Sunday, April 17, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 4




sukk.araya is moved by the inspiration of
my teachers,
my friends and  



 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พัฒนา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ให้งอกงามในวัยเยาว์ 4

นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

กระตุ้นให้คิดสร้างสรรค์  การคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ (process) เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เคยชินเป็นนิสัย ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ลูกได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบผ่านขั้นตอนสำคัญอันได้แก่
...กำหนดเป้าหมายการคิด การคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดที่มีเป้าหมายการคิดอย่างชัดเจน ไม่ใช่การจินตนาการเรื่อยเปื่อยอย่างไร้จุดหมาย โดยเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ รวมทั้งใช้คำถามที่ชัดเจนเป็นโจทย์ในการคิดเพื่อได้รับคำตอบที่ตรงประเด็นอย่างแท้จริง   พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้กระตุ้นและเป็นผู้ตั้งคำถาม สร้างโจทย์ ให้ลูกได้ขบคิดผ่านสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวันหรือจากปัญหาต่าง ๆ     ตัวอย่างเช่น  ลูกจะทำความสะอาดบ้านอย่างสะอาดและรวดเร็วได้โดยวิธีใดเพื่อจะได้มีเวลาไปเล่นกับเพื่อน ๆ ... มีวัตถุดิบในการปรุงอาหารแค่ที่มีอยู่ในตู้เย็น ลูกคิดว่าจะนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง เป็นต้น
...แสวงหาแนวคิดใหม่  เมื่อได้คำถามหรือโจทย์ที่ชัดเจนแล้วขั้นต่อไปคือพยายามพาลูกให้คิดถึงวิธีการที่จะพาไปสู่วัตถุประสงค์หรือคำตอบที่ต้องการให้ มากที่สุด เท่าที่จะคิดได้ ยังไม่ต้องยึดติดกับขั้นตอน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ตามปกติ หรือจำกัดวงว่าจะสามารถทำได้ในทางปฏิบัติจริงมากน้อยเพียงใด เพื่อกระตุ้นให้สามารถผลิตความคิดใหม่ ๆ ทางเลือกใหม่ ๆ จินตนาการแปลก ๆ ออกมาให้มากที่สุด โดยพ่อแม่ยังไม่ต้องประเมินว่าดีหรือไม่ แต่พยายามฝึกฝนให้ลูกได้คิดผ่าการมองต่างมุม การสร้างจินตนาการอิสระ การขยายขอบเขตความเป็นไปได้  มองต่างมุมของสิ่งที่คุ้นเคย  การตั้งคำถาม ทำไม หรือ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า...  ฯลฯ ตัวอย่างเช่น  วิธีทำความสะอาดบ้านที่สะอาดและรวดเร็วนั้นลูกอาจให้เพื่อน ๆ มาช่วย เมื่อเสร็จเร็วจะได้ไปเล่นด้วยกัน  ขอแลกเวรกับพี่น้องคนอื่น  ใช้อุปกรณ์ทุ่นแรง ใช้ทางลัดกวาดเศษผงซ่อนในพรมก่อนแล้วพรุ่งนี้ค่อยมารจัดการ  ชวนเพื่อนมาเล่นที่บ้านแทนและถือโอกาสขอให้เพื่อน ๆ ช่วยหลังเล่นเสร็จ  เป็นต้น
...ประเมินและคัดเลือกแนวคิด ความคิดสร้างสรรค์จะสามารถผลิตผลงานทางความคิดออกมาอย่างสมบูรณ์และไม่เป็นเพียงจินตนาการเพ้อฝัน ต่อเมื่อความคิดใหม่ ๆ ที่แปลกแหวกแนวนั้นได้รับการนำมากลั่นกรองด้วยเหตุและผล ดังนั้นหลังจากขั้นแสวงหาแนวคิดใหม่ได้มากเพียงพอแล้ว ขั้นต่อไปคือการนำแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้มาพิจารณาว่าใช้ได้จริงหรือไม่ เกิดปัญหาหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่ ตอบโจทย์หรือไม่ เพื่อคัดเลือกแนวคิดที่ใช้การได้เหมาะสมมากที่สุดมาใช้ประโยชน์ต่อไป    ตัวอย่างเช่น  หากเราใช้วิธีกวาดบ้านโดยซ่อนเศษผงไว้ใต้พรมแล้วไปเล่นกับเพื่อน ๆ นั้น อาจไม่ดีที่สุด เพราะหากแม่มาพบเข้า ครั้งต่อไปเราคงถูกลงโทษไม่ให้ไปเล่นกับเพื่อน ๆ อีก  ดังนั้นใช้วิธีการชวนเพื่อน ๆ มาเล่นที่บ้านพร้อมให้ช่วยทำความสะอาดด้วยน่าจะดีกว่า เพราะนอกจากได้เล่นแล้วงานบ้านยังเสร็จอีกด้วย เป็นต้น

1 comment:

  1. เราควรมองต่างมุมของสิ่งที่คุ้นเคย

    ReplyDelete