Monday, February 14, 2011

แนวทางเยียวยาเยาวชน จาก ปัญหาความเครียด




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประการสำคัญ ปัญหาความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่คนทำงานเท่านั้น แต่ได้ลามถึงเด็กและเยาวชนไทย จนส่งผลเกิดการฆ่าตัวตาย ดังที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายของนักเรียนนักศึกษาติดต่อกันถึง 3 คนในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2551 และยังมีหลายเหตุการณ์ที่ไม่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
การหาแนวทางเยียวยาเยาวชน ให้สามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันความเครียดได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา สื่อมวลชน สังคมชุมชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ldquo;สถาบันครอบครัวrdquo; ซึ่งอยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนมากที่สุด
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรตระหนักคือระมัดระวังที่จะไม่เป็นผู้สร้างปัญหาความ เครียดให้กับลูกเสียเองไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะกันต่อหน้าลูก เห็นลูกเป็นที่ระบายอารมณ์ หรือคาดหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ตนต้องการโดยใช้ความรักเป็นเงื่อนไข ฯลฯ แต่หน้าที่ของตนเองนั้นคือการเป็นผู้ช่วยเหลือ ชี้นำและหาทางออกที่ถูกต้องในการจัดการกับปัญหา ความเครียดต่าง ๆ ให้แก่ลูก เพื่อปกป้องลูกจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดซึ่งอาจเป็นเหตุให้ชีวิตของเขาถูก ทำลายลงไปทั้งชีวิต พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยเริ่มจาก
หมั่นสังเกตการดำเนินชีวิตของลูกเสมอ
หมั่นสังเกตว่าลูกมีอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น เปลี่ยนจากนิสัยร่าเริง เป็นเด็กที่เก็บตัว พูดน้อย ถามคำตอบคำ ชอบร้องไห้อยู่คนเดียว หรือจากเดิมที่ลูกชอบไปโรงเรียน แต่กลับกลายเป็นเด็กที่ร้องไห้เกเรเมื่อต้องไปโรงเรียน เป็นต้น การที่พ่อและแม่เป็นผู้ที่หมั่นสังเกตอยู่เสมอ จะสามารถช่วยเหลือลูกได้ทันท่วงทีกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากล ได้
ความเครียด ไม่เครียด
สื่อสาร ถามไถ่ลูกเสมอ
โดยจัดช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวันไว้คอยพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ ถามไถ่ถึงความเป็นไปของลูกในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกได้มีช่องทางในการบอกเล่าหรือระบายปัญหา หรือความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ที่เขาได้รับมา เพื่อให้พ่อกับแม่ได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลูกจึงจะสัมผัสได้ว่าพ่อและแม่รักและห่วงใยเขา และมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะมีปัญหาความเครียดอะไรเกิดขึ้นก็ตาม เขาจะไม่ต้องเผชิญความตึงเครียดแต่เพียงลำพัง แต่มีพ่อแม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหานั้นร่วมกับเขาและสามารถช่วย เหลือเขาได้เสมอ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Wednesday, February 2, 2011

โรคเครียด ป้องกันอย่างไร




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปกป้องลูกรักจาก “โรคเครียด”

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com/

ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กองแผนงานกรมสุขภาพจิต ระบุว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วงและเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ การฆ่าตัวตายคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งอัตราความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรไทยมีอยู่ประมาณร้อยละ 4.76 หรือประมาณ 3 ล้านคน
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากความเครียด แรงกดดันภายนอก ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างในตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีความคิดเห็น หรือมุมมองต่อสิ่งต่างๆ ของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ไม่สามารถห้ามความเศร้าโศก และฆ่าตัวตายในที่สุด กรมสุขภาพจิตประมาณว่า ในปี พ.ศ.2551 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าสูงถึง 3,002,789 คน ขณะที่มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและได้รับการรักษามี เพียง 130,341 คน เพราะส่วนใหญ่ ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และไม่คิดว่าอาการซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตอย่างหนึ่ง
ความเครียดที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การแข่งขันที่มากขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น อีกทั้งสภาพสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ ส่งผลให้ผู้คนเกิดความเครียดได้มากขึ้น

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)