Monday, April 11, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : ลูก ทักษะความปลอดภัย 3




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ปกป้องลูกรักด้วย ทักษะความปลอดภัย” 3

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


ประการที่สอง การสร้างทักษะความปลอดภัย หรือ ทักษะระวังภัย (safty skill) ให้แก่ลูก  เนื่องจากเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เป็นทักษะเพื่อการมีชีวิตรอด โดยพบว่าในผู้ใหญ่จะมีทักษะด้านนี้สูงกว่าเด็ก เนื่องจากได้สั่งสมประสบการณ์ชีวิตมากกว่าและหลากหลายกว่า  อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถปล่อยให้ลูกเรียนรู้จักทักษะความปลอดภัยนี้โดยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง   แต่ควรสอนและฝึกฝนทักษะความปลอดภัยให้แก่ลูกจนเกิดความเชี่ยวชาญ  เริ่มจาก 
การฝึกทักษะความปลอดภัยขั้นพื้นฐานต่าง ๆ (basic safty skills)  เพื่อการเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่ยากลำบากต่าง ๆ  ที่ลูกอาจต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ตัวอย่างเช่น 
ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ  เนื่องจากเป็นสาเหตุจากการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย   ดังนั้นจึงเป็นทักษะที่พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ฝึกฝนตั้งแต่เด็กยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เมื่ออยู่ในน้ำ  เช่น สามารถลอยตัวในน้ำได้ สามารถว่ายน้ำกลับเข้าฝั่งได้ เป็นต้น
ทักษะความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน  เนื่องจากการเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาอย่างยิ่งในการเดินทางไปกลับบ้านและโรงเรียนของเด็ก ๆ  การสอนทักษะความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามให้ลูกไปเรียนรู้เอาเอง โดยประเด็นสำคัญที่ควรฝึกฝนลูก อาทิ  ทักษะการข้ามถนน ทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจร  ทักษะการขึ้นรถ-ลงโดยสารประจำทางอย่างปลอดภัย ต้องรถให้รถจอดสนิทก่อน ซ้อนท้ายจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น โดยการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภารปฏิบัติ และพ่อแม่ต้องทำเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นด้วยเช่นกัน
ทักษะในการปกป้องสิทธิของตนเอง  เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่รู้จักสิทธิในการปกป้องตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านร่างกาย จึงเป็นการเปิดช่องให้กับพวกชอบฉวยโอกาสกับเด็กในการล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งจากญาติพี่น้อง คนแปลกหน้า  อันถือเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อเด็ก ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสอนให้เด็กเรียนรู้จักสิทธิในการปกป้องร่างกายของตนเอง โดยการปฏิเสธ ปัดป้อง ร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อมีบุคคลใดเข้ามาแตะเนื้อต้องตัว สัมผัสในที่หวงห้าม อันทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย  
ทักษะการขอความช่วยเหลือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ หรือในยามที่ตกอยู่ในการถูกคุกคาม  เด็ก ๆ อาจไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองอย่างไร  พ่อแม่ควรสอนและฝึกให้ลูกชุดประโยคที่สำคัญเหล่านี้จนติดปาก  อาทิ  “ช่วยด้วย   คนนี้จะมาทำร้ายหนู   รวมทั้งสถานที่ที่ลูกสามารถหนีและเข้าไปขอความช่วยเหลือ อาทิ ชุมชนที่มีคนหนาแน่น  ป้อมยาม  นอกจากนี้พ่อแม่ควรให้ลูกจดจำเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น เหตุด่วนเหตุร้าย ให้โทร 191  เป็นต้น   และสอนให้ลูกจดจำชื่อตัวเอง พ่อแม่ เบอร์โทร ที่อยู่บ้าน จนขึ้นใจ หรือจดใส่กระดาษให้ลูกพกติดตัวหรือใส่กระเป๋าเสื้อลูกไว้ด้วยเช่นกันในกรณีฉุกเฉิน หลงทาง กลับบ้านไม่ถูก  เพื่อเป็นประโยชน์ในการขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง  

No comments:

Post a Comment