Saturday, September 29, 2012

ตัวแปรมหภาคที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุข

statistics of happiness

ผลการศึกษายังพบอีกว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคนแบ่งออกเป็นตัวแปรด้านจุลภาคและมหภาค ในกลุ่มตัวแปรจุลภาคที่ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีงานทำและระดับรายได้ เพศหญิงมีความสุขมากกว่าชาย, คนที่มีความสุขน้อยที่สุดอยู่ที่อายุประมาณ 52 ปี, คนที่อยู่ด้วยกัน หรือคู่แต่งงาน มีความสุขมากกว่าคนที่เป็นโสด และหย่าร้างตามลำดับ, และระดับการศึกษา และระดับรายได้ยิ่งสูง ยิ่งทำให้คนมีความสุขมากขึ้น

สำหรับตัวแปรมหภาคที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคน คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน  และอัตราเงินเฟ้อ โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสุข ในขณะที่อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อสัมพันธ์ทางลบ กับระดับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ผมยังพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับ

ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้สนใจเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมือง และทบทวนเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นเป้าหมายต่างๆ อย่างสมดุล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนไทยมีระดับความสุขมากขึ้น

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ส่วนหนึ่งของบทความจาก กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549


บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com