Monday, August 22, 2011

Hope you enjoy the luncheon with Dr. Kriengsak Chareonwongsak


Hope you enjoy the luncheon with Dr. Kriengsak Chareonwongsak

kriengsak-chareonwongsak-hope-verdict

The luncheon reveals Siamara and dr Kriengsak Chareonwongsak’s verdict

From the invitation below
Dear NFS member,Our next meeting and NFS Luncheon will take place at Los Cabos Mexican Restaurant, Sukhumvit soi 14 (just 2 minutes walk from Asoke BTS or MRT on the same side as the Sheraton Grande) on Wednesday February March 24th from noon-13.30. Dr Kriengsak Chareonwongsakrenowned economist, author and politician the day’s topic being: “Siam Araya”.
Come to enjoy the Los Cabos sumptuous lunch buffet designed to stimulate your taste buds and get a chance to attend a rare presentation with Thai society at present is facing many political, economic and social problems that have all been accumulating for a long time. As time passes, these problems are becoming more serious and intense, with clearly recognizable symptoms arising in some cases, for example in social conflict and disharmony, corruption, a crisis of moral decline, collapse of the family institution, greedy media control, and so on. These signs show that the time has come for Thailand to adjust to a new developmental framework because the existing framework is proving unworkable and the country’s problems will therefore never be solved.
Siam Araya (Thai Civility) originates as a combination of two specific words,  “Siam” and “Araya.” We are all familiar with the word “Siam” as our country’s name before it was changed to “Thailand” during Prime Minister Field Marshal Por Piboonsongkram’s time. Until now, the word “Siam” is still embedded in Thai consciousness and generally used in society.
The word, “Araya” in our case refers to prosperity that is balanced to cover every area of life, whether one’s physical wellbeing or life quality, mental and moral wellbeing, or in relation to sustainable long-term development along with urgent short-term needs. So, combining these two words together as “Siam Araya,” will mean developing Thailand toward prosperity in every dimension, by all means to benefit all groups of people, with no one suffering neglect. Moreover, there will be unity in diversity and peaceful agreement will exist between people.
Professor Kriengsak Chareonwongsak is a Senior Fellow at Harvard Kennedy School, USA; an elected member of the Harvard Kennedy School Alumni Association Board of Directors; and a Fellow at Said Business School, University of OxfordProfessor Kriengsak was a Prime Ministerial Advisor in Thailand, an Executive Board member of the Democrat Party and a Member of Parliament, Vice Chair of the Economic Development Committee in the House of Representatives. Currently, he is President of the Institute of Future Studies for Development, (IFD); and as a businessman, is Chairman of Success Group of Companies, a conglomerate of businesses, diversified into many fields of investment. He also chairs the Lao-Thai Business Corporation. In 1981 he graduated from Monash University, Australia with First Class Honours, and an Economics PhD. He obtained a Master of Public Administration degree from Harvard University, USA; and holds a Master Degree, from Judge Business School at the University of Cambridge, UK; having also completed Post doctoral studies at the University of Oxford, UK. He has held various university teaching positions. He is an Eminent Member of the Education Council on Standard and Quality Assurance, of the Office of the National Education Commission, and has also filled fifty other positions in a number of national organizations and committees; for example he was advisor to the President of the National Assembly and advisor to many Ministers in various governments. He was an elected member of the National Economic and Social Advisory Council (NESAC), a constitutional body that advises the Thai cabinet, and was Chairman of NESAC’s Education, Religion, Arts, and Culture Commission, as well as Vice Chairman of the NESAC Economic, Commerce, and Industry Commission. Prof. Kriengsak Chareonwongsak is the author of two hundred books. He is a popular radio and TV commentator and a newspaper and magazine columnist, discussing political and economic issues of current concern. His perspectives are often highlighted in interviews both in Thailand and overseas
This is a rare opportunity to listen to such an eminent specialist on Thai Economy and benefit from his views on the future of Thailand in these tumultuous times….
We hope to see you all on Wednesday…you’re in for a fabulous treat both intellectual and gastronomical!
NFS luncheon is 100 baht for members and 300 baht for non members including the luncheon, membership for one year costs 2,500 baht.
Until the new networking page is available on the Midas-PR website please book directly with me or Dan.
Karin & Dan
Link

