่และคนในสังคมได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบไปให้กับโรงเรียนโดยไม่รู้ตัว โรงเรียนจึงทำหน้าที่แทนครอบครัว โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับครอบครัวที่สองของวัยรุ่น
  • ปัจจุบันเรามีวัยรุ่นอายุระหว่าง ๑๑–๑๗ ปีที่อยู่ในความดูแลของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมากถึงกว่า ๖ ล้านคนโดยประมาณจากจำนวนผู้เรียนทั้งหมดทุกประเภททุกระดับกว่า ๑๑ ล้านคนในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรให้ความสำคัญในบทบาทการรับผิดชอบต่อการพัฒนาผู้เรียนวัยรุ่นให้มากปัญหาสำคัญของวัยรุ่นในปัจจุบัน
  • ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า วัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางทางกายภาพและสังคมอย่างมาก จึงอาจส่งผลให้วัยรุ่นบางส่วนที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและดีเพียงพอ อาจก่อปัญหาหลายประการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  • ปัจจุบันวัยรุ่นส่วนหนึ่งมีมุมมองเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เป็นเรื่องไม่เสียหาย เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล ผนวกกับเป็นวัยแห่งการอยากทดลอง ชอบการท้าทาย แต่ขาดประสบการณ์และความเข้าใจที่ลึกซึ้งและรอบด้านในเรื่องเพศและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการสำรวจของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติพบว่า เด็กไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น วัยรุ่นหญิงในเมืองร้อยละ ๕๐ มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และวัยรุ่นหญิงร้อยละ ๖๖ มีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนชายโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย จึงมีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามมา และนำไปสู่การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย ปัญหาโรคเอดส์ และอื่น ๆ
  • นอกจากนั้นผู้แทนองค์การกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ นาย บอล โกปาล กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์และทำแท้งในวัยรุ่นสูงมาก โดยทำแท้งปีละประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน ๑ ในทุก ๓ รายของการเกิดมีชีพการติดสิ่งเสพติดและสิ่งมืนเมา
  • จากการสำรวจข้อมูลของนักเรียน ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสังกัดกรมสามัญศึกษา และกรมอาชีวศึกษาพบว่า นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีประมาณร้อยละ ๔.๕ ของผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มผู้เรียนวัยรุ่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาการเสพสิ่งมึนเมาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ เหล้า และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ยาเสพติดและสิ่งมึนเมาต่าง ๆ ได้กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นซึ่งเป็นอนาคตของชาติมากขึ้นทุกขณะการเล่นพนัน
  • วัยรุ่นเป็นวัยที่รักความสนุกสนาน ความตื่นเต้น และความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ จึงไม่แปลกที่มักจะชอบกิจกรรมการพนัน อาทิ ไพ่ และการพนันบอล ฯลฯ ตัวอย่างในช่วงมหกรรมฟุตบอลโลกเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าการพนันบอลได้กลายเป็นสิ่งที่ลุกลามเข้าไปในชีวิตของวัยรุ่นมากขึ้น มีการเสียพนันบอลและการกู้หนี้ยืมสินกันอย่างกว้างขวาง บางคนถูกเจ้าหนี้ตามไปทวงถึงที่บ้าน ซึ่งผู้ปกครองต้องชำระหนี้ให้ หากไม่สามารถชำระหนี้ได้จะมีการข่มขู่ทำร้าย หรือบางรายหันไปประกอบอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ดังกล่าว เป็นต้น
    การเที่ยวกลางคืน
