Monday, April 18, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : คิด เขียน 2




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลับคมความคิดด้วย ทักษะการเขียน” 2 

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ผู้ที่มีทักษะด้านการเขียนที่ดีจึงย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่าไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน  โอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมหรือการเลื่อนขั้นตำแหน่งงาน  โอกาสในการได้รับทุนการศึกษา การวิจัย  เป็นต้น  นอกจากนี้ ผู้ที่หมั่นฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านนี้เป็นประจำ ยังสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้จากการเขียนด้วย อาทิ การพัฒนางานเขียนไปสู่แวดวงวรรณกรรม การเขียนหนังสือ เรื่องสั้น นวนิยาย  บทความ ที่อาจนำเสนอจากประสบการณ์จริงในชีวิตรวมทั้งการนำเสนอแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์อันก่อเกิดเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในวงกว้างต่อไป  
โดยจากงานวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการเขียนนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลาช่วงกว้าง (wide range) ในการฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่วัยเยาว์ แต่เรากลับพบว่าการพัฒนาทักษะการเขียนในเด็กไทยนั้นยังไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ระบบการศึกษาในโรงเรียนรวมทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านนี้มากเท่าไรนัก ทั้งการออกข้อสอบที่เป็นแบบปรนัยมากกว่าอัตนัย รวมทั้งสัดส่วนจำนวนครูที่ไม่เพียงพอในการตรวจงานเขียนของเด็กที่มีจำนวนมากในแต่ละห้องเรียนได้อย่างมีคุณภาพ                 

No comments:

Post a Comment