Thursday, August 4, 2011

ระบบประกันสังคมไม่เท่าเทียมกับระบบประกันสุขภาพ

ไม่ใช่รอจนคนมาประท้วงว่าทำไมเขาไม่ได้สิ่งที่ควรได้เหมือนกับอีกกลุ่มหนึ่ง เขาก็ต้องจ่ายเงินสมทบ 5 % เขาก็ไม่มีสิทธิเลือกโรงพยาบาล เงินจำนวนมากก็ไปอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนที่จ่ายเหมารายหัวและก็ไม่ได้คืน เมื่อระบบมันลักลั่นกัน ผู้บริหารประเทศที่ดูแลเรื่องสุขภาพก็รู้อยู่แล้ว ว่าระบบมันลักลั่นกันมาก เมื่อมันมีหลายระบบเหลือเกิน แน่นอนรอยต่ออาจจะทำทันทีให้ทุกคนมีระบบเดียวกันไม่ได้ แต่มันต้องมีแผนในการเดินหน้าอย่างรวดเร็วว่าจะขยับอย่างไร เพื่อทำให้ระบบทั้งระบบเป็นระบบเดียวกันหมด ไม่ต้องรอให้คนมาประท้วง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ยกปัญหาใหญ่ในสังคมไทย คือต้องรอหลังชนฝาแล้วค่อยแก้ปัญหา ไฟลนก้นแล้วค่อยลุกขึ้นมาทำอะไร แล้วปัญหาจำนวนมากสร้างความเดือดร้อนหรือความรู้สึกไม่ดีให้กับประชาชนโดยไม่จำเป็นเลย เมื่อรู้อยู่แล้วก็เดินหน้าเต็มที่แก้ปัญหาตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันปัญหามากกว่าตามแก้ปัญหา และนี่ตัวอย่างนิสัยของการบริหารในสังคมไทยที่ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์อยากฝาก ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เห็นใจอยู่นะครับว่าผู้ทำงานบางครั้งก็อาจจะงานเยอะและก็อาจจะมีเรื่องมากมายต้องพิจารณา แต่เราต้องคำนึงครับ ระบบใหญ่ๆ แบบนี้ต้องรีบวางแผน และดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ไม่อยากเห็นสังคมไทยอยากได้อะไรต้องมาประท้วง ต้องมาแสดงความไม่พอใจ ถึงจะได้รับความสนใจ


มันก็เกิดวัฒนธรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้นมาว่า อยากให้ได้รับความเห็นใจ การแก้ปัญหาต้องมาประท้วงและแสดงออกรุนแรง ต้องให้สื่อมาถ่ายทำ ต้องให้สื่อเขียนถึง ต้องให้เป็นประเด็นกระแสถึงจะได้รับการแก้ไข นี่คือตัวอย่างของเรื่องที่เราขาดการบริหารจัดการอย่างมองการณ์ไกล ป้องกันปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่างมีกลยุทธ์และแผนงานมากและรวดเร็วเพียงพอ และไปรอให้เกิดปัญหา ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ว่าไม่ควรเกิดอย่างนี้อีกแล้วในเรื่องต่างๆ การบริหารที่ดีจะต้องวัดประสิทธิภาพด้วยการป้องกันปัญหาให้มากๆ ด้วยครับ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

Wednesday, August 3, 2011

หลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา

ปัจจุบันมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยจำนวนมากขาดทักษะการแก้ปัญหาชีวิต อาทิ เด็กวัยรุ่นผิดหวังในความรักหรือเรื่องเรียนหาทางออกโดยการฆ่าตัวตาย โครงการ Child Watch โดยสถาบันรามจิตติ ได้สรุปสภาวการณ์เด็กไทยด้านต่าง ๆ ไว้ในช่วงปี 2548-2549 ด้านภาวะสุขภาพจิตของเด็กไทย พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็น 40 คนต่อแสนคน หรือคิดเป็นจำนวนเยาวชนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 7,800 คน หรือเฉลี่ยวันละ 21 คน และที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 800 หรือเฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้อธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า เกิดจากอาการซึมเศร้าซึ่งมาจากความวิตกกังวล และไม่สามารถจัดการกับปัญหาตนเองได้

การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามอายุ โดยเด็กอายุ 3 ขวบ เริ่มมีพัฒนาการด้านนี้แล้ว ขึ้นกับว่าระหว่างที่เด็กเจริญเติบโตนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอาทิ เด็กมีความจำกัดในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดความอดทนในการเอาชนะปัญหา และขาดความเข้าใจปัญหา ขณะที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาไม่ได้มีความเข้าใจ และมีวิธีการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาให้แก่เด็กอย่างถูกต้อง

ศาตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ขอนำเสนอตัวอย่างหลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการสอนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต่างประเทศมีหลักสูตรดังกล่าวแล้ว

ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Program: CPS) พัฒนาโดย Donald J. Treffinger, Scott G. Isaksen, amp; K. Brian Dorval ซึ่งเป็นกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการมีความเข้าใจในตัวปัญหา การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกของปัญหาในมุมของความเป็นไปได้ และการวางแผนในภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โปรแกรม ICPS (I Can Problem Solve) พัฒนาโดย Myma B. Shure, Ph.D. จาก Mental Health Services, DuPage County Health Department Wheaton, Illinois เป็นบทเรียนที่ใช้ปูพื้นฐาน และฝึกฝนทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับผู้เรียน ซึ่งตัวอย่างหลักสูตรและโปรแกรมดังกล่าว มีลักษณะร่วมดังนี้

ฝึกการมองปัญหาอย่างถูกต้องโดยสอนผู้เรียนให้มองปัญหาอย่างสมจริง ไม่ใช่ตื่นตระหนกจนเกินไป ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ขณะเดียวกัน ก็ไม่เพิกเฉยต่อปัญหา แต่ลงมือแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ และปัญหาสามารถช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่อดทนสามารถเอาชนะปัญหาได้

ฝึกทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการฝึกทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน อาทิ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง ทักษะการคิดเชิงตรรกะ การเชื่อมโยงเหตุและผล เพื่อนำมาเปรียบเทียบ หาผลกระทบ หาทางเลือกที่ดีที่สุดและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยก่อให้เกิดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย
วิธีการใช้ชุดคำถามที่สามารถใช้ผ่านชีวิตประจำวัน อาทิ ชุดคำถามจำพวก

  • มีอะไรอีกไหม
  • มีทางอื่นอีกไหม

เพื่อฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ขยายกรอบความคิดให้กว้างไกลกว่าเดิม ชุดคำถามจำพวก

  • ก่อน...หลัง
  • ถ้า...แล้ว
  • ขณะนี้...หลังจากนี้
  • เหมือน...ต่าง
  • ทำไม...เพราะ

เพื่อฝึกฝนการใช้เหตุและผล การกลั่นกรองเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถใช้การเล่นบทบาทสมมติ เล่านิทาน หรือภาพยนตร์ ละคร และข่าว เป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหา โดยใช้คำถามง่าย ๆ เช่น หากเราเป็นบุคคลนั้น เราจะตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร? ถ้าเจอปัญหาแบบคนที่อยู่ในข่าวจะหาทางออกให้กับตัวเองอย่างไร? เป็นต้น

ฝึกการเข้าใจผู้อื่น องค์ประกอบส่วนใหญ่ของปัญหา มักมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การฝึกการคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกการคิดอย่างรอบคอบว่า เราควรใช้การแก้ปัญหาแบบใดที่ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง นอกจากนี้ เป็นการรู้ทันอารมณ์ความรู้สึก และนิสัยของตนว่า เป็นจุดอ่อนที่สร้างความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่ายหรือไม่ เช่น เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย จุกจิก ฯลฯ อาจใช้ชุดคำศัพท์หรือชุดคำถามจำพวก
ยุติธรรมหรือไม่

  • หากเราทำเช่นนี้แล้ว...เขาจะรู้สึกอย่างไร
  • หากเขาทำเช่นนั้นกับเรา...เราจะรู้สึกอย่างไร

เป็นต้นเพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น

ที่สำคัญ ระหว่างฝึกทักษะภาคปฏิบัติ ครูจะไม่ตัดสินความคิดเห็นผู้เรียนว่าดีหรือไม่ดี แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้ลึกที่สุด โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงเหตุและผล หากครูรีบตัดสินความคิดของผู้เรียนมาเกินไป ผู้เรียนจะสร้างกลไกการป้องกันตนเอง และไม่กล้าแสดงความคิด

ทักษะการแก้ปัญหา เป็นทักษะที่จำเป็นต้องสร้างในเด็กไทย เพื่อให้เด็กไทยมีความสามารถในการเผชิญปัญหา มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสม จนเกิดผลเสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้ ซึ่งจะส่งผลดีในอนาคตคือ ประเทศจะมีคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับประเทศ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com