  • วัยรุ่นเป็นจำนวนมากมีพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืน ซึ่งมีจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการรักสนุก ความต้องการคลายความเครียดหรือคลายความเหงา ที่มักจะมีสาเหตุมาจากการขาดความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นจากครอบครัว ทำให้วัยรุ่นหาทางออกด้วยการเที่ยวสถานบันเทิง ส่งผลให้การเรียนตกต่ำ และมีแนวโน้มจะพ่วงปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ที่ผิด การก่ออาชญากรรม และการใช้ความรุนแรง เป็นต้นการใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา
  • ปัจจุบันสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคมที่มีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการที่สื่อนำเสนอภาพและเนื้อหาที่มีความรุนแรงของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต และเกมส์บางประเภท สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมทัศนคติ ความคิด และพฤติกรรมของผู้เรียนวัยรุ่นอย่างมาก เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงที่สามารถซึมซับและเลียนแบบความคิดและพฤติกรรม จากการใช้ความรุนแรงของพ่อแม่ คนในสังคมที่มักปรากฏตามสื่อต่าง ๆ หรือการเลียนแบบนักแสดงบู๊ที่ชื่นชอบ เป็นต้น เป็นผลให้วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่มักใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เช่น การก่อการทะเลาะวิวาท ชกต่อย ยกพวกตีกัน และอาจไปถึงขั้นการก่ออาชญากรรมได้ เป็นต้น
  • จากสภาพปัญหาของวัยรุ่นดังกล่าว ที่ผ่านมาสถานศึกษาต่างก็พยายามให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาผู้เรียนวัยรุ่นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การหันกลับมาทบทวนเนื้อหาหลักสูตรด้วยการบรรจุวิชาเพศศึกษาไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน มีมาตรการจัดสารวัตรนักเรียนไว้เพื่อป้องกันและสอดส่องการหนีเรียน การเที่ยวโสเภณี การเล่นพนัน การเที่ยวกลางคืน ฯลฯ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและนำแนวคิดเรื่องการบันทึกความดีของผู้เรียนไว้ในสมุดรายงานความประพฤติ จัดแนะแนวการเรียนและการอาชีพในอนาคต หรือแม้กระทั่งการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในโรงเรียนเพื่อคอยสอดส่องและควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่น
  • อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของผู้เรียนในกลุ่มวัยรุ่นอย่างแท้จริง และไม่ได้เป็นแนวทางแก้ปัญหาในเด็กวัยรุ่นได้ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น การตั้งกฎระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มากมายที่เข้มงวดมากแล้วถ้าหากเด็กคนไหนทำผิดระเบียบก็จะหักคะแนนและทำโทษ การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนที่เน้นเพียงด้านวิชาการ แต่ไม่ส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจของผู้เรียนกลุ่มวัยรุ่นเท่าที่ควร ฉะนั้นสถานศึกษาจึงควรพัฒนาแนวทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างได้ผลในระยะยาวแนวทางแก้ปัญหาวัยรุ่นของสถานศึกษา
1. ประยุกต์ประเด็นร่วมสมัยในเนื้อหาวิชาเรียน
  • สภาพสังคมที่วัยรุ่นในปัจจุบันประสบมีความซับซ้อนมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นโรงเรียนควรจะสอนเนื้อหาที่ช่วยให้วัยรุ่นรู้เท่าทันและสอดแทรกค่านิยมหรือความคิดที่ถูกต้องในเชิงคุณธรรมจริยธรรมลงไป เพื่อเป็นปราการป้องกันค่านิยมที่ผิดและวิถีชีวิตที่ไม่ส่งเสริมการเรียนและความสำเร็จในอนาคต โดยในแต่ละคาบเรียนทุกวิชาควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถกประเด็นร่วมสมัยที่เป็นปัญหาวัยรุ่นในสังคม ทำการบ้านหรือศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของปัญหาวัยรุ่นร่วมกัน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีจุดยืนที่มั่นคงทางความคิด มีวิจารณญาณในการตัดสินใจมากพอที่จะไม่หลงไปกับกระแสสังคมเท่านั้น
2. จัดกิจกรรมหลากหลายตอบสนองความสนใจ

  • เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพลังสร้างสรรค์และต้องการแสดงออก หากโรงเรียนไม่จัดเวทีช่องทางในการแสดงออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม เด็กวัยรุ่นจะหาช่องทางด้วยตนเองซึ่งมีโอกาสที่จะถูกล่อลวงจากกระแสสังคมที่ไม่ดีงามได้ เพราะจำกัดในความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และวิจารณญาณที่รอบคอบ ประกอบกับต้องการได้รับการยอมรับจากเพื่อน และได้ขึ้นชื่อว่าก้าวทันแฟชั่นของสังคม




  • ดังนั้นโรงเรียนควรจะสรรหากิจกรรมที่มีความหลากหลาย โดยควรศึกษาความต้องการของวัยรุ่น ผลักดันให้วัยรุ่นสนใจสิ่งที่เป็นประโยชน์ และควรให้เวลาและทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ เช่น จัดตั้งชมรมตามความสนใจของวัยรุ่น โดยให้ผู้เรียนกลุ่มนี้ได้บริหารจัดการกันเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนวัยรุ่นได้ปลดปล่อยศักยภาพในขอบข่ายที่โรงเรียนสามารถดูแลได้ เช่น ชมรมเต้นรำ ชมรมร้องเพลง (คาราโอเกะ) ชมรมเชียร์ลีดเดอร์ ชมรมการแสดง ชมรมนักข่าว ชมรมศิลปะการแสดงและการพูด ชมรมคอมพิวเตอร์ ชมรมถ่ายภาพ ชมรมกีฬา การจัดให้มีวิชาเลือกด้านแฟชั่นเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ เป็นต้น อีกทั้งโรงเรียนสามารถกระตุ้นความสนใจของวัยรุ่นด้วยการจัดกิจกรรมการประกวดร้องเพลง เต้นรำ วงดนตรี เดินแบบเพื่อการกุศล ฯลฯ ขึ้นโดยร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกอื่น ๆ เป็นต้น






    • 3. ให้การแนะแนวและคำปรึกษา
      • นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียนแล้ว โรงเรียนควรจะใช้งานแนะแนวเป็นเครื่องมือเชิงรุกสำหรับวางกรอบกิจกรรม การวางแผนการเรียนและแผนชีวิตของนักเรียนที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น โดยจัดครูที่มีความเชี่ยวชาญหรือจบสาขาด้านจิตวิทยาการแนะแนวมาโดยตรงเป็นผู้ให้คำปรึกษาและมีส่วนช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในโรงเรียน เช่น ให้คำแนะนำเรื่องการเลือกเรียนต่อ การวางตัวกับเพศตรงข้าม การใช้เวลากับครอบครัว การป้องกันตนเองจากการติดยาเสพติด ให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง มีเงินทุนจัดสรรไว้เฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหา มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับภาคีอื่น ๆ ร่วมกับโรงเรียนเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น เป็นต้น
      4. เป็นศูนย์กลางการทำกิจกรรมนอกเวลาราชการ
      • สถานศึกษาควรมีส่วนสร้างและส่งเสริมกิจกรรมสำหรับคนในชุมชนร่วมถึงกลุ่มผู้เรียนที่เป็นวัยรุ่นนอกเวลาราชการด้วย เนื่องจากโรงเรียนมีความพร้อมในหลายด้าน เช่น สถานที่ สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนเข้ามาใช้สถานที่และอุปกรณ์เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการห้องสมุด สนามกีฬา การจัดกิจกรรมของชมรมต่าง ๆ โดยกำหนดให้มีผู้คอยควบคุม ดูแลความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งอาจเปิดรับอาสาสมัครจากคนในท้องถิ่น หรือให้นักเรียนที่เป็นรุ่นพี่มีส่วนดูแลสถานที่และกิจกรรมช่องนอกเวลาราชการ โดยไม่ต้องจ้างบุคลากรเพิ่ม
      • อย่างไรก็ตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาและการพัฒนาวัยรุ่นให้ประสบความสำเร็จนั้นมิได้เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาเท่านั้น แต่ทุกสถาบันในสังคมควรมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันไม่ว่าจะเป็น รัฐ สื่อมวลชน และชุมชน ฯลฯ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานที่ใกล้ชิดกับวัยรุ่นมากที่สุด ที่ต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาและแนะแนวทางสำหรับผู้เรียนวัยรุ่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อสร้างกลุ่มผู้เรียนวัยรุ่นนี้ให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
      บทความ “โรงเรียนกับวัยรุ่นยุคใหม่”

      Wednesday, November 17, 2010

      sukk.araya:Kriengsak Chareonwongsak-ป้องกันการทำแท้ง




      sukk.araya is moved by the inspiration of
      my teachers,
      my friends and  



