Sunday, November 28, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak : พหุเอกานิยม สันติภาพ




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศํกดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


“โอกาสที่เราจะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งความสงบ มีเอกภาพและสันติภาพ ยังมีความเป็นไปได้หรือไม่?”
เราทุกคนคงไม่มีใครอยากเห็นความแตกแยกของคนในชาติที่ไม่สามารถคืนเอกภาพดังเดิมได้ ดังนั้น แนวคิดหนึ่งที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังให้อยู่ในสำนึกของคนทุกคน ทั้งในรุ่นนี้และรุ่นต่อไป นั่นคือ แนวคิดสังคมพหุเอกานิยม

สังคมพหุเอกานิยม เป็นแนวคิดที่ผมได้นำเสนอไว้ในหนังสือ “สังคมพหุเอกานิยม: เอกภาพในความหลากหลาย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 หรือเมื่อกว่าสิบปีที่ผ่านมา สังคมพหุเอกานิยม (Unified Pluralistic Society) คือ สังคมที่นิยมความมีเอกภาพในความหลากหลาย (Unity in Diversities) เป็นสังคมที่ทุกคนแม้มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างในความคิดทางการเมือง เชื้อชาติ ลัทธินิกายของศาสนา ความเชื่อ ฐานะ อายุ วัฒนธรรม ประเพณี เพศ อาชีพ และชนชั้นทางสังคม ก็สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นสังคมที่คนมีหัวใจแห่งเสรีภาพ เคารพให้เกียรติกัน ยอมรับในความแตกต่าง ทุกกลุ่มมีอิสระในการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน ในเรื่องที่ไม่เสียหายและไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ที่สำคัญ คนทุกคนต่างร่วมกันใช้ส่วนที่ดีในความแตกต่างนั้นเป็นพลังพัฒนาประเทศอย่างเป็นเอกภาพ
สังคมพหุเอกานิยมเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การธำรงเอกภาพ คนในสังคมมีจิตวิญญาณแห่งความรู้สึกร่วมว่า เรายอมรับคนอื่นที่ไม่เหมือนเรา และไม่บังคับคนอื่นให้เหมือนเรา คนแต่ละกลุ่มเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เอาเสียงส่วนใหญ่มากดทับเสียงส่วนน้อย แต่มีการคำนึงว่า ทุกคน ทุกชุมชน ทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่า ได้รับสิ่งที่ดีงามและประโยชน์จากกันและกัน เป็นสังคมที่เอื้ออาทร นึกถึงกันและกัน ชนบทเห็นแก่เมือง เมืองเห็นแก่ชนบท โดยเอาสิ่งดีของแต่ละกลุ่มมาเสริมกันขึ้นเป็นพลังทวีคูณเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบ้านเมือง
หากเราสามารถรวมคนทั้งประเทศชาติในลักษณะความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ ความขัดแย้งจะเบาบางลง ความตั้งใจจะนึกถึงการสร้างชาติบ้านเมืองจะเกิดขึ้น
สังคมพหุเอกานิยมจะทำให้คนทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทุกคนมีส่วนเข้ามาร่วมช่วยกันสร้างสรรค์บ้านเมืองตามศักยภาพของตน
ในเวลานี้ ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่แนวคิดนี้จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป

1 comment:

  1. เรายอมรับคนอื่นที่ไม่เหมือนเรา และไม่บังคับคนอื่นให้เหมือนเรา

    ReplyDelete