Wednesday, July 20, 2011

“สมดุลวิถี” ทางออกประเทศไทย โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

สมานฉันท์เป็นสิ่งที่ดีและเราใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้น แต่สมานฉันท์ ไม่เพียงพอแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพราะเป็นเพียงการแก้ “อาการ” ของโรค แต่ไม่ได้แก้ “สาเหตุ” แท้จริงที่ก่อให้เกิดโรค เราต้องไปไกล
กว่านั้น นั่นคือ การสร้าง “สมดุลวิถี” หรือการสร้างสมดุลแห่งชาติ
การมองหาสมานฉันท์แห่งชาติ โดยไม่เข้าใจความสมดุลในชาติ หรือ วิถีที่สมดุลเราจะหลงทางและ
จะแก้ไม่ได้เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สมดุลวิถีคืออะไร?





สมดุลวิถี คือ การสร้างสมดุล 3 ด้าน คือ สมดุลทางอำนาจ สมดุลทางเศรษฐกิจ และสมดุลทางสังคม
ให้กับภาคี 5 ภาคีซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในสังคมไทย ได้แก่ ภาคีการเมือง ภาคีข้าราชการ ภาคีนักธุรกิจ ภาคี
นักวิชาการ และภาคีประชาชน ให้ทุกฝ่ายได้รับการเฉลี่ยอำนาจ ผลประโยชน์ และมีที่ยืนทางสังคมอย่าง
เหมาะสม

สมดุลทางอำนาจ หมายถึง สมดุลทางการเมือง ถ้าผู้ถืออำนาจไม่แบ่งอำนาจทางการเมืองให้สมดุล
อย่างเหมาะสมแต่ยึดอำนาจหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้คนบางกลุ่ม
เกิดความรู้สึกไร้อำนาจ ถูกปิดกั้นเสรีภาพ ถูกกดขี่ข่มเหง หรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค



เมื่อสมดุลอำนาจบกพร่องไป ย่อมนำมาซึ่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องแย่งชิงอำนาจกลับคืนมา ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างสมดุลทางอำนาจได้อย่างเหมาะสมจะสลายความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว

สมดุลทางเศรษฐกิจ หมายถึงสมดุลทางผลประโยชน์ คำกล่าวที่ว่า “ผลประโยชน์ขัดกันต้อง
บรรลัย” ยังคงเป็นจริงในทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้คนรบราฆ่าฟันกันตลอดประวัติศาสตร์
โลกที่ผ่านมา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่ขาดภาวะสมดุลทางผลประโยชน์ ผู้ถืออำนาจ
ไม่เฉลี่ยแบ่งผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง อย่างสมเหตุสมผล กลุ่มที่เสียประโยชน์จะออกมาเรียกร้องต่อต้าน
แต่หากสามารถสร้างสมดุลทางผลประโยชน์อย่างลงตัว ย่อมลดปัญหาความขัดแย้งลงได้

สมดุลทางสังคม หมายถึง สมดุลในพื้นที่ทางสังคม มี “ที่ยืน” ในสังคมในตำแหน่งแห่งที่ที่มี
เกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกันหรือได้รับการปฏิบัติเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง หรือมีการใช้หลักปฏิบัติสองมาตรฐาน
ถูกกีดกันมิให้มีที่ยืนในสังคม สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป การปฏิบัติเช่นนี้
ก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจ เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และแน่นอนว่า ย่อมตามมาซึ่ง
ความขัดแย้งและการต่อต้านด้วยความรุนแรง เพื่อแย่งชิงพื้นทื่ทางสังคมคืนมา ...

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)


ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 18 มกราคม 2554

No comments:

Post a Comment