      -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ข่าวการทำแท้งที่ได้พบศพทารกในวัดไผ่เงินจำนวน 348 ศพ
      สร้างความสะเทือนขวัญให้สังคมอย่างมาก และนำมาซึ่งการตื่นตระหนก กระแสที่ต้องการให้ควบคุมตรวจสอบคลีกนิคทำแท้งที่มีอยู่หลายแห่งในกรุงเทพ การแก้ไขที่ต้นเหตุกลับถูกละเลยไป คือ
      การแก้ไขในระดับครอบครัว และ สถานศึกษา
      -----------------------------------------------------------------------------------------------
      นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจ และ รัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
      http://www.kriengsak.com/
      ในสังคมไทยปัจจุบันเราเห็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องมาจากปัญหาในเรื่องเพศ อาทิ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเรียน การก่ออาชญากรรมอันเนื่องมาจากความหึงหวง คดีข่มขืน การทำแท้ง การทอดทิ้งลูกที่เกิดมาไว้ในกองขยะข้างทาง ปัญหาโรคเอดส์หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคม
      หัวอกของผู้เป็นพ่อแม่ย่อมห่วงลูกเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นหรือวัยอันตรายหัวเลี้ยวหัวต่อนั้น จะทำอย่างไรให้ลูกสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาวิกฤติมาได้อย่างปลอดภัย

      อย่างไรก็ตาม แม้จะห่วงแต่พ่อแม่จำนวนมากยังคงไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นสอนลูกในเรื่องเพศนี้อย่างไร บ้างก็มีความคิดว่าเป็นเรื่องต้องห้าม น่าอาย ไม่ควรพูดถึงมากเพราะเกรงว่าจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก โดยคิดว่าเดี๋ยวลูกโตขึ้นมาย่อมจะรู้ได้ด้วยตนเองไปตามวัยแต่งงานไปเดี๋ยวก็รู้เอง บ้างก็โยนไปให้ครูอาจารย์ที่โรงเรียนเป็นผู้สอนเรื่องนี้แทนตน
      ในความเป็นจริง ลูกไม่สามารถเรียนรู้หรือทำความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้องเองได้ หากพ่อแม่ไม่เป็นผู้สอนหรือให้ความรู้ความเข้าใจแก่ลูกในเรื่องนี้ สื่อต่าง ๆ ทั้งทีวี อินเทอร์เน็ต เพื่อนของลูก ฯลฯ ย่อมจะเป็นผู้สอนเขาแทนพ่อแม่ โดยยากที่จะห้ามไม่ให้เด็กรับสื่อเหล่านี้ได้ ซึ่งล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศมากยิ่งขึ้นในส่วนของพ่อแม่ที่คิดว่าโรงเรียนสามารถเป็นที่พึ่งในการสอนเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องให้กับลูกได้นั้น อาจต้องเปลี่ยนความคิด เนื่องจากในปัจจุบันการสอนเรื่องเพศหรือเพศศึกษาในโรงเรียนนั้นยังคงเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันในวงกว้างถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่าควรสอนถึงระดับไหน หากสอนละเอียดมากเกินไปแล้วจะเป็นดาบสองคมหรือไม่ ดังนั้น หลักสูตการเรียนการสอนในเรื่องเพศของโรงเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงคงเป็นในรูปแบบของแบบเรียนวิชาการมาตรฐานที่เหมารวมสอนไปให้นักเรียนทุกคนโดยไม่สามารถที่จะให้คำแนะนำเจาะลึกไปถึงปัญหาทากางเพศที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคนในแต่ละช่วงวัยที่อาจมีปัญหาที่แตกต่างกันไปได้อย่างดีที่สุด
      เพศศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กทุกคนต้องได้รับการสอน การใส่ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งการฝึกฝนวินัยหรือการควบคุมตนเองในเรื่องนี้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของชีวิตเช่นเดียวกับการฝึกฝนลักษณะนิสัยที่ดีในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีพ่อแม่เป็นผู้ที่รับบทบาทนี้ไปอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
      โดยหลักสำคัญในการสอนเพศศึกษาให้กับบุตรหลานที่พ่อแม่ควรยึดเป็นหลักไว้ได้แก่ตั้งเป้าหมายระยะไกล พ่อแม่ควรตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนมากที่สุด คิดไปให้ไกลมากที่สุดว่าแท้จริงแล้วเราปรารถนาให้ลูกมีพฤติกรรมทางเพศเป็นอย่างไร เป้าหมายไม่ควรแค่ว่าลูกของเราจะไม่มีแฟนแบบออกนอกลู่นอกทางในวัยเรียน หรือเพียงแค่ให้ลูกของเราเรียนรู้ที่จะคุมกำเนิดด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว ไม่ต้องมาพลาดท้องก่อนแต่งตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่พ่อแม่ควรมองไปให้ไกลและตั้งเป้าหมายไปถึงที่ว่าลูกของเราจะเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมีพฤติกรรมทางเพศในทางที่ถูกต้องทั้งการรู้จักตนเอง การป้องกันตนเอง การควบคุมตัวเองในเรื่องเพศ ฯลฯ เพื่อปลายทางอันนำไปสู่การสร้างครอบครัวใหม่ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจ รวมทั้งการใช้ชีวิตกับคู่สมรสอย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถเลี้ยงดูบุตรหลานรุ่นต่อไปในอนาคตให้มีความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องดีงามด้วยเช่นกัน
      เริ่มสอนให้เร็วที่สุด ตั้งแต่สังเกตได้ว่าลูกของเราเริ่มรู้ความและมีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศนี้ ไม่ว่าจะเป็น การชอบแอบดูหรืออยากเห็นเวลาพ่อหรือแม่อาบน้ำ การชอบเล่นอวัยวะเพศของตนเอง หรือการที่เด็กชายชอบไปแกล้งแอบเปิดกระโปรงของเด็กหญิง เป็นต้น

      โดยหัวข้อสำคัญที่พ่อแม่ควรยึดเป็นหลักในการสอนลูกนั้นได้แก่
      การรู้จักและรู้เท่าทันเพศของตนเองในช่วงวัยต่าง ๆ ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ลึกลับเพราะยิ่งจะเป็นการกระตุ้นลูกซึ่งอาจอยากรู้อยากเห็นไปในทางที่ผิดได้ ในช่วงเด็กปฐมวัยนั้นพ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้ว่าตนเองนั้นเป็นเพศหญิงหรือชาย วิธีการดูแลรักษาความสะอาดที่ถูกต้อง การไม่ไปเล่นกับอวัยวะเพศของตน ในช่วงก้าวสู่วัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ฮอร์โมน อารมณ์ โดยพ่ออาจเป็นผู้สอนลูกชายและแม่เป็นผู้คอยสอนลูกสาวพ่อแม่ที่อบรมสั่งสอนและปลูกฝังความเข้าใจในเรื่องเพศให้แก่ลูกตั้งแต่วัยเยาว์ย่อมได้เปรียบในการต่อยอดการสอนต่อไปได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกเริ่มโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนต้นและวัยรุ่นตอนปลายอันเป็นวัยอันตรายที่ลูกเริ่มมีความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรงต่อเพศตรงข้าม เด็กที่พ่อแม่มีการพูดคุยทำความเข้าใจมานานก่อนหน้านี้แล้วย่อมมีความได้เปรียบในการรับมือหรือจัดการกับอารมณ์หรือความต้องการทางเพศของตนได้ดีกว่า
      การรู้จักและการปฏิบัติตนอย่างให้เกียรติต่อเพศตรงข้าม พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักเพศที่ตรงข้ามกับตนรวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตัวต่อเพศตรงข้ามอย่างเหมาะสมและให้เกียรติ อาทิ สอนลูกชายไม่ให้ทำรุนแรงหรือเล่นแรง ๆ กับเด็กผู้หญิง ไม่ไปแกล้งเปิดกระโปรงเพื่อนนักเรียนหญิง ช่วยเหลือเพศหญิงซึ่งเป็นเพศที่มีสรีระร่างกายที่อ่อนแอกว่าตนในโอกาสต่าง ๆ เช่นช่วยยกของ และสอนต่อยอดในเรื่องต่อไปตามพัฒนาการของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นที่เริ่มมีความต้องการทางเพศ อยากอยู่ใกล้ จับไม้จับมือหรือถูกเนื้อต้องตัวในเพศตรงข้าม พ่อแม่ควรสอนลูกชายในเรื่องของการไม่เป็นคนฉวยโอกาสและให้เกียรติกับเพศตรงข้าม ส่วนลูกสาวนั้นควรสอนให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเช่นกันว่าหากปล่อยเนื้อปล่อยตัวยอมให้เพศชายมาจับมือถือแขนกอดรัดกันอย่างง่ายดายแล้วย่อมเสี่ยงต่อการพลาดท่าเสียทีในที่สุด
      การป้องกันระมัดระวังภัยในเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยภัยอันตรายทางเพศในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงเด็กหญิงหรือเด็กชายไปค้าประเวณีกับกุ่มคนที่มีรสนิยมชื่นชอบเด็ก การค้ามนุษย์ข้ามชาติ การล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ญาติ พี่น้อง เพื่อนบ้าน ฯลฯ รวมทั้งการเปิดกว้างของสื่อกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศมากมายทีพบได้ทั่วไปและสามารถสรรหามาครอบครองได้โดยง่าย สภาพแวดล้อมอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้พ่อแม่ต้องหันมาตระหนักในการหาทางช่วยเหลือป้องกันภัยด้วยการหุ้มเกราะและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกของตนอย่างจริงจังเร่งด่วน อันได้แก่ การสอนให้ลูกเล็ก ๆ ได้ตระหนักในการหวงเนื้อหวงตัวไม่ยอมให้ใครก็ตามมาแตะต้องหรือสัมผัสอวัยวะเพศของตน วิธีการร้องขอความช่วยเหลือในยามมีภัย สถานที่ใดบ้างที่ลูกไม่ควรไปเพราะมีภัยอันตรายทางเพศแฝงอยู่ การสอนในเรื่องการวางตัวต่อเพศตรงข้ามรวมทั้งการแต่งตัวอย่างเหมาะสมมิดชิดไม่โป๊เกินงามอันนำไปสู่การยั่วยวนเพศตรงข้าม การชี้ให้เห็นถึงภัยอันตรายจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ผลเสียต่อนาคตระยะยาวหากไปเที่ยวหญิงโสเภณีหรือการไปขึ้นครู ผลข้างเคียงของการเมาสุราจนขาดสติซึ่งอาจนำไปสู่กับดักหลุมพรางทางเพศได้ ควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ต เกม หรือการรับสื่อต่าง ๆ ของลูกที่อาจมีพิษภัยทางเพศแฝงอยู่ รวมทั้งทำความรู้จักเพื่อนของลูกหรือกลุ่มเพื่อนที่ลูกคบอยู่ด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น
