Monday, April 18, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : คิด เขียน 4




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลับคมความคิดด้วย ทักษะการเขียน 4

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ฝึกฝนความคิดให้คมชัดทักษะการเขียนแท้จริงแล้วเป็นความสามารถในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทัศนคติ และความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นได้เข้าใจตรงกับสิ่งที่เราต้องการที่จะสื่อออกไปนั่นเอง ดังนั้น หัวใจสำคัญของการเขียนเป็นจึงไม่ได้อยู่ที่การเขียนอย่างถูกหลักโครงสร้างไวยากรณ์ สะกดคำได้ถูกต้อง หรือเขียนได้ตรงตามรูปแบบของงานเขียนประเภทต่าง ๆ เท่านั้น แต่ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาผ่านกระบวนการทางความคิดอย่างเป็นระบบในลักษณะต่าง ๆ เป็นสำคัญ อาทิ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) สามารถหาประเด็นใหม่ ๆ เพื่อมากำหนดหัวข้อที่น่าสนใจความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ ในการสืบค้นข้อเท็จจริง สามารถตีความ จำแนกแยกแยะ และทำความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบคำถามและเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลเกี่ยวกับประเด็นที่นำเสนอ เพื่อให้ข้อเขียนมีเหตุผลหนักแน่นน่าเชื่อถือความคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) มีความคิดรวบยอด  ประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอได้อย่างไม่ขัดแย้งโดยไม่คิดและไม่เขียนออกนอกประเด็นความคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-type Thinking) สามารถรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสมความคิดเชิงวิพากษ์(Critical Thinking) สามารถวิพากษ์แนวคิดเดิมและเสนอแนวคิดใหม่ ท้าทายและหาข้อโต้แย้ง (argument) ความคิด ข้อเสนอ หรือหลักปฏิบัติเดิมได้ เพื่อเปิดแนวทางความคิดสู่ทางเลือกใหม่ ความคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) สามารถประยุกต์ข้อเท็จจริงหรือแนวคิดใหม่ที่นำเสนอให้เข้ากับบริบทในขณะนั้น ประยุกต์แนวคิดเชิงนามธรรมสู่รูปธรรมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ เป็นต้น  
โดยในทางปฏิบัติหากลูกยังเด็กไม่สามารถเขียนเองได้หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอย่างไร พ่อแม่สามารถช่วยลูกฝึกฝนได้โดยเริ่มจากการให้ลูกเล่าเรื่องปากเปล่าจากข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ที่พบในแต่ละวัน  หนังสือที่ได้อ่าน  ฯลฯ  พร้อมคอยตั้งคำถามและช่วยจดเป็นคำพูดและอ่านออกเสียงให้ลูกฟังว่าสิ่งที่เขาเล่ามานั้นมีการวิเคราะห์สังเคราะห์และจับประเด็นได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และค่อยฝึกฝนในขั้นต่อไปโดยให้ลูกเขียนสรุปออกมาด้วยตัวเอง

1 comment: