Tuesday, April 17, 2012

“สมดุลวิถี” ทางออกประเทศไทย


สมานฉันท์เป็นสิ่งที่ดีและเราใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้น แต่สมานฉันท์ ไม่เพียงพอแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพราะเป็นเพียงการแก้ “อาการ” ของโรค แต่ไม่ได้แก้ “สาเหตุ” แท้จริงที่ก่อให้เกิดโรค เราต้องไปไกล

กว่านั้น นั่นคือ การสร้าง “สมดุลวิถี” หรือการสร้างสมดุลแห่งชาติ
          การมองหาสมานฉันท์แห่งชาติ โดยไม่เข้าใจความสมดุลในชาติ หรือ วิถีที่สมดุลเราจะหลงทางและ
จะแก้ไม่ได้เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สมดุลวิถีคืออะไร?

          สมดุลวิถี คือ การสร้างสมดุล 3 ด้าน คือ สมดุลทางอำนาจ สมดุลทางเศรษฐกิจ และสมดุลทางสังคม
ให้กับภาคี 5 ภาคีซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในสังคมไทย ได้แก่ ภาคีการเมือง ภาคีข้าราชการ ภาคีนักธุรกิจ ภาคี
นักวิชาการ และภาคีประชาชน ให้ทุกฝ่ายได้รับการเฉลี่ยอำนาจ ผลประโยชน์ และมีที่ยืนทางสังคมอย่าง
เหมาะสม

         สมดุลทางอำนาจ หมายถึง สมดุลทางการเมือง ถ้าผู้ถืออำนาจไม่แบ่งอำนาจทางการเมืองให้สมดุล
อย่างเหมาะสมแต่ยึดอำนาจหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้คนบางกลุ่ม
เกิดความรู้สึกไร้อำนาจ ถูกปิดกั้นเสรีภาพ ถูกกดขี่ข่มเหง หรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค

What's new

         เมื่อสมดุลอำนาจบกพร่องไป ย่อมนำมาซึ่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องแย่งชิงอำนาจกลับคืนมา ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างสมดุลทางอำนาจได้อย่างเหมาะสมจะสลายความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว

           สมดุลทางเศรษฐกิจ หมายถึงสมดุลทางผลประโยชน์ คำกล่าวที่ว่า “ผลประโยชน์ขัดกันต้อง
บรรลัย” ยังคงเป็นจริงในทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้คนรบราฆ่าฟันกันตลอดประวัติศาสตร์
โลกที่ผ่านมา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่ขาดภาวะสมดุลทางผลประโยชน์ ผู้ถืออำนาจ
ไม่เฉลี่ยแบ่งผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง อย่างสมเหตุสมผล กลุ่มที่เสียประโยชน์จะออกมาเรียกร้องต่อต้าน
แต่หากสามารถสร้างสมดุลทางผลประโยชน์อย่างลงตัว ย่อมลดปัญหาความขัดแย้งลงได้

          สมดุลทางสังคม หมายถึง สมดุลในพื้นที่ทางสังคม มี “ที่ยืน” ในสังคมในตำแหน่งแห่งที่ที่มี
เกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกันหรือได้รับการปฏิบัติเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง หรือมีการใช้หลักปฏิบัติสองมาตรฐาน
ถูกกีดกันมิให้มีที่ยืนในสังคม สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป การปฏิบัติเช่นนี้
ก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจ เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และแน่นอนว่า ย่อมตามมาซึ่ง
ความขัดแย้งและการต่อต้านด้วยความรุนแรง เพื่อแย่งชิงพื้นทื่ทางสังคมคืนมา ...>>>


ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 18 มกราคม 2554

บทความโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 

No comments:

Post a Comment