      ฝึกวินัยควบคู่ไปกับการสอน การสอนลูกในเรื่องเพศนั้นจำเป็นต้องควบคู่ไปกับการฝึกฝนความมีระเบียบวินัยในชีวิตความสามารถในการบังคับตนเองรวมทั้งการฝึกฝนความเข้มแข็งในจิตใจควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่สามารถแยกจากกันได้ ผู้ที่มีวินัยในการใช้ชีวิตมีความสามารถในการบังคับตนที่ดีย่อมมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางเพศน้อยกว่าผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างขาดวินัยและมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอไม่สามารถควบคุมความต้องการของตนเองในเรื่องต่าง ๆ ได้ ไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องความต้องการทางเพศเท่านั้น
      การฝึกฝนความมีวินัยจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กจึงได้ผลดีที่สุด โดยเป็นการฝึกฝนในเรื่องของความมีระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน รวมไปถึงการฝึกฝนความเข้มแข็งทางจิตใจความสามารถในการบังคับตนผ่านทางการอดทน รอคอย พากเพียรพยายาม การตั้งเป้าและทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การฝึกฝนในเรื่องของการรู้จักปฏิเสธความต้องการ ณ เวลานั้นของตน เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคตหรือการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เป็นต้น โดยพ่อแม่เป็นผู้ฝึกฝนเตือนสติด้วยวิธีการอันชาญฉลาดทั้งการมีบทลงโทษที่สมเหตุสมผลและการให้รางวัลหากทำได้สำเร็จ
      สร้างสรรค์วิธีการนำเสนอ การสอนเรื่องเพศศึกษาให้กับลูกนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ผนวกกับการใช้ความรักและความเข้าใจเป็นที่ตั้ง พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างสรรค์เทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการสอนลูกของตนโดยปรับเปลี่ยนไปตามวัยให้เหมาะสม รวมทั้งปรับให้เหมาะกับสไตล์หรือบุคลิกลักษณะของเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันไป อาทิ การสอนในเด็กเล็กด้วยการใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบหรือคำอุปมาต่าง ๆ ที่สามารถเห็นภาพได้ชัดเจน โดยยึดหลักของการสื่อสารข้อเท็จจริงเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ว่าลูกถามว่าเกิดมาได้อย่างไรพ่อแม่ตอบว่ามาจากกระบอกไม้ไผ่ อันเป็นการใส่ข้อมูลที่ผิด ๆ ซึ่งจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อยอดความเข้าใจที่มากขึ้นเมื่อเขาเป็นวัยรุ่น หรือการสร้างความสับสนอยากรู้อยากลองเมื่อเพื่อน ๆ ให้ข้อมูลมากอีกแบบ รวมทั้งอาจถูกล่อลวงในเรื่องเพศได้ง่ายเพราะไม่ได้ระมัดระวังในการป้องกันตนเอง
      การสร้างสรรค์วิธีการสอนแบบต่าง ๆ นั้นต้องยึดหลักของเป้าหมายแท้จริงระยะยาวที่เราต้องการเป็นที่ตั้ง มิเช่นนั้นแล้วเราจะให้น้ำหนักในการสอนลูกผิดไปและอาจนำไปสู่การชี้โพรงให้กระรอกตามมาได้ อาทิ สอนเน้นย้ำอยู่แค่เรื่องวิธีการคุมกำเนิด การใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธี โดยคิดว่าเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลในการตัดสินใจเรื่องเพศ แต่ไม่ได้สอนให้ลูกตระหนักว่าสิทธิที่เขามีนั้นต้องควบคู่ไปกับหน้าที่ในการเป็นลูกที่ดี นักเรียนที่ดี ประชาชนที่ดีของประเทศชาติ รวมทั้งการรับผิดชอบและรับผลในสิ่งที่เขาตัดสินใจทำลงไปนอกจากนี้พ่อแม่ควรสรรหาและสนับสนุนให้ลูกของตนได้ใช้เวลาว่างที่มีอยู่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำกิจกรรมต่าง ๆ การเล่นดนตรี กีฬา การทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ฯลฯ ไม่ปล่อยเวลาว่างใจลอยคิดแต่เรื่องของตัวเองหรือหมกมุ่นไปกับเรื่องเพศ เรื่องแฟน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นซึ่งมีฮอร์โมนเพศสูงมีอารมณ์ทางเพศที่รุนแรงการสอนเพศศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่จำเป็นต้องสอนลูก ซึ่งมากไปกว่าการให้ข้อมูลความรู้ในเรื่องเพศ การป้องกันภัยทางเพศ หรือการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่ให้พลาดตั้งครรภ์เท่านั้น แต่เป็นการสอนและปลูกฝังระเบียบวินัยการสร้างลักษณะชีวิตที่ถูก ต้องรวมไปถึงการสร้างสภาพจิตใจที่เข้มแข็งในการบังคับตนเองในสามารถเอาชนะความอยากหรือความต้องการของตน การอดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในอนาคต
      จากบทความ "เพศศึกษา" เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสอนลูก

