Sunday, November 21, 2010

sukk.araya Kriengsak Chareonwongsak : ทำแท้ง 3





sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ประเด็นเรื่องการทำแท้ง กลับมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรรอบแล้วรอบเล่า ได้นำมาสู่การพยายามหาหนทางที่จะแก้ปัญหา และ มีนักวิชาการจำนวนมากที่คิดว่าทางออกหนึ่งคือ การออกกฏหมายให้มีการทำแท้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------
นักวิชาการอาวุโสมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์

เปิดเสรีการทำแท้ง เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน เรื่องเก่า เล่าใหม่


คงไม่มีใคร (ยกเว้นอาชญากร) ที่อยากให้สังคมของเรามีอาชญากรรมเกิดขึ้น ดังนั้น โดยหลายฝ่าย รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์จึงพยายามผลิตวิธีการหรือยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อลดการเกิดอาชญากรรม
ในสหรัฐอเมริกามีนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นที่สนใจมากในช่วง 3-4 ปีแล้ว ชื่อว่า Steven Levitt ได้สรุปงานวิจัยของเขาว่า การที่รัฐบาลท้องถิ่นในหลายมลรัฐของสหรัฐฯเปิดให้ทำแท้งได้อย่างเสรีตั้งแต่ทศวรรษ 70 นั้น ทำให้อัตราการก่ออาชญากรรมในทศวรรษ 90 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดย Levitt ได้ให้เหตุผลว่า แม่ที่ตั้งครรภ์ทราบดีที่สุดว่าเด็กในท้องของตนจะเติบโตในสภาพแวดล้อมแบบใด ดังนั้น การเปิดเสรีการทำแท้งจึงเปิดโอกาสให้แม่ที่ขาดความพร้อมสามารถตัดสินใจเองได้ ทำให้เด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมเลวร้ายมีจำนวนลดลง ส่งผลให้วัยรุ่นที่เป็นอันธพาลซึ่งพร้อมจะก่ออาชญากรรมในอีก 20 ปีต่อมาลดลงไปด้วย
อันที่จริงแล้ว Levitt ได้กล่าวอย่างชัดเจนในหนังสือ Freakonomics อันโด่งดังของเขาว่า การค้นพบของเขา “ไม่ควรถูกตีความในไปทางที่ผิด ไม่ว่าจะในด้านของการยอมรับให้มีการทำแท้ง หรือการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจของแม่ที่จะเก็บเด็กในครรภ์ไว้หรือไม่” อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบของ Levitt ก่อให้เกิดการถกเถียงในวงกว้างว่า ควรปล่อยให้มีการทำแท้งเสรีในอเมริกาต่อไปหรือไม่
ในความเห็นของ prof. Kriengsak Chareonwongsak แม้ว่าข้อค้นพบของ Levitt จะเป็นความจริง แต่รัฐบาลไทยไม่ควรเปิดให้ทำแท้งเสรี ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า การทำแท้งไม่มีประสิทธิภาพในการลดอาชญากรรม หรือกล่าวโดยง่าย การทำแท้งก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาลแม้อาจจะลดอัตราการเกิดอาชญากรรมในอนาคตได้ก็ตาม
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การจะบรรลุเป้าหมายใด ๆ (รวมถึงการลดอาชญากรรม) รัฐบาลควรเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุด และทิ้งนโยบายอื่นที่ด้อยประสิทธิภาพ ความไร้ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเมื่อผู้กำหนดนโยบายมิได้เลือกสิ่งที่ “ดีที่สุด” กล่าวคือ เมื่อผู้ตัดสินใจมีทางเลือกหลายทาง หากแต่ละทางเลือกให้ประโยชน์ในระดับเท่าเทียมกัน ทางที่ดีที่สุดหรือมีประสิทธิภาพที่สุด คือทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
แล้ว “ต้นทุน” หมายถึงอะไร ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนในทางเลือกหนึ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินที่ต้องจ่ายไปเท่านั้น แต่รวมถึงมูลค่าหรือคุณค่าของทางเลือกทางอื่นที่ดีที่สุดที่ต้องสูญเสียไปด้วย การที่ทุกวัฒนธรรมในโลกเห็นตรงกันว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดบนโลกนี้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นทุนของการเปิดเสรีการทำแท้งจำเป็นจะต้องรวมเอาคุณค่าของทารกในครรภ์ที่ได้สูญเสียไปไว้ด้วย
เพื่อที่จะทราบต้นทุนของการทำแท้ง มีสองคำถามที่ต้องได้รับคำตอบ คือ
  1. “คุณค่า” ของชีวิตมนุษย์มี “มูลค่า” เท่าไร และ
  2. คุณค่าสัมพัทธ์ (เปรียบเทียบ) ระหว่างทารกในครรภ์และมนุษย์เป็นอย่างไร
prof. Kriengsak Chareonwongsak กล่าวว่า Prof. Kriengsak Chareonwongsak เห็นด้วยอย่างที่สุดว่าชีวิตมนุษย์นั้นมีค่าอนันต์จนไม่สามารถทดแทนหนึ่งชีวิตของมนุษย์ด้วยสิ่งใดได้ แต่ “คุณค่า” ที่ prof. Kriengsak Chareonwongsak กล่าวนี้เป็น “มูลค่า” ในเชิงการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่จำกัดบนโลกนี้ เนื่องจากแม้ชีวิตมนุษย์หนึ่งคนจะมีคุณค่าอนันต์ แต่ชีวิตมนุษย์ทุกคนต่างก็มีคุณค่าอนันต์ และคนเหล่านั้นต้องการทรัพยากรส่วนหนึ่งเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน ดังนั้น เราจึงไม่สามารถที่จะทุ่มทรัพยากรหมดโลกไปเพื่อรักษาหรือชดเชยเพียงหนึ่งชีวิตได้

