Monday, February 14, 2011

แนวทางเยียวยาเยาวชน จาก ปัญหาความเครียด




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประการสำคัญ ปัญหาความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่คนทำงานเท่านั้น แต่ได้ลามถึงเด็กและเยาวชนไทย จนส่งผลเกิดการฆ่าตัวตาย ดังที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายของนักเรียนนักศึกษาติดต่อกันถึง 3 คนในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2551 และยังมีหลายเหตุการณ์ที่ไม่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
การหาแนวทางเยียวยาเยาวชน ให้สามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันความเครียดได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา สื่อมวลชน สังคมชุมชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ldquo;สถาบันครอบครัวrdquo; ซึ่งอยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนมากที่สุด
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรตระหนักคือระมัดระวังที่จะไม่เป็นผู้สร้างปัญหาความ เครียดให้กับลูกเสียเองไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะกันต่อหน้าลูก เห็นลูกเป็นที่ระบายอารมณ์ หรือคาดหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ตนต้องการโดยใช้ความรักเป็นเงื่อนไข ฯลฯ แต่หน้าที่ของตนเองนั้นคือการเป็นผู้ช่วยเหลือ ชี้นำและหาทางออกที่ถูกต้องในการจัดการกับปัญหา ความเครียดต่าง ๆ ให้แก่ลูก เพื่อปกป้องลูกจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดซึ่งอาจเป็นเหตุให้ชีวิตของเขาถูก ทำลายลงไปทั้งชีวิต พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยเริ่มจาก
หมั่นสังเกตการดำเนินชีวิตของลูกเสมอ
หมั่นสังเกตว่าลูกมีอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น เปลี่ยนจากนิสัยร่าเริง เป็นเด็กที่เก็บตัว พูดน้อย ถามคำตอบคำ ชอบร้องไห้อยู่คนเดียว หรือจากเดิมที่ลูกชอบไปโรงเรียน แต่กลับกลายเป็นเด็กที่ร้องไห้เกเรเมื่อต้องไปโรงเรียน เป็นต้น การที่พ่อและแม่เป็นผู้ที่หมั่นสังเกตอยู่เสมอ จะสามารถช่วยเหลือลูกได้ทันท่วงทีกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากล ได้
ความเครียด ไม่เครียด
สื่อสาร ถามไถ่ลูกเสมอ
โดยจัดช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวันไว้คอยพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ ถามไถ่ถึงความเป็นไปของลูกในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกได้มีช่องทางในการบอกเล่าหรือระบายปัญหา หรือความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ที่เขาได้รับมา เพื่อให้พ่อกับแม่ได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลูกจึงจะสัมผัสได้ว่าพ่อและแม่รักและห่วงใยเขา และมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะมีปัญหาความเครียดอะไรเกิดขึ้นก็ตาม เขาจะไม่ต้องเผชิญความตึงเครียดแต่เพียงลำพัง แต่มีพ่อแม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหานั้นร่วมกับเขาและสามารถช่วย เหลือเขาได้เสมอ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

No comments:

Post a Comment