      Tuesday, November 16, 2010

      sukk.araya น้ำท่วม ท้องเสีย




      sukk.araya is moved by the inspiration of
      my teachers,
      my friends and  



      -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
      เวลาท้องเสียไม่ควรทานอะไร
      • ท้องเสียมักมาพร้อมกับน้ำท่วมเสมอ เนื่องจากสุขาภิบาลไม่สะดวก จึงควระมัดระวังอาหารการกินให้ปลอดภัย มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
        1. อาหารประเภทไขมัน
        • อาหารที่มีมันมาก จะกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำดี กระตุ้นการบีบตัวในระบบทางเดินอาหาร และยังเป็นสารอาหารที่ย่อยยาก ทำให้ท้องอีด ปวดท้องได้มากขึ้น
        2. อาหารประเภทนม
      • การย่อยน้ำตาลที่มีอยู่ในนมต้องใช้สารช่วยย่อยที่เรียกว่า เอ็นไซม์แลคโตส แต่ในเวลาที่ท้องเสีย เซลล์ในลำไส้ทำงานได้ไม่ดี จึงผลิตเอ็นไซม์เหล่านี้ไม่ได้ แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลเหล่านี้แทน ทำให้เกิดแก๊ส ท้องอีด แน่นท้อง
        • 3. น้ำตาลเทียม
          • มีฤทธิ์ให้เกิดการถ่ายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดอาการอึดอัดแน่นท้องตามมาได้ด้วย