สำหรับคำถามแรก Prof Kriengsak Chareonwongsak กล่าวว่า ขออ้างอิงจากเหตุการณ์เครื่องบินของสายการบินวัน-ทู-โกตกที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งผู้บริหารของสายการบินได้ตกลงจะจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตรายละ 5 ล้านบาท บทความนี้จะสมมติว่าตัวเลข 5 ล้านบาทเป็นตัววัด “มูลค่า” ของชีวิตมนุษย์หนึ่งชีวิต จากมุมมองของผู้บริหารสายการบิน วัน-ทู-โก (ซึ่งน่าจะมากกว่าการชดเชยการเสียชีวิตในกรณีอื่น ๆ)
สำหรับการระบุคุณค่าสัมพัทธ์ระหว่างหนึ่งชีวิตของทารกในครรภ์กับหนึ่งชีวิตของมนุษย์ (ที่ออกมาจากท้องแม่แล้ว) นั้น จำเป็นต้องพิจารณาจากความเชื่อและทัศนคติของสังคม ซึ่งหลักคำสอนของศาสนาพุทธและศาสนาสำคัญ ๆ ในประเทศไทยถือว่า การทำแท้งเทียบได้กับการฆ่าคน จึงอาจสรุปได้ว่า ในความเชื่อและทัศนคติของคนไทยให้คุณค่าสัมพัทธ์ระหว่างทารกในครรภ์หนึ่งชีวิตและมนุษย์หนึ่งชีวิตเป็น 1:1

ถึงตอนนี้เรามีข้อมูลเพียงพอจะสามารถสรุปได้ว่า การทำแท้งเสรีเป็นแนวนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการลดอาชญากรรมในอนาคตหรือไม่ ทั้งนี้ หากหนึ่งชีวิตของมนุษย์มี “มูลค่า” 5 ล้านบาท และคุณค่าของชีวิตทารกในครรภ์และมนุษย์เท่าเทียมกันแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าต้นทุนของการทำแท้ง 1 ครั้ง มีมูลค่าเท่ากับ ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพื่อการทำแท้ง รวมกับ “มูลค่า” ของชีวิตของทารกในครรภ์ที่ต้องสูญเสียไปซึ่งเท่ากับ 5 ล้านบาท จึงมีคำถามว่า มีแนวทางอื่นที่ให้ผลอย่างเดียวกันแต่มีต้นทุนต่ำกว่าหรือไม่?
หากพิจารณาการคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย ราคาถุงยางอนามัยอยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อชิ้น ดังนั้น ต้นทุนการทำแท้ง 1 ครั้งจึงมีค่าเท่ากับถุงยางอนามัย 3.3 - 5 แสนชิ้น หากเราประมาณการขั้นสูงสุดว่า ผู้หญิง 1 คนมีช่วงเวลาที่สามารถมีบุตรได้ 30 ปี และใช้ถุงยางอนามัยทุกวันตลอดช่วงเจริญพันธุ์ เธอจะใช้ถุงยางอนามัยประมาณ 11,000 ชิ้นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ตลอดชีวิตของเธอ จะเห็นว่า แม้จะประมาณการขั้นสูงสุดแล้ว แต่ต้นทุนการลดจำนวนวัยรุ่นอันธพาลในอนาคตโดยการใช้ถุงยางอนามัยยังต่ำกว่าการทำแท้งอย่างมหาศาล ยังไม่ต้องพูดถึงการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ ที่อาจมีต้นทุนต่ำกว่านี้อีก
Prof. Kriengsak Chareonwongsak จึงได้สรุปว่า แม้ข้อมูลเชิงประจักษ์จะแสดงให้เห็นว่าการเปิดให้มีการทำแท้งเสรีจะทำให้อัตราการก่ออาชญากรรมในอนาคตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่วิธีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากทำให้ทารกในครรภ์จำนวนมากต้องเสียชีวิต จนไม่คุ้มที่ช่วยชีวิตเหยื่อจากการเกิดอาชญากรรมที่อาจมีจำนวนน้อยกว่า (ตามข้อมูลของ Levitt ต้องเสียชีวิตทารกในครรภ์ไป 1 พันชีวิต เพื่อลดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรม 1 ราย)