          4. อาหารที่สร้างแก๊สในกระเพาะ
          • พืชผักหลายชนิดทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เช่น ถั่ว บร๊อกโคลี่ กะหล่ำปลี หัวหอม เป็นต้น

          5. แอลกอฮอลล์ กาแฟ น้ำอัดลม
          • ทำให้เกิดอาการระคายเคืองแก่ทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในภาวะที่มีอาการท้องเสียอยู่แล้ว
          6. อาหารที่ไม่แน่ใจในความสะอาด
          • จะยิ่งซ้ำเติม เพราะไม่รู้ว่าอาการเดิม หายหรือไม่หรือเกิดจากการติดเชื้อใหม่
          Sources:By Barbara Bradley Bolen, Ph.D., About.com Guide JAMA Patient Page Food-Borne Illnesses. The Journal of the American Medical Association 2003 290. National Digestive Diseases Information Clearinghouse (NDDIC) Diarrhea Noone, C., Menzies,I., Banatvala, J. & Scopes, J. Intestinal permeability and lactose hydrolysis in human rotaviral gastroenteritis assessed simultaneously by non-invasive differential sugar permeation. European Journal of Clinical Investigation 1986 16:217-225. Simren, M., Abrahamsson, H. & Bjornsson, E. “An exaggerated sensory component of the gastrocolonic response in patients with irritable bowel syndrome.” Gut 2001 48:20-27.

        sukk.araya ป้องกันไข้เลือดออก




        sukk.araya is moved by the inspiration of
        my teachers,
        my friends and  



        -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

         

        ป้องกันไข้เลือดออกไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาและยังไม่มีวัคซีนป้องกันการเกิดโรคการแพร่ระบาดของโรค เกิดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดทั้งปี ซึ่งวิธีการที่ง่ายสุดในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยใช้ "หลัก 5ป." ซึ่งเป็นวิธีทางกายภาพที่จดจำและนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเอง

        "หลัก 5 ป. - ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ" คือ วิธีการง่ายๆ ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง
        1. ปิด คือ ปิดฝาภาชนะ เช่น โอ่งน้ำ เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
        2. เปลี่ยน คือ เปลี่ยนน้ำในภาชนะกันไม่ให้ยุงลายไปวางไข่
        3. ปล่อย คือ ปล่อยปลาให้กินลูกน้ำยุงลาย
        4. ปรับ คือ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นการกำจัดขยะและเศษวัสดุต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธ์รอบๆ บ้าน
        5. ปฏิบัติ คือ สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำทุกสัปดาห์

        Monday, November 8, 2010

        Kriengsak Chareonwongsak sukk.araya :ไขมันในเลือดสูง




        sukk.araya is moved by the inspiration of
        my teachers,
        my friends and  



        -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
        ข้อแนะนำในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
        1. ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำมันมาก เช่น ไก่ทอด ทอดมัน
        2. ลดการรับประทานอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก มีคลอเลสเตอรอลสูง
        3. ลดการรับประทานเครื่องใน หนังสัตว์ ไข่แดง มีไขมันและคลอเลสเตอรอลสูง
        4. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น ไส้กรอก กุนเชียง ขนมจีบ หมูยอ เนื่องจากมีไขมันเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก
        5. ลดการรับประทานอาหารที่ใช้กระทิในการปรุง เช่น แกงกะทิ
        6. ลดการรับประทานขนมหวานที่ใส่กระทิหรือมะพร้าว
        7. ลดการรับประทานขนมอบ ขนมกรอบ มีไขมันแฝงอยู่จำนวนมาก เช่น คุ๊กกี๊ เค๊ก โดนัท
        8. เลือกใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร ไม่ใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว
        9. เลือกรับประทานเนื้อล้วน แยกมันออก ทานปลาทดแทน หรือ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
        10. รับประทานอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทน อาหารที่ต้องทอดด้วยน้ำมัน
        11. รับประทานผักเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าวันละ 2 มื้อ มื้อละ 2 ถ้วย
        12. รับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน วันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 จานเล็ก
        13. พยายามทำอาหารทานเอง เพราะสามารถควบคุมประเภทได้
        14. ลดปริมาณน้ำตาลที่รับประทานในแต่ละวัน น้ำตาลส่วนเกินจะเปลี่ยนไปเก็บในรูป ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด็
        15. ออกกำลังกายแอโรบิคสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน
        sutit