ในความคิดของ prof. Kriengsak Chareonwongsak สถานการณ์ที่ดีที่สุด คือการที่วัยรุ่นประเมินได้ว่าตนเองมีกำลังความสามารถและทรัพยากรที่จะเลี้ยงลูกของตนให้เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดีได้หรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตไทยที่ว่า "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจเป็นไปได้ยากมากที่รัฐบาลจะใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมให้เกิดภาวะเช่นนั้น ดังนั้น การส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการควบคุมกำเนิดที่ถูกต้องในกรณีที่เขายืนกรานที่จะมีคู่รักก่อนวัยอันควรอาจนับว่าเป็นวิธีการที่ดีอันดับสอง (second best)

อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะรณรงค์การคุมกำเนิดอย่างเต็มที่ แต่ยังเป็นไปได้ว่ายังคงมีคนที่ไม่ใส่ใจหรือตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ แม้ในกรณีนี้ Prof. Kriengsak Chareonwongsak ยังเห็นว่าการทำแท้งเสรีมิใช่ทางออกที่มีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับการอุดหนุนการดูแลเด็กที่เกิดจากแม่ที่ไม่มีความพร้อม ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งเติบโตขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังไม่เคยทำบทบาทนี้เลย Prof. Kriengsak Chareonwongsak ค่อนข้างแน่ใจว่ารัฐบาลจะใช้เงินอุดหนุนต่อคนตลอดช่วงวัยเด็กเพื่อให้เติบโตมาได้อย่างดีในเม็ดเงินที่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น เด็กที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดีจะกลับเป็นทำประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นผลเชิงบวกกลับไปสู่สังคมได้อีกด้วย
25 เมษายน 2551
oknation.net

8 comments:

  1. ม่ายเอาา ผิดศิลธรรมสุด ๆๆๆ

    ReplyDelete
  2. แย่นะ ถ้าความสุขแค่ชั่วคราว ทำให้เกิดทุกข์มหันต์
    บ้านเราชอบคิดแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ โดยไม่มองไกลๆ
    ผลที่ได้ออกมาเละทุกที

    ReplyDelete
  3. การส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการควบคุมกำเนิดที่ถูกต้องในกรณีที่เขายืนกรานที่จะมีคู่รักก่อนวัยอันควรอาจนับว่าเป็นวิธีการที่ดีอันดับสอง (second best)

    ReplyDelete
  4. คนมีค่าจริงๆแม้ว่าจะตัวเล็กอยู่ในท้องหรือจะตัวโตอยู่นอกท้องแต่คุณค่าความเป็นมนุษย์ก็เหมือนกัน

    ReplyDelete
  5. พ่อพระMay 15, 2011 at 9:24 PM

    นี่แหละ คนที่ถูกรังแก โดยไม่มีทางสู้ ของจริง

    ReplyDelete
  6. ดีจริงๆ นะMay 16, 2011 at 9:24 PM

    สอนเด็กให้คิดเป็นดีกว่า

    ReplyDelete
  7. เสียวแทนMay 16, 2011 at 9:42 PM

    อันตรายเห็นๆ เกิดทำแล้วแม่ตายด้วย เท่ากับฆ่า 2 คน

    ReplyDelete
  8. เบื่อผู้ใหญ่ที่คิดนโยบายแบบไม่สรา้งสรรค์

    ReplyDelete